วิจัยพบผู้สูบบุหรี่ไม่ยอมเลิกทั้งที่เสี่ยงโรคเรื้อรังและแทรกซ้อน

วิจัยพบผู้สูบบุหรี่ไม่ยอมเลิกทั้งที่เสี่ยงโรคเรื้อรังและแทรกซ้อน

วิจัยพบผู้สูบบุหรี่ไม่ยอมเลิกทั้งที่เสี่ยงโรคเรื้อรังและแทรกซ้อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์หัวหน้าโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ปี 51-52 พบผู้สูบบุหรี่ แม้จะป่วยแต่ไม่ยอมเลิกบุหรี่ โดยผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น ยังสูบบุหรี่ 1 ใน 4 ส่วนโรคเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ ยังละเลยและสูบบุหรี่ไม่ตระหนักว่าอาจเสี่ยงถึงขั้นตัดมือ ตัดเท้า หัวใจวาย

รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และหัวหน้าโครงการรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย กล่าวว่า จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 ในปี 2551-2552 ด้วยวิธีการตรวจร่างกาย สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีอีกหลายหน่วยงาน ได้สำรวจอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง ทั้งโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และโรคที่ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อโรค คือ โรคปอดอุดกั้นหรือปอดอักเสบเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน โรคเหล่านี้แพทย์จะแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด แต่ยังพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถเลิกได้ หรือ ทราบว่าต้องเลิกแต่ละเลยและยังมีการสูบอย่างต่อเนื่อง

รศ.นพ.วิชัย กล่าวว่า น่าแปลกใจว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่โดยตรงและเมื่อสูบจะมีผลให้ อาการของโรคแย่ลง คือ โรคปอดอุดกั้น ยังมีผู้ป่วยสูบบุหรี่อยู่ถึงร้อยละ 25.3 หรือ 1 ใน 4 ซึ่งตามปกติแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ทันที เพราะจะทำให้อาการแย่ลง และมีความเสี่ยงอย่างมาก โรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือด เป็นกลุ่มที่ต้องเลิกบุหรี่เช่นกัน แต่ผู้ป่วยมีความตระหนักน้อย เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับโรค

จากการสำรวจพบว่า โรคเบาหวาน ยังมีผู้ป่วยสูบบุหรี่ร้อยละ 17.9 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วยที่ยังสูบบุหรี่ร้อยละ 16.6 โรคหลอดเลือดสมอง มีผู้ป่วยที่ยังสูบบุหรี่ร้อยละ 14.1 และโรคหลอดเลือดหัวใจ มีผู้ป่วยยังสูบบุหรี่ร้อยละ 9.9 ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ควรสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเบาหวาน เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี จนเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างไม่เพียงพอ ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนสูงอยู่แล้ว การสูบบุหรี่จึงทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนเร็วขึ้นโดยเฉพาะภาวะขาดเลือดที่เป็น สาเหตุให้ต้องตัดมือ ตัดเท้า ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้.

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook