แผนที่พลังงานลม

แผนที่พลังงานลม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พลังงานลม ถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ได้รับความสนใจมากขึ้น และเทคโนโลยีทางพลังงานลมก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งการประเมินศักยภาพพลังงานลมในแต่ละพื้นที่ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวางแผนพัฒนาพลังงานลมเพื่อการผลิตไฟฟ้า

ผศ.ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือเจจีซี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี จึงทำการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ การประเมินศักยภาพพลังงานลมด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์ด้านภูมิศาสตร์สารสนเทศ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สามารถพัฒนาฐานข้อมูลแผนที่ศักยภาพพลังงานลมที่ความละเอียด 1 กม. ครอบคลุมทั่วประเทศและฐานข้อมูลภูมิศาสตร์สารสนเทศเพื่อคัดเลือกพื้นที่ติดตั้งกังหันลมสำเร็จ พร้อมเสนอภาครัฐและเอกชนเพื่อใช้ประโยชน์

ผศ.ดร.เกษมสันต์ บอกว่า ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและจัดทำแผนที่การประเมินศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย แต่เป็นการศึกษาที่ผ่านมานานพอควร ผลการศึกษามีความไม่สอดคล้องกันในหลายพื้นที่ และไม่ได้มีการประเมินที่ระดับความสูง มาก ๆ เช่น 100 เมตร

ทีมวิจัยจึงวางแผนทำงานวิจัยนี้ขึ้น ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการดำเนินการโดยมีเปายเพื่อให้ได้แผนที่พลังงานลมที่มีความละเอียดสูง ทันสมัย และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับใช้เป็นข้อมูลการวางแผนการพัฒนาพลังงานลมเพื่อการผลิตไฟฟ้าในเมืองไทย

ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อ จำลองบรรยา กาศถึง 2 แบบจำลองร่วมกัน คือ แบบจำลองระดับกลาง (Meso- scale) กับ แบบจำลองระดับละเอียด (Mic- roscale) ซึ่งทั้งสองเป็นแบบจำลองขั้นสูงและโอเพนซอร์ส (Opensource) พร้อมทั้งได้ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลตรวจวัดลมและอุตุนิยมวิทยาจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมควบคุมมลพิษ และกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบผลที่ได้การทำนายจากแบบจำลอง พบว่าผลการทำนายโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ น่าพอใจ

จากการใช้แบบจำลองและข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้สามารถพัฒนาฐานข้อมูลแผนที่ศักยภาพพลังงานลมที่ความละเอียดถึง 1 กิโลเมตรครอบคลุมทั่วประเทศได้ โดยในแต่ละตารางกิโลเมตรของพื้นที่ ได้ให้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับพลังงานลมหลายตัวแปร ทั้งความเร็วลมเฉลี่ย กำลังลมเฉลี่ย และความสม่ำเสมอของกำลังลม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยรายเดือนและรายปี ที่ระดับความสูง 20, 50 และ 100 เมตร

นอกจากการทำแผนที่พลังงานลมแล้ว ทีมวิจัยยังได้พัฒนาฐานข้อมูลด้านภูมิศาสตร์สารสศ ควบคู่กันไป เพื่อใช้ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าพื้นที่ ที่มีศักยภาพพลังงานลมที่น่าสนใจ มีความเป็นไปได้หรือเหมาะสมต่อการติดตั้งกังหันลม หรือไม่

ผศ.ดร.เกษมสันต์ กล่าวว่า จากการทำแผนที่ข้อมูลศักยภาพพลังงานลมประเทศไทย พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานลมในหลายพื้นที่เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าได้แน่นอน โดยพื้นที่ที่น่าสนใจ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย เพชรบูรณ์ ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนถึงต้นจังหวัดสงขลาตอนบนด้วย และบางส่วนของภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ด้วยปัญหาด้านพลังงานและ สิ่งแวดล้อม ทำให้พลังงานสะอาดกลายเป็นพลังงานทดแทนที่มีความต้องการมากยิ่งขึ้น

การจัดทำฐานข้อมูลด้านพลังงานลมในครั้งนี้ ทีมวิจัยเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและเอกชนในการกำหนดนโยบายและการวางแผนลงทุนด้านพลังงานลมเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศในอนาคต.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook