เจ้ย อภิชาติพงศ์ ก้าวแรกสู่แผ่นฟิล์ม

เจ้ย อภิชาติพงศ์ ก้าวแรกสู่แผ่นฟิล์ม

เจ้ย อภิชาติพงศ์ ก้าวแรกสู่แผ่นฟิล์ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากใครรู้จัก เจ้ย - อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล คนทำหนังชาวไทยที่เดินหน้าสู่เส้นทางภาพยนตร์หนัง จนคว้างรางวัล และได้รับการยกย่องจากนานาประเทศ  เพราะกว่าจะก้าวข้ามความผิดหวังจนสู่ความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย เขาเกิดวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ณ กรุงเทพมหานคร เติบโตในจังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโท ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาพยนตร์ จากสถาบันศิลปะชิคาโก (Art Institute of Chicago)

เขาเริ่มต้นผลิตภาพยนตร์และวีดีโอตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่กี่คนในประเทศไทยที่ทำงานนอกระบบสตูดิโอ เขามักทดลองโดยยึดหลักโครงเรื่องที่อิงมาจากละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ การ์ตูน และภาพยนตร์เก่า ๆ มักได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองเล็ก ๆ แถมใช้นักแสดงที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่ใช่มืออาชีพ และใช้บทสนทนาสด

จนกระทั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 ภาพยนตร์สารคดีเรื่องยาวเรื่องแรกของเขา ดอกฟ้าในมือมาร (Mysterious Object at Noon) หนังขาวดำรูปแบบพิสดารซึ่งแจ้งเกิดที่เทศกาลหนังร็อตเตอร์ดาม

เจ้ย ถือเป็นผู้กำกับมือฉมังที่น่าถนอมเอาไว้ในวงการแผ่นฟิล์ม เหตุเพราะเขาเป็นคนสร้างหนังที่ตกผลึกทางความคิดได้อย่างแยบยลในการนำเสนอเนื้อหา หรือแม้กระทั่งการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นตัวละคร

และถือเป็นบุคคลตัวอย่างที่ทำหนังด้วยจิตวิญญาณของนักค้นคว้าตลอดกระบวนการทำหนัง เขาสนุกกับการค้นหามากกว่าการค้นพบ เหตุเพราะบางสิ่งบางอย่างอยู่ที่มุมมอง หากคนใดคนหนึ่งซึมซับกับความชัดเจนทางด้านชีวิต ย่อมส่งผลถึงวัฎจักรของชีวิตได้อย่างท่องแท้มากกว่า บริบทที่วางแผนไว้ตายตัวล่วงหน้า

เพราะนั่นอาจหมายถึงการพลาดโอกาสที่จะเปิดสายตาให้กว้างไกลขึ้น เขาเริ่มต้นจากหนังที่ใครหลายคนอาจบอกว่าดูยาก เขาทั้งหกล้ม ได้รับคำเย้ยหยั่นมาโดยตลอด แต่นั่นไม่ได้ทำให้ แรงบันดาลใจ หรือ หัวใจของคนรักหนัง หดหายไปในจิตวิญญาณของเขาเลย

เจ้ย เปิดบริษัทภาพยนตร์โดยชื่อ Kick the Machine และภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) ได้รับรางวัล Un Certain Regard ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ประจำปี พ.ศ. 2545 ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถูกจัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่คานส์โดยนิตยสาร Le Cahiers du Cinema

และปี 2547 ภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) ซึ่งร่วมกับบริษัท Anna Sanders Films ประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัล Jury Prize และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเข้าเลือกในสายประกวดหลักของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์.

หนังของ เจ้ย อาจเลยความคาดหวังของคอหนังบางคนที่มีมุมมอง และความชื่นชอบที่แตกต่าง แต่ถ้าหากเปิดใจสักนิด ความรู้สึก ความลึกลับที่บ่งบอกชีวิตของคน มุมมองในการนำเสนอ ที่จริงอาจเป็นหนังที่ใกล้ความเป็นจริงของชีวิตที่สะท้อนบางสิ่งบางอย่างให้คนดูได้อย่างง่ายดายก็เป็นได้

เพราะหนังคือ มุมมองที่เสมือนกระจกสะท้อนบางสิ่งให้ได้ฉุกคิดมากว่าน้ำที่แห้งเหือด

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook