"หม่อมเจ้าจุลเจิม" โพสต์กลอน "ราชสวัสดิ์" หลังราชกิจจาฯ ประกาศลดชั้นยศทหารสัญญาบัตร

"หม่อมเจ้าจุลเจิม" โพสต์กลอน "ราชสวัสดิ์" หลังราชกิจจาฯ ประกาศลดชั้นยศทหารสัญญาบัตร

"หม่อมเจ้าจุลเจิม" โพสต์กลอน "ราชสวัสดิ์" หลังราชกิจจาฯ ประกาศลดชั้นยศทหารสัญญาบัตร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวานนี้ (8 พ.ย. 66) หลังเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระบรมราชโองการประกาศพระราชทานปรับลด “ชั้นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตร” โดยมีใจความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานปรับลดชั้นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานปรับลดชั้นยศ พลเอก หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล เป็น พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล

หม่อมเจ้าจุลเจิมเคลื่อนไหว

วันนี้ (9 พ.ย. 66) หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหว ด้วยการโพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว เป็นบทกลอน “ราชสวัสดิ์” ระบุว่า 

"โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์
ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา

ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา
มีมาแต่โบราณช้านานครัน

หนึ่งวิชาสามารถมีอย่างไร
ไม่ปิดไว้ให้ท่านทราบทุกสิ่งสรรพ์

หนึ่งกล้าหาญทำการถวายนั้น
มุ่งมั่นจนสำเร็จเจตนา

หนึ่งมิได้ประมาทราชกิจ
ชอบผิดตริตรึกหมั่นศึกษา

หนึ่งสัตย์ซื่อถือธรรมจรรยา
เหมือนสมาทานศิลไว้ให้มั่นคง

หนึ่งเสงี่ยมเจียมตัวไม่กำเริบ
เอื้อเอิบหยิ่งเย่อเพ้อหลง

หนึ่งอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์
ไม่ทำเทียมด้วยทะนงพระกรุณา

หนึ่งไซร้ไม่ร่วมพระราชอาสน์
ด้วยอุบาทว์จัญไรเป็นหนักหนา

หนึ่งเข้าเฝ้าชาวในไม่พันพัว
เล่นหัวผูกรักสมัครสมาน

หนึ่งสวามิภักดิ์ใคร่ในภูบาล
ถึงถูกกริ้วทนทานไม่ตอบแทน

ม.จ.จุลเจิม ยุคล

"กลอนราชสวัสดิ์" คืออะไร

บทกลอนราชสวัสดิ์นั้น เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นคำสอนที่สืบต่อกันมายาวนาน โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชบริพารและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ สอนทั้งหลักปฏิบัติในการเป็นข้าราชการ และหลักปฏิบัติให้เป็นคนดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตด้วยดีในสังคมหรือหลักปฏิบัติราชการ ถือเป็นข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในการรับราชการ หรือในการทำงานได้เป็นอย่างดี

โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ ได้ว่า

ข้อแรก คือ เมื่อมีวิชาอย่างไรต้องกราบบังคมทูลให้พระเจ้าแผ่นดินทราบ

ข้อสอง ให้ทำงานถวายโดยกล้าหาญมุ่งมั่นจนกว่าจะสำเร็จ

ข้อสาม หากเป็นราชกิจใดก็ตาม ให้ศึกษาและคิดไตร่ตรองให้รอบคอบที่สุดโดยไม่ประมาท

ข้อสี่ ให้มีจริยธรรมรักษาศีลให้มั่นคง

ข้อห้า ให้สงบเสงี่ยมเจียมตัว ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ฟุ้งเฟ้อ หลงลืมตัว

ข้อหก การอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ต้องไม่ตีตนเสมอ ต้องไม่ทำตัวเทียมเท่า โดยหลงคิดผิดไปว่าตัวเองได้รับพระกรุณาจะทำอะไรก็ได้

ข้อเจ็ด ไม่ไปนั่งพระเก้าอี้ พระโธรน พระราชอาสน์ ซึ่งเป็นของสูงยิ่ง จะเป็นอัปมงคล

ข้อแปด ให้หมั่นสังเกตพระราชกิจและพระราชนิยม รู้จังหวะ รู้ระยะที่เหมาะสม

ข้อเก้า ไม่เล่นหัว ไม่ให้มีเรื่องชู้สาวกับนางในหรือผู้หญิงในวัง ให้เว้นระยะให้เหมาะสม

ข้อสิบ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี อดทนแม้ว่าจะทรงกริ้วหรือทรงโกรธ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook