เปิดภาพ "นักวิจัยหนึ่งเดียว" บนสถานีที่อยู่เหนือสุดของโลก ยิ่งกว่าคำว่าโดดเดี่ยว

เปิดภาพ "นักวิจัยหนึ่งเดียว" บนสถานีที่อยู่เหนือสุดของโลก ยิ่งกว่าคำว่าโดดเดี่ยว

เปิดภาพ "นักวิจัยหนึ่งเดียว" บนสถานีที่อยู่เหนือสุดของโลก ยิ่งกว่าคำว่าโดดเดี่ยว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า นีโอเลซุนด์ (Ny-Alesund) เป็นย่านเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในใจกลางหมู่เกาะสวาลบาร์ด (Svalbard) หมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างแผ่นดินใหญ่ของประเทศนอร์เวย์กับขั้วโลกเหนือ ที่นี่เป็นที่ตั้งตลอดทั้งปีของสถานีวิจัยที่อยู่เหนือสุดของโลก อันเป็นส่วนสำคัญในภารกิจสำรวจขั้วโลก รวมถึงสถานีฮวงโห หรือสถานีแม่น้ำเหลือง (Yellow River Station) สถานีวิจัยภูมิภาคอาร์กติกแห่งแรกของจีน

ในฤดูหนาวที่รัตติกาลยาวนานราวกับชั่วนิรันด์ หลี่ปิน ผู้ช่วยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน คือเจ้าหน้าที่เพียงหนึ่งเดียวที่ประจำอยู่ที่ป้อมแห่งนี้ โดยมีเพียงแสงเหนือหรือออโรราที่สว่างเรืองรองบนท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นดังสหายข้างกาย

หลี่ปินเล่าว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ตนมาประจำการที่สถานีฮวงโห หลังจากครั้งก่อนเคยมาอยู่ที่นี่นานกว่า 100 วัน ระหว่างปี 2018-2019 พร้อมกล่าว่าในช่วงโพลาร์ ไนต์ หรือ ขั้วโลกราตรี (ปรากฎการณ์ที่ทำให้เกิดพระอาทิตย์เที่ยงคืนและรัตติกาลในยามกลางวัน) ช่วงกลางวันฟ้าจะมืด ตนจึงมีโอกาสได้ชมแสงเหนือยามกลางวัน จึงนับเป็นสถานที่แสนพิเศษของโลก

หลี่ปินเฝ้าติดตามเครื่องมือสังเกตการณ์แสงเหนือซึ่งติดตั้งไว้กว่า 20 เครื่อง ในย่านนีโอเลซุนด์และลองเยียร์เบียนของสวาลบาร์ด และในเลาการ์ของไอซ์แลนด์ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จะถูกป้อนเข้าสู่แหล่งรวมงานวิจัยแสงเหนือทั่วโลก

ในราตรีที่แสงเหนือปรากฎแจ่มชัด หลี่ปินจะเดินทางไปยังพื้นที่ทุรกันดารอันเย็นยะเยือก โดยพกกล้องถ่ายรูปและขาตั้งกล้องไปด้วย เพื่อจับภาพความงามอันแสนละเมียดละไมของแสงที่เจิดจ้าสว่างไสวเหล่านั้น

ยามที่หิมะตกหนัก หลี่ปินเล่าว่าเขาต้องอดทนต่อสู้กับความหนาวเหน็บ ย่ำไปบนหิมะเพื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่สำคัญ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำงานได้อย่างราบรื่น

อันตรายและความท้าทายเป็นสิ่งที่นักวิจัยขั้วโลกต้องพบเจอเช่นกัน เพราะในพื้นอันรกร้างว่างเปล่าของนีโอเลซุนด์ อันตรายแฝงตัวมาในรูปของหมีขั้วโลก และผลกระทบต่อสภาพจิตใจจากการต้องเผชิญปรากฎการณ์ขั้วโลกราตรี ที่ช่วงกลางคืนยาวนานไม่จบไม่สิ้นเป็นเวลาหลายเดือน

อย่างไรก็ดี หลี่ปินกล่าวว่าในฐานะคนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ ความสนใจใคร่รู้ของเขามากพอที่จะทำให้เขาสามารถอยู่ที่นี่ต่อไปได้ อีกทั้งเขายังได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ ของ เปิดภาพ "นักวิจัยหนึ่งเดียว" บนสถานีที่อยู่เหนือสุดของโลก ยิ่งกว่าคำว่าโดดเดี่ยว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook