พระราชพิธีเสี่ยงทาย..กับสถานการณ์น้ำในประเทศไทย

พระราชพิธีเสี่ยงทาย..กับสถานการณ์น้ำในประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ตามธรรมเนียมราชประเพณีนี้ จะมีการทำนายทั้งปริมาณน้ำและปริมาณพืชผลทางการเกษตรอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในแต่ละปี... สำหรับการทำนายปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง พระยาแรกนา จะทำการเสี่ยงทายผ้านุ่งโดยเลือกผ้า 3 ผืน ที่มีความยาวต่างขนาดกัน ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ โดยในปีนี้ พระยาแรกนา เสี่ยงหยิบได้ผ้านุ่ง 6 คืบ ซึ่งเป็นผ้าผืนยาวที่สุด จึงทำนายว่า ปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ หลังจากพระยาแรกนาสวมผ้านุ่งเรียบร้อยแล้ว ได้ลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทองไถลากโดยพระโคผู้สีขาว เมื่อเสร็จจากการไถแล้ว พระโคก็จะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่ม 7 ชนิด คือ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า เพื่อทำการเสี่ยงทายถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเลือกนั้น โดย ในปีนี้พระโคกินหญ้าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปีนี้ จึงพยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควรธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี คำทำนายในแต่ละปีนี้ นอกจากจะเป็นกาสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรไทย ยังเป็นเสมือนผลทางจิตวิทยาที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การเตรียมความพร้อมถึงความสมบูรณ์ของน้ำ สภาพดินและอากาศ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ ที่ภาวะความแห้งแล้งรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย รายงานพื้นที่ประสบภัยแล้งที่ได้ประกาศ เป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว จำนวน 35 จังหวัด 262 อำเภอ 1,783 ตำบล 14,181 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก พิจิตร แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยนาท เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 5,052,306 คน 1,286,034 ครัวเรือน คาดว่าพื้นที่การเกษตรได้รับเสียหาย รวม 1,295,338 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 848,983 ไร่ นาข้าว 116,539 ไร่ และพืชอื่นๆ 329,816 ไร่ ทั้งนี้ มีพื้นที่การเกษตรได้รับเสียหายแล้วรวม 49,956 ไร่ ใน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครพนม หนองคาย ทั้งหมดนี้จึงเป็นแนวทางสำคัญที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ ต้องเตรียมพร้อมในการตั้งรับภาวะความแห้งแล้งดังกล่าว ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าในปีหน้า ความแห้งแล้งจะเพิ่มสูงมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการแก้ไขสถานการณ์น้ำในประเทศ โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยแล้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยแล้งในเบื้องต้น ทั้งโดยการแจกจ่ายน้ำอุปโภคและบริโภคจำนวน 413,161,894 ลิตร การซ่อมสร้างทำนบและฝายกั้นน้ำ 5,210 แห่ง และการขุดลอกแหล่งน้ำ 5,707 แห่ง ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ โดยเฉพาะปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่ปัจจุบันมีปริมาณน้อยกว่าปี 2536 ขณะเดียวกันปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนก็มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2536 จึงมีความกังวลว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนจะสามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 เดือน หลังจากนั้นอาจเกิดปัญหาด้านการเกษตรและการผลักดันน้ำเค็ม จึงได้ มอบหมายให้ มีการดทำรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนวันต่อวัน และติดตามเรื่องและดูแลมาตรการการทำฝนเทียม แม้ว่ามาตรการทั้งหมดนี้ จะเป็นมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้น แต่ที่สำคัญคือการหามาตรการป้องกันและการกักเก็บน้ำ โดยคำนวณปริมาณการใช้กับการสำรองน้ำให้เพียงพอในแต่ละปี เพราะมีความเป็นไปได้ว่าในทุกๆ ปีประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะความแห้งแล้งและอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น การหาแนวทางการป้องกันจึงเป็นมาตรการสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook