คนแตกตื่น! เครื่องบินวน 6 รอบเหนือฟ้าไทย ปล่อยควันขาวปริศนา กัปตันเฉลยแล้วทำอะไร?

คนแตกตื่น! เครื่องบินวน 6 รอบเหนือฟ้าไทย ปล่อยควันขาวปริศนา กัปตันเฉลยแล้วทำอะไร?

คนแตกตื่น! เครื่องบินวน 6 รอบเหนือฟ้าไทย ปล่อยควันขาวปริศนา กัปตันเฉลยแล้วทำอะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แตกตื่น! เครื่องบินปล่อยควันขาวเหนือสมุทรสงคราม ชาวบ้านแห่ถ่ายคลิป ลือระบบขัดข้อง ก่อนลงจอดสุวรรณภูมิ

จากกรณีที่ เมื่อประมาณ 13.00 น. วันที่ 4พฤษภาคม 2568 ชาวบ้านใน จ.สมุทรสงครามได้เห็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่บินวนอยู่เหนือน่าน จ.สมุทรสงคราม หลายรอบ โดยบริเวณปีกทั้ง 2 ข้าง มีการปล่อยควันสีขาวออกมาทั้ง 2 ข้าง

โดยเพจหน่วยกู้ภัยมูลนิธิสรรพราเชนทร์สมุทรสงคราม ได้โพสต์ข้อความ “เครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ ลักษณะมี ควันไอพ่นสีขาวออกจากปีกเครื่องทั้ง 2 ข้าง บินวนรอบพื้นที่เขตจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวนหลายรอบ ยังไม่ทราบสาเหตุ ที่แน่ชัด” ทำให้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและส่งคลิปเหตุการณ์มาเป็นจำนวนมาก

ผู้สื่อข่าวจึงลงพื้นที่ไปพบ นายศรัญญู ปานทอง หัวหน้าชุดปฏิบัติการกู้ภัยมูลนิธิสรรพราเชนทร์ ซึ่งเป็นคนเห็นเหตุการณ์และโพสต์คลิปดังกล่าว เล่าว่า ขณะที่กำลังนั่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วย ได้ยินเสียงเครื่องบินดังนานผิดปกติ ประกอบกับมีประชาชนแจ้งเข้ามาหลายสาย  จึงออกมาดูก็พบว่ามีเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่บินวนอยู่หลายรอบ 5 – 6 รอบ ปีกทั้ง 2 ข้าง มีควันสีขาวปล่อยออกมาทั้ง 2 ข้าง  ล้อหน้ากางออก  จึงแจ้งเพจกู้ภัยให้ลงแจ้งประชาชนให้รับทราบ

หลังจากลงไปไม่นานก็มีประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางรายก็บอกว่าระบบล้อหน้ามีปัญหาไม่สามารถเก็บได้ จึงจำเป็นต้องทิ้งน้ำมัน เพื่อร่อนลงจอดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งล่าสุดทราบว่าลงจอดที่สนามบินเรียบร้อยแล้ว

ในเวลาต่อมา เพจเฟซบุ๊ก กัปตันไฟซอล บิน กิน เที่ยว Captain Faisal ได้ให้ข้อมูลถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ระบุว่า "ตอนนี้กำลังแชร์กันเยอะ และถามกันมาเยอะครับว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก่อนไปต่อเที่ยวบินนี้กลับมาลงสุวรรณภูมิปลอดภัยเรียบร้อยแล้วครับ เกิดอะไรขึ้นนี่ยังไม่ทราบครับแต่ตามภาพนี้คือการทิ้งน้ำมัน Fuel dumping หรือ Fuel Jettison"

น้ำหนักเครื่องบินกับการขึ้น-ลงจอด: ทำไมบางครั้งต้อง "ทิ้งน้ำมัน" ก่อนลงสนามบิน

ปกติแล้ว เครื่องบินโดยสารจะมีข้อจำกัดสำคัญด้านน้ำหนักที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและโครงสร้างเครื่องบิน โดยจะมีตัวเลขสำคัญ 2 ค่า ได้แก่

  • น้ำหนักสูงสุดขณะขึ้นบิน (Maximum Takeoff Weight: MTOW)

  • น้ำหนักสูงสุดขณะลงจอด (Maximum Landing Weight: MLDW)

ตัวอย่างเช่น เครื่องบินลำหนึ่งมี MTOW ที่ 330 ตัน และ MLDW ที่ 240 ตัน ซึ่งหมายความว่าเครื่องบินสามารถทะยานขึ้นจากพื้นได้เมื่อมีน้ำหนักไม่เกิน 330 ตัน และสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อมีน้ำหนักไม่เกิน 240 ตัน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อโครงสร้างของเครื่อง

โดยทั่วไป หากเครื่องบินเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยุโรปซึ่งใช้เวลาราว 12 ชั่วโมง น้ำมันที่ใช้ระหว่างบินจะอยู่ประมาณ 100 ตัน เมื่อบินถึงปลายทาง น้ำหนักเครื่องบินจะลดลงเหลือประมาณ 230 ตัน ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถลงจอดได้ตามปกติ

แต่ถ้าเครื่องบินเพิ่งขึ้นบินไปไม่นานแล้วเกิดเหตุฉุกเฉินต้องกลับมาลงจอด น้ำหนักจะยังคงสูงเกินกว่าค่ากำหนด MLDW เช่น อาจมีน้ำหนักถึง 300 ตันขึ้นไป ซึ่งเกินจากที่โครงสร้างเครื่องบินรองรับได้ขณะลงจอด ดังนั้น นักบินอาจจำเป็นต้องดำเนินการที่เรียกว่า “ทิ้งน้ำมัน” (Fuel Dumping) เพื่อให้เครื่องบินเบาขึ้น ก่อนกลับมาลงจอดอย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี ไม่สามารถรอทิ้งน้ำมันได้ เช่น

  • ผู้โดยสารมีอาการป่วยหนักหรืออันตรายถึงชีวิต

  • เครื่องยนต์เกิดขัดข้องรุนแรง เช่น ดับไปสองเครื่อง

  • เกิดควันหรือไฟไหม้

  • เครื่องสั่นผิดปกติอย่างรุนแรง

  • ระบบแสดงสัญญาณ “Land ASAP” (ลงด่วนที่สุด)

ในกรณีเหล่านี้ นักบินอาจต้องตัดสินใจ “ลงจอดทันทีแม้น้ำหนักเกิน” (Overweight Landing) เพื่อรักษาความปลอดภัยของชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือไว้ก่อน ความเสียหายที่อาจเกิดกับเครื่องบินนั้นสามารถตรวจสอบและซ่อมแซมภายหลังได้ แต่ชีวิตคนไม่สามารถทดแทนได้

น้ำหนักเครื่องบินเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยขณะลงจอด โดยมีการออกแบบให้สามารถปล่อยน้ำมันออกเพื่อให้น้ำหนักลดลงในกรณีฉุกเฉิน แต่หากมีเหตุจำเป็นเฉียบพลัน นักบินมีสิทธิ์ตัดสินใจนำเครื่องลงจอดทันที แม้น้ำหนักจะเกินขีดจำกัด เพื่อปกป้องชีวิตเป็นอันดับแรก

อัลบั้มภาพ 18 ภาพ

อัลบั้มภาพ 18 ภาพ ของ คนแตกตื่น! เครื่องบินวน 6 รอบเหนือฟ้าไทย ปล่อยควันขาวปริศนา กัปตันเฉลยแล้วทำอะไร?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล