จับตา "ชวน" นัดประชุมสภา 28 ก.พ.นี้ ถก พ.ร.ก.แก้ไปกฎหมายอุ้มหาย

จับตา "ชวน" นัดประชุมสภา 28 ก.พ.นี้ ถก พ.ร.ก.แก้ไปกฎหมายอุ้มหาย

จับตา "ชวน" นัดประชุมสภา 28 ก.พ.นี้ ถก พ.ร.ก.แก้ไปกฎหมายอุ้มหาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ชวน” นัดประชุมสภา 28 ก.พ.นี้ ก่อนปิดสมัยประชุม พิจารณา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 30 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เมื่อวานนี้ (23 ก.พ.) ซึ่งมี นายชวน หลีกภัย ประธานผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า สำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งหนังสือมายังรัฐสภา เมื่อเวลาประมาณ 16:15 น. และเพิ่งมาถึงประธานสภาฯ เรื่องพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566

ใจความว่า “ด้วยได้มีการประกาศ พ.ร.ก.ดังกล่าว เป็นกฎหมายแล้ว จึงได้ขอเสนอ พ.ร.ก.ดังกล่าว มาเพื่อขอได้โปรดนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป พร้อมท้ายหนังสือลงนาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี”

โดยนายชวน แจ้งต่อที่ประชุมว่า จากเดิมที่จะมีการอ่านพระราชโองการปิดสมัยประชุมสภาฯ จึงเป็นอันต้องเลื่อนไปก่อน เพราะรัฐบาลได้เสนอ พ.ร.ก. มาให้สภาฯ พิจารณา ขณะที่ยังไม่หมดสมัยประชุม กล่าวคือเหลืออีก 5 วัน ก่อนหมดสมัยประชุมในวันที่ 28 ก.พ. นี้ โดยคาดว่าจะเป็นวันที่ 27-28 ก.พ. 2566 ที่จะสามารถนัดประชุมได้

จากนั้น นายชวน จึงได้รับปากกับสมาชิกว่า จะมีการหารือกันเมื่อกำหนดวันที่ทุกฝ่ายพร้อม สำหรับเปิดประชุมเพิ่มเติม เพื่อพิจารณา พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องเปิดสมัยประชุมวิสามัญ

บรรยากาศการประชุมสภาฯ เป็นไปอย่างราบรื่น สมาชิกพยายามช่วยกันรักษาองค์ประชุมให้ครบ เพื่อรอการอ่านพระราชโองการปิดสมัยประชุมและแยกย้ายกลับจากรัฐสภาเป็นครั้งสุดท้ายในสมัยนี้ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อรัฐบาลเสนอ พ.ร.ก. มาให้พิจารณาด่วน เป็นเหตุให้สภาฯ ต้องเพิ่มวันประชุมพิจารณา พ.ร.ก. ดังกล่าวให้เสร็จทันภายใน 5 วันที่เหลือ

ทั้งนี้ การประกาศใช้ พ.ร.ก. ดังกล่าวของรัฐบาล ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากภาคประชาชน รวมถึงพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ประกาศว่า หากรัฐบาลไม่ส่ง พ.ร.ก. มายังสภาภายในสัปดาห์นี้ จะรวมรายชื่อเพื่อยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า พ.ร.ก. ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook