เปิดตำราแม่ไม้มวยไทย ตำรับพระเจ้าเสือ ย้อนวีรกรรมปลอมพระองค์ ออกไปชกกับชาวบ้าน

เปิดตำราแม่ไม้มวยไทย ตำรับพระเจ้าเสือ ย้อนวีรกรรมปลอมพระองค์ ออกไปชกกับชาวบ้าน

เปิดตำราแม่ไม้มวยไทย ตำรับพระเจ้าเสือ ย้อนวีรกรรมปลอมพระองค์ ออกไปชกกับชาวบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดตำราแม่ไม้มวยไทย ตำรับพระเจ้าเสือ คิดค้นท่าเอง ย้อนวีรกรรมปลอมพระองค์ไปประลองชกมวยกับชาวบ้าน  

ในละครพีเรียดย้อนยุค บุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต ตัวละคร หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนคุ้นเคยเพราะมีอยู่ในแบบเรียน และยังเป็นบุคคลสำคัญในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครหลายครั้ง

 หลวงสรศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า เดื่อ เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก ภายหลังขึ้นครองราชย์มีพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 29 ของกรุงศรีอยุธยา และพระองค์ที่ 2 ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า อีกหนึ่งมรดกสำคัญของไทย ที่พระเจ้าเสือได้สร้างไว้นั่นก็คือ พระองค์เป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันที่พระองค์ขึ้นครองราชย์เป็น "วันมวยไทย" เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดว่า พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงสนพระทัยในเรื่องหมัดมวยเป็นพิเศษ  ทั้งยังทรงคิดท่าแม่ไม้มวยไทยขึ้นเป็นแบบฉบับของพระองค์เอง เรียกกันว่า “มวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ” และได้รับการถ่ายทอดเป็นตำรามวยไทยมาจนทุกวันนี้

พระเจ้าเสือเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่ปลอมพระองค์ออกไปประลองฝีมือกับชาวบ้าน ดังที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ระบุไว้ในหนังสือ ศิลปะมวยไทยว่า พระเจ้าเสือได้ปลอมแปลงพระองค์เป็นสามัญชน มาชกมวยกับนักมวยฝีมือดีของเมืองวิเศษไชยชาญ และสามารถชกชนะนักมวยเอกถึง 3 คน ได้แก่ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก โดยทั้ง 3 คน ได้รับความพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจากฝีมือการชกมวยไทยของพระองค์

เมื่อพระมหากษัตริย์โปรดการชกมวยไทยเช่นนี้ ทำให้มีการฝึกมวยไทยกันอย่างแพร่หลายในราชสำนัก และขยายไปสู่บ้านและวัด โดยเฉพาะวัด ถือเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชามวยไทยเป็นอย่างดี เพราะขุนศึกเมื่อมีอายุมากมักบวชเป็นพระ และสอนวิชาการต่อสู้ให้แก่ลูกศิษย์ที่ดี หรือมีความกตัญญูรู้คุณ โดยเฉพาะนักมวยเด่นในยุคหลังๆ ก็เกิดจากการฝึกฝนกับพระสงฆ์ในวัดแทบทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การฝึกมวยไทยจึงแพร่หลาย และขยายวงกว้างไปสู่สามัญชนมากยิ่งขึ้น

อัลบั้มภาพ 34 ภาพ

อัลบั้มภาพ 34 ภาพ ของ เปิดตำราแม่ไม้มวยไทย ตำรับพระเจ้าเสือ ย้อนวีรกรรมปลอมพระองค์ ออกไปชกกับชาวบ้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook