สธ.แนะไม่เพิกเฉยร่วมลดบาดแผลทางใจสตรี

สธ.แนะไม่เพิกเฉยร่วมลดบาดแผลทางใจสตรี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
จากข้อมูลการให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2553 พบว่า มีจำนวนถึง 25,744 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 71 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด นับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว โดยเฉพาะความรุนแรงต่อสตรี ว่า ความรุนแรงต่อสตรี คือ การกระทำใด ๆ ที่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากอคติทางเพศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้ง การขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพ ทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว ซึ่งหมายรวมถึง ความรุนแรงต่อร่างกาย ทางเพศ และจิตใจที่เกิดขึ้นในครอบครัว ในชุมชน ทั้งการทุบตี การทารุณกรรมทางเพศ การข่มขืนโดยคู่สมรส หรือไม่ใช่คู่สมรส การนอกใจภรรยา ด่าทอ ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย เศร้า เสียใจ ปิดกั้นโอกาสทางสังคม ไม่ให้ติดต่อกับเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือ สังคมภายนอก หรือ แม้แต่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่รับผิดชอบของฝ่ายชาย การไม่สามารถต่อรองเรื่องการคุมกำเนิดกับคู่ครอง ที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์จนนำไปสู่การทำแท้งเถื่อนที่เป็นปัญหาสังคมอยู่ขณะนี้ รวมทั้ง การแทะโลมด้วยสายตาและวาจา การอนาจาร ข่มขู่ ในสถานที่ทำงาน ในสถาบันการศึกษาและสถานที่ต่างๆ การนำเสนอผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ ในสื่อลามก การโฆษณาสินค้า ตลอดจนการค้าหญิงและการ
บังคับให้ค้าประเวณี จะเห็นได้ว่า ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงซ้ำซากมาเป็นเวลานาน หากไม่เสียชีวิตอาจใช้ความรุนแรงตอบโต้ เช่น ฆ่าสามี ผลตามมาคือผู้หญิงต้องรับโทษ ลูกไม่มีคนเลี้ยงดูกลายเป็นปัญหาสังคมได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook