"ประยุทธ์" จะรอดหรือร่วงจากกฎนายกฯ 8 ปีที่เขียนเอง "ยุทธพร" ชี้ช่องโห่วพลิกร้ายเป็นดี

"ประยุทธ์" จะรอดหรือร่วงจากกฎนายกฯ 8 ปีที่เขียนเอง "ยุทธพร" ชี้ช่องโห่วพลิกร้ายเป็นดี

"ประยุทธ์" จะรอดหรือร่วงจากกฎนายกฯ 8 ปีที่เขียนเอง "ยุทธพร" ชี้ช่องโห่วพลิกร้ายเป็นดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ยุทธพร" ย้อนคดีศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน "ประยุทธ์"  รอดมาทุกสังเวียน ชี้ช่องโห่วพลิกร้ายเป็นดี จับตาฟันรอดหรือร่วงจากกฎนายกฯ 8 ปีที่เขียนเอง

ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 กำลังจะมีอายุ 25 ปีเต็ม ในอีก 2 เดือนข้างหน้า โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย

ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ และมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการเมืองอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะในอดีตที่ผ่านมา เคยมีทั้งการประกาศว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย,สั่งยุบพรรคการเมือง และตัดสินให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไปแล้วถึง 3 คน จนบางครั้งศาลรับธรรมนูญก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่าตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ คอยจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และจากกรณีมีมติ รับวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมกับสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

เหมือนกำลังเป็นลางบอกเหตุว่า “บิ๊กตู่” อาจเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งไปเพราะคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เหมือนกับอดีตนายกฯ สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

โดย 3 อดีตนายกฯ พ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญ

– 9 ก.ย.2551 สมัคร สุนทรเวช พ้นนายกฯ เพราะทำรายการอาหาร เผยแพร่ทางโทรทัศน์ มีความผิดรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 267

– 2 ธ.ค.2551 สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นนายกฯ เพราะศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน

– 7 พ.ค.2557 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นตำนายกฯ เพราะโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 268 ประกอบ 266 (2) และ (3)

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 คนที่พ้นตำแหน่งนายกฯเพราะศาลรัฐธรรมนูญนั้น มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน มาจากพรรคการเมืองที่มีรากเหง้าเดียวกันคือไทยรักไทยในอดีต เมื่อถูกยุบจึงกลายเป็นพลังประชาชน และเมื่อถูกยุบพรรคอีกครั้งก็เป็นเพื่อไทย มาจนถึงปัจจุบัน ประหนึ่งถูกเล่นงานอยู่ฝ่ายเดียวมาโดยตลอด

แต่ครั้งนี้เป็นอีกฝ่ายโดยบ้าง โดยที่โดนพิษของรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นมาเอง จึงน่าสนใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะแค่โดนเตือนเพียงหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว เพื่อรอคำตัดสิน และเมื่อมีคำวินิจฉัยที่แท้จริงออกมา จะได้กลับมาเป็นผู้บริหารประเทศอีกครั้ง หรือว่าจะหมดโอกาสกลับเข้าไปนั่งทำงานบนตึกไทยคู่ฟ้าอีกแล้ว ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานน่าจะมีความชัดเจน

แต่หากย้อนกลับไปดูข้อกฏหมาย และช่องโหว่ของกฏหมาย เกี่ยวกับการนับวาระดำรงตำแหน่งก่อนหน้านี้ ก็ต้องยอมรับว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีโอกาส ที่จะพลิกจากร้ายกลายเป็นดีได้ โดย รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อดีตคณะบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความเห็นว่า ยังสามารถวินิจฉัยได้ทั้ง 3 แนวทาง เริ่มนับ 8 ปี จากปี 2557 หรือ ปี 2560 หรือปี 2562 ก็ได้ทั้งหมด

จะเริ่มนับปีไหนก็มี บทบัญญัติของกฏหมายรองรับไว้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน ที่เสียงแตกในการสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ด้วยมติ 5 ต่อ 4 เท่านั้น ว่าจะเลือกแนวทางไหน เพื่อเป็นคำตัดสินที่สิ้นสุด และผูกพันธ์กับทุกองค์กร พร้อมกับกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับการนับของคนต่อๆไปด้วยนั่นเอง

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ รอดพ้นจากการโดนศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานมาแล้ว ถึง 2 ครั้ง คือวันที่ 18 ก.ย. 2562 วินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” และอีกครั้ง วันที่ 2 ธ.ค.2563 วินิจฉัยว่า “บิ๊กตู่” ที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ทั้งที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

 ดังนั้น “ลุงตู่” จะรอด หรือจะร่วง ตาม 3 อดีตนายกฯ เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ก็คงได้รู้กันในเร็วๆนี้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook