ครม.บี้เกษตรแจงข้อมูลน้ำ

ครม.บี้เกษตรแจงข้อมูลน้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผวาภัยแล้งถล่มพื้นที่เพาะปลูก แห่ขึ้นทะเบียนทำนาปรังทะลัก

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประ จำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งประชาสัมพันธ์และชี้แจงกลุ่มผู้ใช้น้ำและเกษตรกรให้เข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในแหล่งกักเก็บน้ำให้ชัดเจน และเร่งตรวจสอบพื้นที่การทำนา ปรังเพื่อจัดทำกรอบเป้าหมายในการขึ้นทะ เบียนผู้ปลูกข้าวรอบที่ 2 หรือข้าวนาปรังประ จำปี 53 รวมถึงให้เร่งรัดการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวรอบที่ 2 และเข้มงวดในกระบวนการทำประชาคม เพื่อตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกนาปรังและให้กรมส่งเสริมการเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการประสานการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เป็นประจำทุกสัปดาห์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะคณะกรรมการประสานการดำเนินงานฯ เสนอ

ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้ออกสำรวจ ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าบที่ 2 และพบว่าเกษตรกรได้แห่กันมาจดทะเบียนเพื่อปลูกข้าวกันมากเพื่อขอใช้สิทธิ ขณะที่กรมชลประทานได้คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 52/53 ตามปริมาณการจัดสรรน้ำได้เพียง 9.5 ล้านไร่ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียง 912,300 ไร่ และตามรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พบว่าการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 52 มีทั้งสิ้น 12.4 ล้านไร่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 1.46 ล้านไร่ จึงเกรงว่าอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำไม่พอกับการปลูกข้าวนาปรังได้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ก.พ. มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนแล้ว 170,314 ราย หรือคิดเป็น 35.26% ของจำนวนเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังเมื่อปี 51/52 คิดเป็นพื้นที่ปลูกในปี 52/53 จำนวน 3.23 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 22.66% ของพื้นที่เมื่อปี 51/52 โดยจำนวนนี้ได้ทำประชาคมแล้ว 1,543 ราย หรือคิดเป็น 0.91% ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน โดยเฉพาะในภาคอีสานมีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนมากถึง 59,857 ราย หรือคิดเป็น 58.59% ของผู้ที่ปลูกข้าวนาปรังเมื่อปี 51/52 ซึ่งถือว่าการขึ้นทะเบียนเกษตรกรยังทำได้ล่าช้า

นายวัชระกล่าวด้วยว่า ครม. ยังเห็นชอบการจัดทำรบการประกันภัยพืชผลการเกษตรและมอบหมายให้นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกฯ ร่วมกับกระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตรฯ, กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปร่วมกันจัดทำรูปแบบและระบบ ประกันภัยพืชผลเกษตรกรให้ชัดเจนอีกครั้ง และสั่งการให้ กระทรวงวิทย์ฯ ไปกำหนดพิกัดพื้นที่การปลูกข้าวและพืชผลการเกษตรโดยใช้ระบบดาวเทียมให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ก่อน เสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง และที่ประชุมยังเห็นชอบให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิก เป็นวงเงิน 1,200 ล้านบาท โดย 500 ล้านบาท ใช้จากเงินงบประมาณและอีก 700 ล้านบาท ให้ใช้เงินจากกองทุนนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook