ชายวัย 41 ปี ป่วยเป็น "อัลไซเมอร์" ก่อนวัย เผยสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ที่เจอในช่วงแรก

ชายวัย 41 ปี ป่วยเป็น "อัลไซเมอร์" ก่อนวัย เผยสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ที่เจอในช่วงแรก

ชายวัย 41 ปี ป่วยเป็น "อัลไซเมอร์" ก่อนวัย เผยสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ที่เจอในช่วงแรก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชายวัย 41 ปี ถูกวินิจฉัยว่าเป็น "อัลไซเมอร์" ก่อนวัยถึง 20-30 ปี เผยสัญญาณเริ่มต้นที่เคยเผชิญ

อัลไซเมอร์เป็นโรคทางสมองที่ส่งผลต่อความจำ การรับรู้ และพฤติกรรม ถือเป็นสาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

แม้จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่ผู้เชี่ยวชาญสามารถระบุสัญญาณสำคัญบางอย่างได้ เช่น งานวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ที่ใช้เวลานานกว่าปกติในการเข้าสู่ช่วงหลับฝัน (REM Sleep) อาจกำลังเผชิญอาการเริ่มต้นของโรคนี้

นอกจากนี้ อดีตนักประสาทวิทยาวัย 74 ปี เคยวินิจฉัยตัวเองว่าเป็นอัลไซเมอร์ตั้งแต่อายุ 55 ปี หลังจากพบว่าสูญเสียความสามารถในการรับกลิ่น

อัลไซเมอร์เป็นโรคที่สร้างความสะเทือนใจ ดังที่เห็นจากข่าวของ "จีน แฮกแมน"

แต่สำหรับ เฟรเซอร์ คุณพ่อวัย 41 ปี จากออสเตรเลีย การได้รับการวินิจฉัยในวัยนี้เป็นเรื่องที่ช็อกมาก เพราะโดยทั่วไปโรคนี้มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

เขาได้เปิดใจเล่าประสบการณ์ของตัวเองผ่านวิดีโอบน YouTube เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและความท้าทายที่เผชิญในช่วงแรก ซึ่งทำให้เขาตัดสินใจไปพบแพทย์

เขากล่าวว่า “ผมได้รับการวินิจฉัยเมื่อ 8 เดือนที่แล้ว แต่คิดว่าน่าจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ 2-2.5 ปีก่อนหน้านั้น

“มันแปลกดีนะ เพราะผมแทบจำอาการแรกเริ่มของตัวเองไม่ได้เลย สิ่งที่จำได้ชัดคือผมมีปัญหาด้านความจำหนักมาก ครั้งหนึ่งผมนั่งดูหนังแล้วแฟนพูดขึ้นว่า เราเพิ่งดูเรื่องนี้ไปเมื่อเดือนที่แล้ว"

“แต่ผมก็ดูจนจบ แล้วตอนจบก็ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผมเหมือนดูครั้งแรก ผมจำไม่ได้เลยว่าเคยดูมาก่อน ทั้งที่ตอนนั้นก็ไม่ได้ดูหนังบ่อยนัก มันเลยน่ากังวลพอสมควร”

เขาเสริมว่า “แต่ก็แปลกนะ เพราะหลังจากนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่ามีอาการแบบนี้อีกไหม หรือมันเกี่ยวกับอัลไซเมอร์ของผมจริงหรือเปล่า ผมเองก็ไม่รู้แน่ชัด แค่รู้ว่าตอนนั้นปัญหาความจำของผมมันหนักมาก”

“จนกระทั่งก่อนวินิจฉัยได้ไม่กี่เดือน ผมเริ่มสังเกตว่าตัวเองคิดอะไรได้ไม่ลึกซึ้งเหมือนเดิม รู้สึกเหมือนการคิดของผมตื้นขึ้น ไม่สามารถใช้ความคิดเชิงลึกได้เหมือนเมื่อก่อน”

หนึ่งในเหตุการณ์ที่น่ากังวลที่สุดสำหรับเฟรเซอร์ คือคืนหนึ่งที่เขาขับรถออกจากบ้านเพื่อตามหาลูกสาว เพราะเธอไม่รับสาย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเธอบอกแล้วว่าจะไปดูหนัง

เฟรเซอร์เล่าว่า “ผมจำได้ว่าลูกสาวบอกผมหลายครั้งตลอดทั้งวันว่าเธอจะไปดูหนังกับเพื่อนและอาจกลับค่อนข้างดึก แต่พอตกกลางคืน ผมกลับเริ่มตื่นตระหนก คิดว่า ลูกอยู่ไหน? ผมกังวลมากจริง ๆ"

“ผมขับรถไปทั่วเมืองเพื่อถามเพื่อน ๆ ของเธอว่าเห็นเธอบ้างไหม หรือมีใครติดต่อเธอหรือเปล่า จนกระทั่งเกือบโทรแจ้งตำรวจ เพราะผมเป็นห่วงเธอมากจริง ๆ”

“ผมพยายามโทรหาเธอ ส่งข้อความ แต่ก็ติดต่อไม่ได้เลย ผมยิ่งกังวลหนักเข้าไปอีก จนกระทั่งเธอโทรกลับมาหาผมแล้วบอกว่า พ่อคะ หนูอยู่ในโรงหนังนะ จำได้ไหมว่าหนูบอกพ่อแล้ว?”

ปัจจุบัน เฟรเซอร์ได้ตกลงกับลูกสาววัยรุ่นของเขาว่าให้ส่งข้อความบอกแผนการล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นอีก

อัลไซเมอร์ที่เกิดก่อนวัย หรือ Early Onset Alzheimer’s สามารถส่งผลกระทบต่อคนอายุเพียง 30 หรือ 40 ปี และแม้ว่าจะยังไม่มีวิธีรักษา แต่การตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกสามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ตามข้อมูลของ ระบบสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (NHS) พบว่าประมาณ 1 ใน 13 คนที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์มีอายุต่ำกว่า 65 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล