เปิด 11 รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี 2535 ไม่ใช่พรรคใหญ่สุดแค่ 1 คน

เปิด 11 รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี 2535 ไม่ใช่พรรคใหญ่สุดแค่ 1 คน

เปิด 11 รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี 2535 ไม่ใช่พรรคใหญ่สุดแค่ 1 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เสาหลักประชาธิปไตยนอกจากฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ

ถ้าหากนับตั้งแต่ปี 2535 ประเทศไทยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 11 คน ซึ่งทุกคนมาจากพรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุด แม้มีส่วนต่างจากพรรคอันดับ 2 ไม่กี่คนก็ตาม ยกเว้น 1 คนเพียงเท่านั้น ที่มาจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส. อันดับ 4

รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี 2535

อาทิตย์มารุต • บุญเอื้อ • วันมูหะมัดนอร์ • พิชัย • อุทัย • โภคิน • ยงยุทธ • ชัย • สมศักดิ์ • ชวน

  1. นายอาทิตย์ อุไรรัตน์พรรคสามัคคีธรรม
    (3 เม.ย.-30 มิ.ย. 2535)

    พรรคอันดับ 1: สามัคคีธรรม

  2. นายมารุต บุนนาคพรรคประชาธิปัตย์
    (22 ก.ย. 2535-19 พ.ค. 2538)

    พรรคอันดับ 1: ประชาธิปัตย์

  3. พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณพรรคชาติไทย
    (11 ก.ค. 2538-27 ก.ย. 2539)

    พรรคอันดับ 1: ชาติไทย

  4. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทาพรรคความหวังใหม่
    (24 พ.ย. 2539-27 มิ.ย. 2543)

    พรรคอันดับ 1: ความหวังใหม่

  5. นายพิชัย รัตตกุลพรรคประชาธิปัตย์
    (30 มิ.ย.-9 พ.ย. 2543)

    หลังจากพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อรับผิดชอบจากการลอยตัวค่าเงินบาท ที่ซ้ำเติมวิกฤตการเงินเอเชียปี 2540 สภาผู้แทนราษฎรเกิดกลุ่มงูเห่าลาออกจากพรรคความหวังใหม่ ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดในขณะนั้น โดยไม่มีการเลือกตั้งใหม่ และเมื่อปี 2543 นายวันมูหะมัดนอร์ลาออกจากตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงมีการเลือกนายพิชัย รัตตกุล ที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

  6. นายอุทัย พิมพ์ใจชนพรรคไทยรักไทย
    (6 ก.พ. 2544-5 ม.ค. 2548)

    พรรคอันดับ 1: ไทยรักไทย

  7. นายโภคิน พลกุลพรรคไทยรักไทย
    (8 มี.ค. 2548-24 ก.พ. 2549)

    พรรคอันดับ 1: ไทยรักไทย

  8. นายยงยุทธ ติยะไพรัชพรรคพลังประชาชน
    (24 ม.ค.-30 เม.ย. 2551)

    พรรคอันดับ 1: พลังประชาชน

  9. นายชัย ชิดชอบพรรคพลังประชาชน → พรรคภูมิใจไทย
    (15 พ.ค. 2551-10 พ.ค. 2554)

    พรรคอันดับ 1: พลังประชาชน

    นายยงยุทธ์ ติยะไพรัช ลาออกจากตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงมีการเลือกนายชัย ชิดชอบ ขึ้นมาทำหน้าที่แทน แต่ต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ทำให้นายชัยย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

  10. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์พรรคเพื่อไทย
    (2 ส.ค. 2554-9 ธ.ค. 2556)

    พรรคอันดับ 1: เพื่อไทย

  11. นายชวน หลีกภัยพรรคประชาธิปัตย์
    (28 พ.ค. 2562-20 มี.ค. 2566)

    พรรคอันดับ 1: เพื่อไทย

    แม้พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. เป็นอันดับ 1 แต่พรรคพลังประชารัฐอ้างว่าได้คะแนนดิบ (Popular vote) มากที่สุดและตั้งรัฐบาลแข่ง ขณะเดียวกันเป็นที่ทราบกันดีว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารมีแนวโน้มสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐและ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้หลายพรรคการเมืองตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ จนมีเสียงข้างมากในสภาผูุ้แทนราษฎร

    ส่วนสาเหตุที่ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์รายนี้ได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร หลายฝ่ายมองว่าเป็นข้อแลกเปลี่ยนในการสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook