กรมทรัพยากรธรณี ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ "ลิงสยาม ลิงชนิดใหม่ของโลก อายุ 35 ล้านปี ที่จังหวัดกระบี่

กรมทรัพยากรธรณี ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ "ลิงสยาม ลิงชนิดใหม่ของโลก อายุ 35 ล้านปี ที่จังหวัดกระบี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักธรณีวิทยา ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ "ลิงสยาม ลิงชนิดใหม่ของโลก อายุ 35 ล้านปี ที่จังหวัดกระบี่ เชื่อว่าทวีปเอเชียเป็นแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการของมนุษย์ ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า ได้ค้นพบชิ้นส่วนกรามบนและล่าง ของซากไพรเมตเพียงไม่กี่ชิ้นเมื่อปี 2539 ที่เหมืองถ่านหินเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ชื่อ สยามโมพิเธคัส อีโอซีนัส (Siamopithecus eocaenus) หรือลิงสยาม เป็นชิ้นส่วนกรามล่างด้านขาว พร้อมฟัน และกรามบน 2 ข้าง ที่มีกระดูกเป้าตาติดอยู่ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของไพรเมตชั้นสูงที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบมา โดยจากการค้นพบครั้งแรก ชิ้นส่วนต่างๆ มีความบอบบางมาก เนื่องจากถูกบีบอัดจนแบนอยู่ในชั้นถ่านหิน แต่จากการศึกษาค้นคว้าและเปรียบเทียบการค้นพบจากที่อื่นๆ ทั่วประเทศพบว่า เป็นลิงชนิดใหม่ของโลก และเป็นพรรพบุรุษของไพรเมตชั้นสูง มีอายุ 35 ล้านปี มีขนาดเท่าชะนี น้ำหนักตัวประมาณ 6-7 กิโลกรัม อยู่ในตระกูลแอมฟิพิเธซิเด (Amphipithecidae) และจากการนำชิ้นส่วนมาสแกน ด้วยเครื่องมือไมโคร CT scon และใช้โปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ 3 มิติ ช่วยในการศึกษา ทำให้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ยืนยันได้ว่าลิงสยามเป็นบรรพบุรุษของไพรเมตชั้นสูง เป็นต้นสายพันธุ์ของลิงมีหาง เอป และมนุษย์ มีวิวัฒนาการสูงมาก มีใบหน้าหดสั้น เบ้าตาอยู่ข้างหน้า และอยู่ชิดกัน คล้ายคลึงชะนีปัจจุบัน ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีการค้นพบชิ้นส่วนกรามลิงในประเทศจีน และพม่าเป็นสายพันธุ์เดียวกัน กับที่พบที่เหมืองถ่านหินเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ อายุมากกว่า ที่เคยค้นพบในทวีปแอฟริกาที่มีอายุเพียง 27 ล้านปี ทำให้ข้อมูลที่ศึกษามา สามารถบอกได้ว่า แหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการของไพรเมตชั้นสูง หรือ บรรพบุรุษของมนุษย์ อยู่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยผลการศึกษาได้รับการยอมรับและได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์ Anatomical Record ฉบับที่ 292 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook