วาทกรรมการเมืองไทยกับระบบคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย

วาทกรรมการเมืองไทยกับระบบคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ขณะนี้คำว่า "วาทกรรม กลายเป็นคำติดปากสำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ที่ควบคู่มากกับชุดคำ "ไพร่ และ "อำมาตย์ ที่กลายเป็นประเด็นเผ็ดร้อน เชื่อมโยงกับความเป็นประชาธิปไตยและเมือง ในขณะทั่วทั้งกำลังพยายามเรียกร้องหาความเท่าเทียม และรวมเป็นหนึ่งเพื่อพลังที่แข็งแกร่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มด้านเศรษฐกิจการค้า การเมือง โดยพยายามขจัดการแบ่งแยก แต่ในสังคมไทยของเรานั้นกำลังเกิดกระแสดังกล่าวรุนแรงขึ้นผ่านวาทกรรมต่าง ๆ สวนทางกับแนวคิดของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดด้านประชาธิปไตย วาทกรรมคืออะไร? วาทกรรม (discourse) คือรูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นสถาบันและมีการสืบทอด ซึ่งแสดงออกผ่านทางการพูดและเขียนอย่างจริงจัง/ประโยคหรือนิยามที่ใช้บ่อยๆ เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งลักษณะของวาทกรรม และการปรับเปลี่ยนลักษณะของวาทกรรมนั้น ๆ วาทกรรมแต่ละเรื่องมีระบบความคิด และเหตุผลของตน ในการอธิบายหรือมอง ความจริง ซึ่งวาทกรรมเรื่องเดียวกัน แต่ต่างระบบความคิดและเหตุผลก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ในการให้อรรถาธิบายต่อเรื่องนั้น ๆ ดังนั้นในเรื่องเดียวกันจึงมีวาทกรรมหลายชุดที่เกี่ยวข้องและวาทกรรมแต่ละชุดก็มีความขัดแย้ง หรือปฏิเสธ ความจริง ของวาทกรรมอีกชุดหนึ่งได้ วาทกรรม "ไพร่ "อำมาตย์ ความหมายของคำว่า ไพร่ และ อำมาตย์ ตามพจนานุกรมของราชบัณทิตยสถาน ระบุว่า ไพร่[ไพฺร่] (โบ) น. ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ; คนเลว. ว. สามัญ. อำมาตย, อำมาตย์[อำหฺมาดตะยะ, อำหฺมาด] น. ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา;แผลงมาจาก อมาตย์. (ส. อมาตฺย; ป. อมจฺจ). การแบ่งกลุ่มคนไทยออกด้วยคำว่า "ไพร่ และ "อำมาตย์ กลายเป็นวาทกรรมที่กระทบใจคนไทยพอ ๆ กับวาทกรรม "รากหญ้า ที่ปรากฏขึ้นเมื่อหลายปีก่อน โดยคำว่า "ไพร่ ถูกนำมาใช้ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 โดยณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้รับการสนับสนุนจาก พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถดึงชาวเสื้อแดงออกมารวมตัวได้มากขึ้น โดยหลังจากที่มีการปราศรัยวาทกรรมเกี่ยวกับ "ไพร่ บนเวทีชาวเสื้อแดง จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตแกนนำนักศึกษาและเข้าร่วมการต่อสู้ด้วยอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า สหายแพง หรือ สหายแผ้ว ได้กล่าวว่าวาทกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่พรรคคอมมิมนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)พยายามอธิบายมา 40 กว่าปี ประชาธิปไตยคืออะไทางการเมือง คำว่า ประชาธิปไตย สามารถหมายถึงทั้งระบอบการปกครองและปรัชญาการเมือง ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ ประชาธิปไตยจะยังไม่มีการนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่ก็ได้ปรากฏให้เห็นหลักการสองหลักการที่ให้การนิยามคำว่า ประชาธิปไตย แล้ว คือ ความเสมอภาคและอิสรภาพ หลักการดังกล่าวถูกสะท้อนให้เห็นผ่านทางความเสมอภาคทางกฎหมายของพลเมืองทุกคน และมีสิทธิเข้าถึงอำนาจโดยเท่าเทียมกัน ส่วนอิสรภาพได้มาจากสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองเสมอกันโดยรัฐธรรมนูญ วาทกรรม "ไพร่ "อำมาตย์ กับ ประชาธิปไตย วาทกรรม "ไพร่ ถูกนำมาเทียบเคียงกับแนวคิดประชาธิปไตยเกี่ยวกับ "ความเสมอภาค โดยแนวคิดดังกล่าวถูกอ้างจากความรู้สึกถึงการถูกแบ่งแยก และริดรอนสิทธิในฐานะประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริงตามระบอบประชาธิปไตย อันมีประมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยใช้วาทกรรม "อำมาตย์ แทนชนชั้นผู้ปกครองที่ถูกมองว่าเป็นผู้ลิดรอนสิทธิและอำนาจของประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเรียกร้องอำนาจที่แท้จริงของตนเองคืนมาตามอุดมการณ์ที่ได้ประกาศไว้ แต่ในขณะเดียวกัน การพยายามแบ่งแยกชนชั้นในสังคม แบ่งแยกสี แบ่งแยกฝ่าย กลับเป็นหนทางที่ขัดแย้งต่อระบอบประชาธิปไตย วาทกรรมทางการเมืองไม่ใช่เรื่องผิด แต่การจะสร้างวาทกรรมใด ๆ ควรคำนึงถึงประโยชน์และอุดมการณ์อันแท้จริงของคนส่วนใหญ่ โดยนายแพทย์ ประเวศ วสี เคยกล่าวถึงวาทกรรมทางการเมืองไว้ว่า "การพูดไม่เป็น ทำให้ขัดข้อง ขัดแย้ง ที่ไม่ควรมีเรื่องก็กลายเป็นมีเรื่อง ที่มีเรื่องก็กลายเป็นรุนแรง สิ่งที่ควรแก้ปัญหาได้ก็แก้ไม่ได้ และสามารถก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาได้ การพูดอย่างถูกต้องถือเป็นเรื่องสำคัญมาก วาทกรรมทางการเมืองก็ควรปรับเปลี่ยนจากมิจฉาวาจาไปสู่สัมมาวาจาให้มากขึ้น มุมมองอุดมการณ์ประชาธิปไตยไทยในสายตานานาชาติ ในขณะที่ประเทศไทยมีมุมมองที่ต่างกันเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย นานาชาติก็มีความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตยในประเทศไทยด้วยเหมือนกัน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า แม้การประท้วงของกลุ่มเสื้อแดง จะกลายเป็นข่าวพาดหัว แต่การประท้วงกลับไม่ก้าวหน้า และผู้สังเกตการณ์การชุมนุมประท้วงก็ให้โอกาสพวกเขาน้อยมากกับการบรรลุเป้าหมายเรื่องที่ให้รัฐบาลยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่แม้กลุ่มผู้สนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณส่วนหนึ่งจะรื้อถอนค่ายประท้วงในกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางกลับบ้านที่ส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัดปรากฏการณ์ที่พวกเขาปล่อยออกมาจะยังคุกรุ่นอยู่ต่อไป มีการคาดการณ์ว่า ความวุ่นวายจะยังอยู่อีกหลายปี ในช่วงที่ระบบการเมืองของไทยต้องเผชิญกับความมุ่งหวังของคนยากจนในชนบท ที่ตื่นขึ้นมาตอนที่ทักษิณขึ้นมามีอำนาจเมื่อ 10 ปีก่อนด้วยการชูนโยบายประชานิยม นายไมเคิล มอนเตซาโน่ จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาที่สิงคโปร์ คาดว่าการประท้วงจะเลิกราไปในที่สุด งานนี้เขาไม่คิดว่ากลุ่มผู้ประท้วงจะได้ลองเชิงอะไรกับรัฐบาล พร้อมกันนั้นก็เสริมด้วยว่า ท่าทีทั้งสองฝ่ายในงานนี้ต่างก็เกินความคาดหมายทั้งสิ้น ด้าน บ๊อบ บรอดฟู้ท จากกลุ่มที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ บอกว่าเรื่องนี้ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะแก้ไขให้ลุล่วงได้ เพราะทักษิณเป็นคนแรกที่แสดงให้เห็นว่าควรวิงวอนต่อประชาชนคนส่วนใหญ่อย่างไร แม้ว่าจะกำจัดทักษิณออกไป คนส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ บางทีพวกเขาอาจมีการศึกษาน้อย แต่ไม่โง่ และพวกเขาจะไม่ยอมตกเป็นฝ่ายถูกเลือกปฏิบัติในระบบ กลุ่มเสื้อแดงอาจได้รับความเคารพจากการชุมนุมโดยไม่มีความรุนแรง หลังจากเคยก่อจลาจลเมื่อปีก่อน แต่นักวิเคราะห์บอกว่าตอนนี้พวกเขาต้องทำมากกว่าการเดินขบวนตามท้องถนน เจมส์ ไคลน์ จาก-เอเชีย ฟาวน์เดชั่น บอกว่า พวกเสื้อแดงยังขาดอุดมการณ์ พวกเขาอาจมีข้อความบนสติ๊กเกอร์ติดท้ายรถสวยๆ มากมายแต่พวกเขาก็จำเป็นต้องหาคำจำกัดความว่า คำขวัญเหล่านั้นมีความหมายถึงอะไรกันแน่ แม้วาทกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในปัจจุบัน เนื่องจากความแตกต่างทางระบบคิดของแต่ละคนจนทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ยังมีวาทกรรมอีกมากมาย ที่พวกเราพี่น้องชาวไทยควรใส่ใจและใส่ความคิด นอกเหนือจากวาทกรรม "ไพร่-อำมาตย์ วาทกรรมหนึ่งที่คนไทยทุกคนไม่ควรลืมนั้นก็คือ "ความรัก-ความสามัคคี อันเป็นรากฐานสำคัญของความเป็น "ไท และเป็น "ไทย ที่สืบเนื่องยาวนานมานับร้อย ๆ ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook