วิกฤตหนัก! ดร.ธรณ์ ชี้ประการังฟองขาวหนักสุดในรอบ 14 ปี

วิกฤตหนัก! ดร.ธรณ์ ชี้ประการังฟองขาวหนักสุดในรอบ 14 ปี

วิกฤตหนัก! ดร.ธรณ์ ชี้ประการังฟองขาวหนักสุดในรอบ 14 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดร.ธรณ์ เตือนสถานการณ์ปะรังฟอกขาวน่าเป็นห่วง วิกฤตหนักสุดในรอบ 14 ปี เทียบเป็นมนุษย์ก็เข้าไอซียูแล้ว

วันนี้ (15 พฤษภาคม) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  นักวิชาการด้านทะเล และรองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในไทยที่วิกฤตหนักมากที่สุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 53

โดยดร.ธรณ์ ได้นำภาพปะการังฟอกขาวในปี 2564 เทียบกับปี 2567 พบว่า ปะการังปี 67 เปลี่ยนเป็นสีขาวโพลนต่างจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด  

โดยดร.ธรณ์ ได้ให้คำอธิบายกับสถานการณ์ปะการังที่เกิดขึ้นว่า

"ภาพบนคือการฟอกขาวปี 64 (ครั้งล่าสุด) เทียบกับภาพล่างที่เกิดในปีนี้ จะเห็นว่าปะการังปี 64 ฟอกขาวระดับเปลี่ยนสี มีน้อยมากที่ขาวจริง จุดที่โดนเยอะหน่อยคือหัวปะการัง จะเห็นเป็นสีซีดกลายเป็นชมพูอ่อน แตกต่างจากสีด้านข้างที่เข้มกว่า เหตุผลตอบง่าย บริเวณนั้นรับแดดเต็มๆ จึงกลายเป็นปะการังหัวตาย พบเยอะเลยในทะเลไทย แต่ด้านข้างยังมีชีวิตอยู่นะครับ คราวนี้ดูภาพล่างปี 67 สังเกตหัวปะการังที่ผมจุดไว้ เป็นหัวที่ตายเนื่องจากฟอกขาวในปี 64 ลองเทียบระดับความรุนแรง จะเห็นว่าหนนี้ขาวโพลนไปหมด ความแรงต่างจากปี 64 ชัดเจน เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สังเกตเครื่อง X ในภาพ ปี 64 ปะการัง X อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา แม้จะเปลี่ยนสีแต่ไม่ได้โดนแดดรุนแรง เมื่อฟื้นมาจึงอยู่ครบสมบูรณ์ทั้งก้อน แต่มาหนนี้ น้ำร้อนมากๆ ปะการัง X ทั้งหมดขาวโพลน ไม่ใช่แค่เปลี่ยนสี"

สำหรับโอกาสที่ปะการังจะกลับมาเหมือนเดิม ดร.ธรณ์ กล่าวว่าไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจะกลับมาเหมือนเดิมไหม แต่สถานการณ์ตอนนี้ปะการังอ่อนแอมาก 

" ปะการังจะรอดหรือไม่ ? คำตอบคือยังบอกไม่ได้แต่น่าเป็นห่วงมาก ดังที่บอกไว้ น้ำร้อนมากและร้อนนาน ปะการังอ่อนแอถึงขีดสุด เทียบเป็นมนุษย์ก็เข้าไอซียู จะอยู่จะไปก็ไม่รู้ คนเราป่วยหนัก แม้ช่วงพีคของโรคจะผ่านไปแล้ว แต่ช่วงเฝ้าระวังนี่แหละน่าเป็นห่วงสุดๆ เพราะสุขภาพเรากำลังย่ำแย่ ถึงตอนนี้แม้น้ำเย็นลง แต่ยังเกินเส้นวิกฤต 31 องศา หากสถานการณ์ยังลากยาวไปเรื่อยๆ อีก 2-3 สัปดาห์ โอกาสรอดมีน้อย เราไม่ได้ต้องการแค่น้ำเย็นลง แต่ยังต้องการให้อุณหภูมิน้ำต่ำกว่าเส้นวิกฤตด้วยครับ" 

นอกจากนี้ดร.ธรณ์ ยังทิ้งท้ายว่า ตนหวังให้ประชาชนมีความรู้และสนใจเกี่ยวกับประการังมากขึ้น 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook