อภิสิทธิ์ เผยยังไม่ขึ้นราคาเอ็นจีวี-ไม่ฟันธงแอลพีจี

อภิสิทธิ์ เผยยังไม่ขึ้นราคาเอ็นจีวี-ไม่ฟันธงแอลพีจี

อภิสิทธิ์ เผยยังไม่ขึ้นราคาเอ็นจีวี-ไม่ฟันธงแอลพีจี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายกรัฐมนตรีเรียกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหารือเรื่องแอลพีจี แม้จะไม่ฟันธงว่าจะไม่ขึ้นราคาส่วนเอ็นจีวียังไม่ขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีว่าจะไม่ปรับขึ้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรียก นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน หารือเรื่องราคาก๊าซแอลพีจี ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ นพช. ได้แบ่งตลาดออกเป็น 2 ตลาด คือภาคครัวเรือน ที่จะไม่ขึ้นราคา และภาคขนส่ง-อุตสาหกรรม ที่จะขึ้นราคา 6 บาท/กิโลกรัม ซึ่งนายกฯ ได้มอบหมายให้ ก.พลังงานไปทำการบ้านว่าควรจะทบทวนนโยบายดังกล่าวหรือไม่ เพราะราคาตลาดโลกได้ปรับลดลงจนใกล้เคียงกับราคาควบคุมในประเทศ จึงไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่จะต้องปรับขึ้นราคา อย่างไรก็ตาม จะนำไปหารือในที่ประชุม กพช. สัปดาห์หน้า ส่วนราคาเอ็นจีวี ที่เดิมวางแผนจะปรับขึ้นไม่เกิน 12 บาท/กิโลกรัม หรือไม่เกินครึ่งหนึ่งของราคาดีเซล ทั้งนายกฯ และ รมว.พลังงาน เห็นสอดคล้องกันให้ตรึงราคาที่ 8.50 บาท/กิโลกรัม ไปก่อน เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระของประชาชน ส่วนมาตรการลดค่าไฟและภาษีน้ำมัน ตามมาตรการ 6 เดือน ลดค่าครองชีพ ซึ่งจะครบกำหนดสิ้นเดือนนี้ อภิสิทธิ์เผยยังไม่ขึ้นราคาเอ็นจีวี เมื่อเวลา 12.20 น. ที่หน้าอาคารเสือป่า พลาซ่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาของแอลพีจีเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นแผนเดิมที่มีการกำหนดเอาไว้ ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ต่างจากราคาในปัจจุบันมาก ทางกระทรวงพลังงานจึงจะกลับไปพิจารณา ส่วนกรณีของเอ็นจีวีที่เกรงกันว่าจะมีการขึ้นราคานั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าทาง รมว.พลังงานยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีความคิดที่จะขึ้นราคา และในสัปดาห์หน้าในการประชุมตนจะนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (คพช.)เอง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปทั้งในเรื่องของพลังงานและการกระจายอำนาจ ให้ก.พลังงานศึกษาจะปรับอย่างไรจึงจะเหมาะสม นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เห็นด้วยที่รัฐบาลจะชะลอหรือทบทวนการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เพราะหากปรับขึ้นราคาก็จะมีส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้นทันที ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน รัฐบาลไม่ควรเพิ่มภาระให้กับประชาชน ส่วนภาคอุตสาหกรรม เห็นว่าก่อนที่จะขยับขึ้นราคาแอลพีจี จะต้องศึกษาต้นทุนที่แท้จริง เพื่อขยับราคาให้เหมาะสม เพราะหากราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมปรับขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วน 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคนที่รัฐบาลจะขยายเวลาและอาจมีการปรับปรุงรายละเอียดบางมาตรการ นายสันติ ระบุว่า เห็นด้วย เพราะแม้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง แต่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ก็ควรใช้มาตรการนี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน และครึ่งปีหลังจึงทบทวนอีกครั้ง หากภาวะเศรษฐกิจช่วงนั้นดีขึ้นก็อาจจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวได้ ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่รัฐบาลยังไม่จะปรับขึ้นราคาแอลพีจี ยอมรับว่า จะเป็นภาระต่อบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พอสมควรที่จะต้องรับภาระส่วนต่างราคา แต่ในอนาคตคงจะต้องมีการปรับราคาให้สอดคล้องกับภาวะตลาด เพราะหากมีการชดเชยราคาก๊าซอย่างต่อเนื่องจนเกิดการบิดเบือนกลไกตลาด ก็อาจจะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจได้ แต่การปรับขึ้นราคาก็จะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด หากจะมีการปรับขึ้นจริงก็จะต้องแจ้งล่วงหน้าสักระยะ เพื่อให้เวลาประชาชนปรับตัว อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยที่จะมีนโยบายแยกราคาก๊าซออกเป็น 2 ตลาด เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหา และเกิดการรั่วไหลระหว่างการนำก๊าซภาคครัวเรือนมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังเร่งให้รัฐบาลทบทวนนโยบายพลังงาน ควรอาศัยจังหวะราคาน้ำมันถูกเดินหน้าพลังงานทดแทนทั้งเอ็นจีวี และพลังงานทดแทนจากพืชเกษตร โดยควรกำหนดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ประกอบการวางแผนธุรกิจ และเห็นว่า เรื่องของนโยบายพลังงานจะต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนการที่รัฐบาลจะขยายระยะเวลา 6 มาตรการฯ นั้น นายประมนต์ กล่าวว่า จะเป็นประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งบางมาตรการไม่จำเป็นก็ควรยกเลิก เช่น ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและควรออกมาตรการอื่นทดแทน เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook