กำนันดังโวย พบรถบรรทุกวัวจากเมียนมาเข้าไทย เกิดโรคระบาดป่วยแล้ว 27 ตัว

กำนันดังโวย พบรถบรรทุกวัวจากเมียนมาเข้าไทย เกิดโรคระบาดป่วยแล้ว 27 ตัว

กำนันดังโวย พบรถบรรทุกวัวจากเมียนมาเข้าไทย เกิดโรคระบาดป่วยแล้ว 27 ตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กำนันดังโวย พบรถบรรทุกวัวจากเมียนมาเข้าไทย ทำให้เกิดโรคปากเท้าเปื่อยระบาด วัวเกษตรกรไทยป่วย 27 ตัวแล้ว

(16 ก.ค.65) นายอุดม หมั่นศึกษา กำนันตำบลแม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ร้องเรียนต่อผู้สื่อข่าวว่า ในพื้นที่ตำบลแม่เงา โดยเฉพาะช่องทางบ้านห้วยต้นนุ่น ต.แม่เงา อ.ขุนยวม ได้มีการนำเข้าสัตว์ ได้แก่โค และ กระบือ จากเมียนมา ผ่านเข้ามาที่ช่องทางดังกล่าว และส่งผลให้เกิดโรคปากเท้าเปื่อย ระบาดในหมู่บ้านต่างๆ ของตำบลแม่เงา และ ตำบลแม่กิ๊ โดยมีโคและกระบือของราษฎรไทยป่วยแล้ว จำนวน 27 ตัว ซึ่งทางราษฎรในพื้นที่ไม่เห็นด้วยในการนำเข้าสัตว์เพราะจะส่งผลให้เกิดโรคระบาดในไทย และมีการประชุมทำประชาคมไปแล้ว แต่ก็ยังมีการนำเข้าโคจากเมียนมาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอขุนยวม ได้ลงพื้นที่ ปรากฎว่า พบสัตว์เลี้ยง ป่วยเป็นโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ให้คำแนะนำในการรักษา และมอบเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค ให้กับเกษตรกร เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ป่วย และแนะนำให้แยกสัตว์ที่ป่วยออกจากฝูง และเฝ้าสังเกตอาการ

นายอุดม หมั่นศึกษา กำนันตำบลแม่เงา  กล่าวต่อไปว่า ขอเรียนถามเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอขุนยวมว่าที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 มีการประชุมร่วมกันเรื่องโรคระบาดปากเท้าเปื่อยใน โค กระบือ ในพื้นที่ตำบลแม่เงา และตำบลแม่กี๊ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นเขตพื้นที่โรคระบาดอยู่ ซึ่งอาศัยอำนาจของท่านนายอำเภอเป็นผู้ประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ แต่กลับมีรถบรรทุกเข้ามาขนโค จากเมียนมา ผ่านช่องทางจุดผ่อนปรนห้วยต้นนุ่น โดยพบว่า ผู้นำรถบรรทุกมาขนวัว ได้แสดงใบขออนุญาตขนเคลื่อนย้ายสัตว์

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในใบขออนุญาตดังกล่าว กลับระบุว่า ได้บรรทุกวัว ต้นทางมาจาก บ้านปางหมู ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และ ปลายทางอยู่ที่ จังหวัดลำพูน แต่ทำไมถึงปล่อยโคออกจากด่านกักสัตว์บ้านหลวงหมู่ที่ 8 ตำบลแม่เงา อ.ขุนยวม ซึ่งไม่ตรงกับเอกสารใบขนย้ายสัตว์ที่นำมาแสดง เอกสารดังกล่าวลงนามโดย นายสัตวแพทย์ชำนาญงาน ปฏิบัติราชการแทนนายด่านกักสัตว์แม่ฮ่องสอน และพบว่า ได้มีการนำเข้าสัตว์มาแล้วจำนวน ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ครั้งละ ประมาณ 70 ตัว (เฉพาะโค ไม่มีกระบือ) โดยการขนโค มีการใช้รถบรรทุกเพียง 1 คัน ส่วนที่เหลือใช้รถปิกอัพร่วมขน อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook