เตือนประชาชน! ระวังน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ระหว่างวันที่ 8-15 ต.ค.นี้

เตือนประชาชน! ระวังน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ระหว่างวันที่ 8-15 ต.ค.นี้

เตือนประชาชน! ระวังน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ระหว่างวันที่  8-15 ต.ค.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐบาล เตือนประชาชนเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมขอให้ติดตามการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ช่วง 8-15 ต.ค.นี้

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตือนประชาชนเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ และขอให้ติดตามการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ จากส่วนราชการอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมขนของขึ้นสู่บริเวณที่สูงหรืออพยพทันที หากได้รับการแจ้งเตือน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 ซึ่งจากรายงานของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักสะสมทั้งประเทศไทย ทำให้มีปริมาณน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ในช่วงวันที่ 8-11 ต.ค.66 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้ สทนช. ได้วิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังในช่วงวันที่ 9-15 ต.ค.66 ดังนี้ 1. เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.ฝาง อมก๋อย และจอมทอง), จ.กำแพงเพชร (อ.คลองลาน คลองขลุง และปางศิลาทอง), จ.อุตรดิตถ์ (อ.ตรอน), จ.ตาก (อ.อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด พบพระ วังเจ้า และบ้านตาก), จ.พะเยา (อ.เมืองพะเยา), จ.แพร่ (อ.วังชิ้น), จ.พิษณุโลก (อ.นครไทย), จ.นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์), จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่ และลานสัก), จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ และน้ำหนาว)

ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น (อ.โคกโพธิ์ไชย และโนนศิลา), จ.นครราชสีมา (อ.เมืองนครราชสีมา โนนไทย โนนสูง เฉลิมพระเกียรติ จักราช พิมาย ลำทะเมนชัย ชุมพวง และเมืองยาง), จ.ชัยภูมิ (อ.เมืองชัยภูมิ คอนสาร และเกษตรสมบูรณ์), จ.มุกดาหาร (อ.คำชะอี และเมืองมุกดาหาร), จ.อุดรธานี (อ.เมืองอุดรธานี) และจ.อุบลราชธานี (อ.เมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ) ด้านภาคกลาง จ.กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ และศรีสวัสดิ์), จ.ชัยนาท (อ.เมืองชัยนาท เนินขาม และหันคา), จ.สุพรรณบุรี (อ.เดิมบางนางบวช หนองหญ้าไซ สามชุก และดอนเจดีย์), ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี (อ.มืองปราจีนบุรี ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ นาดีและกบินทร์บุรี), จ.สระแก้ว (อ.เมืองสระแก้ว),จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี แก่งหางแมว ขลุง มะขาม และท่าใหม่), จ.ตราด (อ.เมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง และแหลมงอบ)และจ.ระยอง (อ.ปลวกแดง) ส่วนภาคใต้ จ.นราธิวาส (อ.สุไหงปาดี และสุคิริน), จ.พังงา (อ.คุระบุรี) และจ.ระนอง (อ.เมืองระนอง และกะเปอร์)

ส่วนที่ต้องเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้ แม่น้ำมูล ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และพิบูลมังสาหาร, จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้การบริหารจัดการในพื้นที่ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล ได้บริหารจัดการโดยคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการประชุมบูรณาการข้อมูล เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้ได้มากที่สุด และการระบายน้ำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด, แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาต้องเพิ่มการระบายน้ำในอัตรามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ วัดไชโย คลองโผงเผง จ.อ่างทอง อ.พรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี และอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.20 – 0.80 เมตร ทั้งนี้การบริหารจัดการในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้บริหารจัดการโดยคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ซึ่งมีการประชุมบูรณาการข้อมูลเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้ได้มากที่สุด และการระบายน้ำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด ด้านแม่น้ำท่าจีน ได้แก่ อ.เมืองสุพรรณบุรี และสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อ.บางเลน และนครชัยศรี จ.นครปฐม, แม่น้ำปราจีนบุรี ได้แก่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ทุกส่วนราชการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์น้ำอย่างเต็มที่ ยืนยันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ ทั้งในส่วนของน้ำท่วม และการกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร นายกรัฐมนตรีย้ำ รัฐบาลจะไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำซากไปเรื่อยๆ ทุกหน่วยงานจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด ทำให้ไม่เกิดน้ำท่วม หรือเกิดให้น้อยที่สุด

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook