รู้จัก "หมึกบลูริง" สัตว์ทะเลแสนสวย แต่พิษร้ายแรงและยังไร้ยาแก้พิษ

รู้จัก "หมึกบลูริง" สัตว์ทะเลแสนสวย แต่พิษร้ายแรงและยังไร้ยาแก้พิษ

รู้จัก "หมึกบลูริง" สัตว์ทะเลแสนสวย แต่พิษร้ายแรงและยังไร้ยาแก้พิษ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวหมึกเลิฟเวอร์ทั้งหลายอาจจะต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น หลังจากช่วงหลังๆ มักจะมีข่าวการพบเจอ “หมึกบลูริง” ในอาหารมากขึ้น ไม่ว่าจะเจอในร้านอาหารปิ้งย่าง เจอตอนเสียบไม้เตรียมย่าง หรือเจอในซูชิ แต่ทำไมต้องระมัดระวังหมึกชนิดนี้ Sanook ชวนทำความรู้จัก “หมึกบลูริง” สัตว์ทะเลรูปสีสันสวยงามชนิดนี้ แต่พิษร้ายแรงมากกว่างูเง่าถึง 20 เท่า พร้อมวิธีสังเกตก่อนกิน

“หมึกบลูริง” คืออะไร

หมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) หรือ หมึกสายวงน้ำเงิน คือ หมึกที่อยู่ในสายพันธุ์หมึกยักษ์ จัดเป็นหมึกขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง สามารถพบได้ทั้งในทะเลอ่าวไทยและทะเลฝั่งอันดามันของประเทศไทย หมึกบลูริงมีจุดเด่นคือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วง ซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม พื้นลำตัวเป็นสีขาวหรือสีเขียว ทำให้หมึกบลูริงเป็นหมึกที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง ทว่า กลับเป็นหมึกที่มีพิษร้ายแรงด้วยเช่นกัน

พิษของ “หมึกบลูริง”

พิษของหมึกบลูริง มีชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับพิษของปลาปักเป้า สามารถพบได้ในต่อมน้ำลาย ปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก โดยจะมีผลต่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้เป็นอัมพาต ระบบหายใจล้มเหลว และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ พิษของหมึกบลูริงจะไม่หายไป แม้จะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม เพราะพิษสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส ทำให้หากได้รับพิษเข้าไปเพียง 1 มิลลิกรัม ก็เป็นอันตรายอย่างมาก โดยความรุนแรงของพิษหมึกบลูริงรุนแรงกว่าไซยาไนด์ 1,200 เท่า และมากกว่าพิษจากงูเห่า 20 เท่า ฉะนั้น หมึกบลูริง ไม่สามารถกินได้ 

อาการของผู้โดนพิษหมึกบลูริง คือ เริ่ม “ชา” บริเวณริมฝีปาก ลิ้น และจะลามไปที่ใบหน้า แขน ขา และเป็นตะคริวในที่สุด ต่อมาจะมีอาการคลื่นไส้ ตาพร่าเลือน มองไม่เห็น ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน พูดหรือกลืนน้ำลายไม่ได้ จากนั้นจะเป็นอัมพาตและหยุดหายใจ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มายาแก้พิษหมึกบลูริง ทำให้วิธีการรักษาคือ การใช้เครื่องช่วยหายใจ และรักษาตามอาการเท่านั้น

วิธีปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาลผู้ที่โดนพิษหมึกบลูริง คือ การเอาอากาศเข้าสู่ปอด เช่น การเป่าปาก จากนั้นรีบนำตัวส่งแพทย์โดยด่วน เพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าช่วยชีวิตสำเร็จ ผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากขาดออกซิเจนนานเกินไป จะส่งผลให้สมองตาย ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือรับประทานหมึกบลูริง 

วิธีสังเกต “หมึกบลูริง”

วิธีสังเกตหมึกบลูริง ให้สังเกตว่าเป็นหมีกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีลายวงแหวนสีฟ้าสะท้อนแสงเล็กๆ ตามลำตัวและหนวด ซึ่งจะแตกต่างจาก “หมึกอิกคิว” ที่จะมีลายวงแวหวานที่ลำตัวเพียง 1 -2 วง และสามารถรับประทานได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook