สอบกี่ทีก็มีเรื่อง! สรุปดราม่า TGAT/TPAT กับคำถามเรื่องการช่วยเหลือนักเรียน

สอบกี่ทีก็มีเรื่อง! สรุปดราม่า TGAT/TPAT กับคำถามเรื่องการช่วยเหลือนักเรียน

สอบกี่ทีก็มีเรื่อง! สรุปดราม่า TGAT/TPAT กับคำถามเรื่องการช่วยเหลือนักเรียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นประเด็นดราม่าทุกครั้งที่มีการสอบ TGAT/TPAT ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย และกลายเป็นหัวข้อฮอตฮิตในโลกโซเชียลที่ชาวเน็ตต่างเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์อย่างล้นหลาม ซึ่งแน่นอนว่าในปี 2566 นี้ ก็ต้องมีดราม่าปรากฏออกมาให้ได้พูดถึงกันอีกแล้ว เรียกว่ามีดราม่าตั้งแต่ยังไม่สอบกันเลยทีเดียว แล้วประเด็นเกี่ยวกับ TGAT/TPAT เรื่องไหนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จนกลายเป็นดราม่าบ้าง Sanook พาไปดูเรื่องวุ่นๆ ของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามเรื่องการช่วยเหลือสนับสนันนักเรียนของประเทศ

TGAT/TPAT คืออะไร

TGAT/TPAT คือ ระบบการสอบเพื่อวัดศํกยภาพในการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย “รูปแบบใหม่” หลังผ่านการประชุมของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในรายวิชา และเน้นความรู้ที่ผู้สอบสามารถประยุกต์ใช้ได้ ไม่ใช่การท่องจำอย่างเดียว 

TGAT (Thai General Aptitude Test) คือข้อสอบวัดสมรรถนะการเรียนรู้ทั่วไป แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ, การคิดอย่างมีเหตุผล, และสมารรถนะด้านการทำงานในอนาคต 

ขณะที่ TPAT (Thai Professional Aptitude Test) หรือข้อสอบความถนัดด้านวิชาชีพ มีการปรับให้เหลือ 5 รายวิชา คือ TPAT1 (ความถนัดแพทย์), TPAT2 (ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์), TPAT3 (ความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์), TPAT4 (ความถนัดสถาปัตยกรรมศาสตร์), และ TPAT5 (ความถนัดครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์) 

ดราม่าตั้งแต่ก่อนสอบ

ก่อนสอบ TGAT/TPAT ประจำปี 2566 ก็มีดราม่าเล็กๆ ให้คนวิพากษ์วิจารณ์กันแล้ว หลังจาก สพฐ. ประกาศให้วันที่ 4 - 8 ธันวาคม 2566 เป็นวันหยุดโรงเรียน 5 วัน เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมปลายได้อ่านหนังสือเตรียมสอบ TGAT/TPAT 

แน่นอนว่าพอประกาศออกไป ก็ทำให้ชาวเน็ตออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมาย เนื่องจากเป็นประกาศที่กะทันหัน พร้อมตั้งคำถามว่าทำไมไม่ประกาศตั้แต่ช่วงปิดภาคเรียน ครูบางส่วนได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าวในเรื่องแผนการเรียนการสอน รวมไปถึงการไม่มีประกาศแจ้งให้ครูได้ทราบก่อนหน้าเช่นกัน ขณะที่ผู้ปกครองก็สับสน เพราะประกาศดังกล่าวไม่มีความชัดเจน และตั้งคำถามว่านักเรียนระดับชั้นอื่นๆ ต้องหยุดเรียนด้วยหรือไม่

ผอ.สนามสอบเข้าใจผิด

ระหว่างการสอบ TGAT ในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ก็เกิดดราม่าอีกครั้ง หลังชาวเอ็กซ์ X ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่าสนามสอบแห่งหนึี่งแถวดอนเมือง ไม่ยอมให้นักเรียนแสดงบัตรประจำตัวผู้สอบผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่สั่งให้พรินต์เป็นกระดาษเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ในระเบียบการสอบได้แจ้งว่า นักเรียนสามารถแสดงบัตรประจำตัวผู้สอบในโทรศัพท์มือถือได้

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นักเรียนหลายคนต้องไปต่อคิวเพื่อพรินต์บัตรประจำตัวผู้สอบกับทางเจ้าหน้าที่ โดยนักเรียนอ้างว่าต้องจ่ายเงินค่าพรินต์ด้วย อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายคนเข้ามาบอกว่าทางเจ้าหน้าที่ได้คืนค่าพรินต์ให้กับนักเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

อ้างอิงจากสำนักข่าวช่อง 7 ซึ่งได้สอบถามรองศาสตราจารย์ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ผู้จัดการระบบ TCAS ก็ได้ชี้แจงว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจาก ผอ.สนามสอบเข้าใจว่าผู้สอบต้องแสดงบัตรประชาชนและบัตรประจำตัวผู้สอบตัวจริงเท่านั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น TCAS จึงได้แจ้งไปยัง ผอ.สนามสอบให้เข้าใจ พร้อมยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง จึงไม่มีบทลงโทษ แต่ต้องอธิบายให้ผู้คุมสอบเข้าใจมากขึ้น

แอดมิน ทปอ. วีนนักเรียน (อีกแล้ว)

อีกหนึ่งดราม่าล่าสุดจากการสอบ TGAT/TPAT ที่ผ่านมา เกิดขึ้นหลังจากนักเรียนได้ส่งข้อความไปแจ้งเรื่องร้องเรียนกับแอดมิน ทปอ. เกี่ยวกับข้อสอบ TPAT4 ผ่านเฟสบุ๊ก Mytcas.com โดยใจความระบุว่า “สวัสดีค่ะ ข้อสอบ TPAT4 ข้อที่ 73 โจทย์พับกล้อง ชอยส์น่าจะผิดนะคะ เพราะมีคำตอบที่ถูก 2 ข้อ รบกวนตรวจสอบด้วยค่ะ” 

หลังจากนั้น แอดมิน ทปอ. ก็ได้ตอบกลับข้อความดังกล่าวว่า “ทราบเรื่องแล้วครับไม่ต้องแจ้งมานะครับ” 

เมื่อเจ้าของโพสต์นำบทสนทนาดังกล่าวมาแชร์ในโลกโซเชียล ก็ทำให้ชาวเน็ตมากมายเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น หลายคนเข้ามาแชร์ประสบการณ์ที่คล้ายกัน ขณะที่หลายคนก็ระบุว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แอดมิน ทปอ. มีพฤติกรรมแบบนี้ และเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือทำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยเหลือและรับฟังปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่ต้องสอบอย่างเต็มใจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook