ตร.เผยสถิติ "แบลงค์กัน" ถูกนำมาใช้ก่อเหตุมากขึ้นเรื่อยๆ ปี 2565 ทะลุ 1,000 คดี

ตร.เผยสถิติ "แบลงค์กัน" ถูกนำมาใช้ก่อเหตุมากขึ้นเรื่อยๆ ปี 2565 ทะลุ 1,000 คดี

ตร.เผยสถิติ "แบลงค์กัน" ถูกนำมาใช้ก่อเหตุมากขึ้นเรื่อยๆ ปี 2565 ทะลุ 1,000 คดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ "แบลงค์กัน" ถูกนำมาใช้ก่อเหตุมากขึ้นเรื่อยๆ ปี 2565 ทะลุ 1,000 คดี

จากกรณีเหตุสะเทือนขวัญ กรณีเยาวชนชายอายุ 14 ปี ก่อเหตุยิงในห้างดังกลางเมือง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย อาวุธปืนที่ใช้ เป็นปืนแบลงค์กัน ดัดแปลงเป็นอาวุธปืน ทำให้เกิดประเด็นร้อนแรง เพราะแบลงค์กัน ไม่ใช่ของผิดกฎหมาย ซื้อขายได้เสรี

(5 ต.ค.66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมการครอบครอง การพกพา และการใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุน สิ่งเทียมปืน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หากจำเป็นต้องเสนอแก้กฎหมาย โดย นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมการปกครองเป็นผู้รับผิดชอบในการออกมาตรการ โดยกำหนดเป็นมาตรการ ดังนี้

มาตรการระยะสั้น

(1) ให้นายทะเบียนอาวุธปืนทั่วประเทศ (นายอำเภอในต่างจังหวัด / อธิบดีกรมการปกครองใน กทม.) งดการออกใบอนุญาตให้สั่ง นำเข้า หรือค้า ซึ่งสิ่งที่เทียมอาวุธปืนทุกชนิด (สำหรับผู้รับใบอนุญาตรายเดิมที่จะสั่งนำเข้าเพิ่มเติม) และไม่อนุญาตให้รายใหม่ขออนุญาตเป็นผู้ค้า สั่งนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืนเพิ่มอีก

(2) ขอให้ผู้ครอบครองแบลงค์กัน บีบีกัน หรือสิ่งเทียมอาวุธปืน ที่อาจดัดแปลงเป็นอาวุธปืนได้ให้นำแบลงค์กัน บีบีกัน หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนของตนที่ครอบครองอยู่ ไปแสดงและบันทึกต่อนายทะเบียนอาวุธปืนตามภูมิลำเนาซึ่งตนมีทะเบียนบ้านอยู่

(3) ให้กรมศุลกากรตรวจสอบการนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบลงค์กัน และบีบีกัน ที่สามารถดัดแปลงเป็นอาวุธปืนได้อย่างเข้มงวด

(4) ให้การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งกำกับดูแลสนามยิงปืนที่ได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาทั่วประเทศให้มีการกวดขัน ตรวจสอบ ทั่วประเทศ

  (4.1) ห้ามผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปี เข้าสนามยิงปืน ยกเว้น ได้รับอนุญาตตามระเบียบการกีฬาแห่งประเทศไทย เช่น นักกีฬายิงปืนทีมชาติ

  (4.2) อาวุธปืนที่ใช้จะต้องมีทะเบียนถูกต้อง และตรงตัวกับผู้มาใช้บริการ

  (4.3) ห้ามนำกระสุนปืนออกภายนอกสนามเด็ดขาด

  (4.4) สำหรับกรณีสนามยิงปืนในการกำกับดูแลของส่วนราชการ ขอให้ดำเนินการกวดขัน ตรวจสอบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน

(5) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ งดออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว

(6) กระทรวงมหาดไทยไม่มีนโยบายดำเนินการโครงการอาวุธปืนสวัสดิการของทุกส่วนราชการ

(7) ให้นายทะเบียนงดการออกใบอนุญาตสั่งนำเข้าอาวุธปืนของร้านค้าอาวุธปืนตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

(8) ขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี / บข.สอท.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมปราบปราม และปิดเว็บไซต์ เพจออนไลน์ซื้อขายอาวุธปืนเถื่อน และสิ่งเทียมอาวุธปืนดัดแปลงเป็นอาวุธปืน โดยขอให้รายงานผลการปฏิบัติให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุก 15 วัน

มาตรการระยะยาว 

การแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

(1) ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ที่รับรองเรื่องสุขภาพจิต ภาวะทางจิตใจ ที่ผู้ขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ

(2) ความหมาย บทนิยาม ของคำว่า “สิ่งเทียมอาวุธปืน” ไม่ให้หมายความรวมถึง แบลงค์กัน บีบีกัน หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนอื่น ที่สามารถดัดแปลงเป็นอาวุธปืนได้ง่าย

(3) กำหนดให้ผู้ที่จะซื้อสิ่งเทียมอาวุธปืนที่สามารถดัดแปลงเป็นอาวุธปืนได้ ต้องยื่นคำขอต่อนายทะเบียนอาวุธปืน

(4) ผู้ครอบครองอาวุธปืนทั่วประเทศทั้งรายเดิมที่มีอยู่แล้ว และรายใหม่ ที่อาจจะมีเพิ่มขึ้นจะต้องนำอาวุธปืน มายิงทดสอบเก็บข้อมูลหัวกระสุนทุกกระบอก ทุกราย

(5) ให้ใบอนุญาตมีอาวุธปืนภายในวงเล็บ (ป.4) มีอายุของใบอนุญาต ซึ่งผู้ที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว จะต้องนำอาวุธปืนมารายงานตัว กับนายทะเบียน ในทุก 5/10 ปีเพื่อพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตเช่นเดียวกันกับใบขับขี่รถยนต์

ปืน "แบลงค์กัน" (Blank Guns) หรือ "แบลงค์ฟายลิ่งกัน" (Blank Firing Guns) คือ ปืนจำลอง หรือโมเดลปืน ที่จำลองรูปแบบและหลักการทำงานมาจากปืนจริง แต่ ไม่สามารถขับเครื่องกระสุน หรือเม็ดกระสุนใดๆ ออกมาจากลำกล้องได้ ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนารูปลักษณ์ภายนอกและหลักการทำงานเหมือนของจริงเกือบ 100% เป็นอุปกรณ์จำลองที่ถูกพัฒนามาจาก บีบีกัน

จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบตัวเลขคดีที่ใช้แบลงค์กันก่อเหตุทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2563 กว่า 200 คดี , ปี 2564 ประมาณ 500 คดี, ปี 2565 กว่า 1,000 คดี และปี 2566 จนถึงปัจจุบัน หรือประมาณ 10 เดือน พบว่ามีคดีที่ใช้การใช้ในการก่อเหตุแล้วกว่า 700 คดี ซึ่งพบว่า อัตราการใช้แบลงค์กันก่อเหตุสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook