สาวโสดกิน "พิซซ่า" ที่แช่ในตู้เย็น ต้องผ่าตัดสมองฉุกเฉิน หมออธิบายชัดเกิดอะไรขึ้น?!

สาวโสดกิน "พิซซ่า" ที่แช่ในตู้เย็น ต้องผ่าตัดสมองฉุกเฉิน หมออธิบายชัดเกิดอะไรขึ้น?!

สาวโสดกิน "พิซซ่า" ที่แช่ในตู้เย็น ต้องผ่าตัดสมองฉุกเฉิน หมออธิบายชัดเกิดอะไรขึ้น?!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาววัย 30 กิน "พิซซ่า" ที่แช่ในตู้เย็น ปวดหัวหนัก-อาเจียน ช็อกต้องผ่าตัดสมองฉุกเฉิน หมออธิบายชัดเกิดอะไรขึ้น ใครคือกลุ่มเสี่ยง?!

ระหว่างพักผ่อนอยู่ที่บ้านในช่วงสุดสัปดาห์ คุณหวัง (นามสมมุติ) ผู้หญิงอายุ 30 ปี ที่อาศัยอยู่ในฝูเจี้ยน ประเทศจีน ขี้เกียจเกินกว่าจะทำอาหาร จึงสั่งพิซซ่ามาทานเป็นมื้อเย็น เนื่องจากเธออาศัยอยู่ตามลำพัง เธอจึงไม่สามารถกินทั้งหมดได้ในมื้อเดียว ตัดสินใจเหลือไว้ครึ่งหนึ่งเพื่อกินเป็นอาหารกลางวันในวันพรุ่งนี้

โดยไม่คาดคิดว่า "พิซซ่าค้างคืน" ที่นำออกมาจากตู้เย็นเพื่อทานเป็นอาหารกลางวันนั้น จะทำให้เธอตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่ง หลังจากทานและงีบหลับไป เธอตื่นขึ้นมาอีกครั้งพร้อมกับความรู้สึกปวดศีรษะอย่างมาก จากนั้นก็เริ่มอาเจียน เมื่อตระหนักว่านี่เป็นอาการที่ผิดปกติ จึงรีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษา

หลังจากการตรวจร่างกายแพทย์พบว่า โพรงสมองของเธอมีอาการติดเชื้อลิสทีเรีย (Listeria) และน้ำไขสันหลังมีการแบ่งชั้นอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบลุกลามไปจนถึงภาวะโพรงสมองอักเสบ และทางเลือกเดียวคือการผ่าตัดกะโหลกศีรษะอย่างเร่งด่วน

ในสถานการณ์ที่ร้ายแรงนี้ ถือว่ายังเคราะห์ดีที่เธอไม่วางใจต่ออาการของตัวเอง และเดินทางมาโรงพยาบาลทันเวลา จึงรอดพ้นจากอันตรายหลังจากผ่าตัด และตอนนี้กำลังฟื้นตัว ซึ่งเธอได้ถามแพทย์ถึงสาเหตุของอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบหลังกินพิซซ่าข้ามคืน

แพทย์อธิบายว่าเธอติดเชื้อลิสทีเรีย (Listeria) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย นี่คือเชื้อโรคหลักที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคที่เกิดจากอาหาร และยังเป็นหนึ่งในเชื้อโรคที่เกิดจากอาหารที่อันตรายที่สุดด้วยอัตราการเสียชีวิต20% ถึง 50%

เชื้อลิสทีเรีย มีความสามารถในการรับมือกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อุณหภูมิการเจริญเติบโตที่เหมาะสมที่สุดคือ4-10 องศาเซลเซียส และมีความสามารถในการแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงเรียกมันว่า "ฆาตกรที่ซ่อนตัวอยู่ในตู้เย็น"

แพทย์เตือนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถือเป็นเป้าหมายหลักของแบคทีเรียลิสเทอเรีย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook