ฝ่ายค้านไล่บี้อภิสิทธิ์แก้ก๊าซรั่วมาบตาพุด

ฝ่ายค้านไล่บี้อภิสิทธิ์แก้ก๊าซรั่วมาบตาพุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฝ่ายค้านจี้มาร์คลงพื้นที่มาบตาพุดหาสาเหตุก๊าซรั่วซ้ำซาก แขวะอย่าลอยตัวเพราะเกรงใจกลุ่มทุน จึงดันคณะกรรมการ 4 ฝ่ายขึ้นมาเป็นแพะ ทางด้านนายกฯ งงได้รับรายงานถึงสาเหตุไม่ตรงกัน และเหตุเกิดบ่อยยิ่งตอกย้ำความกังวลและความไม่มั่นใจของชาวบ้าน ขณะที่ ส.ส.ระยองจวกการนิคมฯ ควรปรับปรุงการทำงาน 2 เรื่อง ส่วนนายกสมาคมต้านสภาวะโลกร้อนย้ำเหตุก๊าซรั่วมีโอกาสเกิดอีก ถ้ามาตรการรักษาความปลอดภัยยังแย่ เตือนทุกโรงงานต้องมีเครื่องวัดมลพิษ

ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 ธ.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเกิดเหตุก๊าซรั่วในนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ว่าตนได้รับรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว และสั่งให้รายงานอย่างละเอียดมาให้ตนทราบอีกครั้ง ความจริงก็แปลกใจกับเรื่องนี้เพราะมีการรายงานสาเหตุไม่ค่อยตรงกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แสดงว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมีปัญหาหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเกิดเหตุเช่นนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำความกังวลและความไม่มั่นใจของประชาชน เพราะทางที่ดีที่สุดคือมาตร การป้องกันและมาตรฐานที่เข้มงวด รวมทั้งมีการตรวจสอบชัดเจน เมื่อเกิดเหตุจะต้องแก้ไขหรือระงับได้อย่างรวดเร็ว อย่างกรณีที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาค่อนข้างนาน ตนจึงให้รายงานมาด้วยว่าเพราะ เหตุใดจึงใช้เวลานานมาก

เมื่อถามว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะกระทบกับ 65 โครงการที่เหลือหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เวลามีข่าวอย่างนี้ยิ่งสร้างปัญหาขึ้นทั้งในแง่ความรู้สึกและการยอมรับ ดังนั้นต้องทำให้ทุกคนมั่นใจว่าทุกโครงการต้องมีมาตรการดูแลที่ดี

ทางด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส. ระยอง ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเหตุการณ์ก๊าซรั่วที่มาบตาพุดว่า คงไม่มีผลกระทบอะไรรุนแรง เพราะผู้ได้รับผลกระทบได้เข้ารับการรักษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหานี้พบว่าควรมีการปรับปรุง 2 เรื่อง คือ 1.การเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุ ของการนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ทันท่วง ที โดยตามเงื่อนไขควรจะต้องย้ายเรือที่มีก๊าซรั่วออกจากบริเวณเกิดเหตุภายใน 10 นาที แต่กรณีนี้กว่าจะนำเรือออกจากที่เกิดเหตุใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง ถือเป็นความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม และ 2. การนิคมอุตสาหกรรมไม่สามารถชี้ชัดว่าก๊าซรั่วมาจากโรงงานไหน อย่างไร ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ไม่สามารถชี้ชัดได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องปรับปรุง

ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณี สารเคมีรั่วภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ว่าตนขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้เร่งลงพื้นตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาเรื่องสุขภาพ ส่วนกรณีศาลปกครองสูงสุดได้สั่งระงับ 65 โครงการในมาบตาพุดนั้น หากรัฐบาลตั้งใจจะแก้ไขก็สามารถทำได้ภายในเวลา 5-7 วัน ไม่ใช่ลากยาวไปถึง 6 เดือน แต่ที่รัฐบาล มีท่าทีลอยตัวไม่เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ก็เพราะเกรงใจกลุ่มทุนที่สนับสนุนพรรค และไม่ต้องการที่จะให้ส่งผลกระทบต่อฐาน เสียงในพื้นที่จึงหาแพะ คือ คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ขึ้นมารับหน้าแทนหากเกิดปัญหา ใด ๆ ขึ้นมา

นายกรัฐมนตรีเคยทราบหรือไม่ว่า กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เคยทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรอิสระเพื่อศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการลงทุน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งมีผลกระทบกับชุมชนโดยตรงเป็นที่เรียบร้อยแล้วและเสนอนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปแล้ว จึงถามไปยังนายสุวิทย์ว่าเหตุใดจึงไม่ดำเนินการหรือรายงานให้นายกฯทราบ นายปลอดประสพ กล่าว

ส่วนนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ในฐานะคณะ กรรมการคู่ขนานในการติดตามตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯได้ประชุมนัดพิเศษ เพื่อเร่งรัดการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว

โดยเฉพาะเครื่องมือทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพหรือ เอชไอเอ ตามแนวทางคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แต่ประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่คือ โครงการหรือกิจกรรมใดควรเป็นโครงการประเภทรุนแรง ต้องทำรายงานเอช ไอเอและต้องดำเนินการให้ครบตามรัฐธรรม นูญมาตรา 67 วรรคสอง โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวเคยมีข้อยุติแล้วเมื่อครั้งการประชุมสัญจรที่มาบตาพุดว่าจะนำ 19 โครงการ ที่เคยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนมาเป็นหลักในการประกาศบังคับใช้ได้ต่อไป เพื่อภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการจะได้ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและคำสั่งศาลปกครองสูงสุดได้

แต่เรื่องดังกล่าวกลับถูกรื้อฟื้นนำกลับมาทบทวนใหม่โดยฝ่ายข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองสั่งมาให้ล้มมติการยอมรับ 19 โครงการ ที่เคยได้ข้อยุติแล้วเสีย เพราะหนึ่งในนั้นมีโครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำอยู่ด้วย โดยเฉพาะลุ่มน้ำนานาชาติคือแม่น้ำโขง ที่มีนักการเมืองใหญ่พยายามผลักดันโครงการอย่างลุกลี้ลุกลน จนในที่สุดในที่ประชุม คณะกรรมการ 4 ฝ่ายไม่สามารถหาข้อยุติได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงขอเตือนให้ข้าราชการและนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง พึงสังวรต่อคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดให้ดี อย่าพยายามเล่นเล่ห์เพทุบาย โดยหวังใช้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเป็นข้ออ้างในการสนองวามต้องการของตนเอง แล้วไปร้องขอต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อปลดล็อกโครงการต่าง ๆ ทั้ง 65 โครงการได้โดยง่าย เพราะในคำสั่งศาลปกครองยืนยันถึงสิทธิของประชาชนที่ดำเนินการมาอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแล้ว

สำหรับกรณีมีก๊าซรั่วในมาบตาพุดอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 52 นั้น เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำแล้วซ้ำอีก หากมาตรการรักษาความปลอดภัยยังเป็นเช่นนี้ ถือว่ามาตรการความปลอดภัยล้มเหลวอย่างหนัก ทั้งที่พื้นที่อุตสาหกรรมหนัก และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่มีมลพิษจะต้องมีมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มข้นและเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา แต่ ที่มาบตาพุดนั้นทางการนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) กลับให้ความสำคัญ ไม่ต่างจากนิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีก 30 แห่งทั่วประเทศ คือ ให้ความสำคัญน้อย

สังเกตว่าเมื่อเกิดเรื่องแต่ละครั้ง การแสวงหาต้นเหตุช้ามาก หรือบางครั้งก็หาไม่ได้ ผมเห็นว่าเครื่องมือวัดมลพิษนั้น ทุกโรงงานจะต้องมี ไม่ใช่วางไว้ตรงส่วนกลาง หรือมีเฉพาะจุด อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ต้องมีระบบเตือนภัย ต้องเร็วและชัดเจน ต้องมีแผนอพยพ มีพื้นที่ความปลอดภัยสำหรับหลบภัยเมื่อเกิดเหตุ และต้องทำแผนฝึกซ้อมให้ดี เหมือนการซ้อมรับภัยสึนามิ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย มีแต่การซ้อมสำหรับคนที่ทำงานใน โรงงานปีละครั้ง และการซ้อมแต่ละครั้งชาวบ้านแทบจะไม่รู้อะไรเลย เรื่องนี้ต้องรื้อระบบใหม่ให้หมด พูดหลายครั้งแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เหตุก็เกิดซ้ำซากเรื่อยมา นายศรีสุวรรณ กล่าว

ส่วนที่ สภ.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง เมื่อเวลา 15.30 น. วันเดียวกัน พล.ต.ต. สุวิระ ทรงเมตตา รอง ผบช.ภ.2 พ.ต.อ. อิทธิเดช เจริญสหายานนท์ รอง ผบก.ภ. จว.ระยอง เดินทางมาตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกิดเหตุก๊าซพิษรั่วไหลในนิคมอุตสาห กรรมมาบตาพุด พล.ต.ต.สุวิระ กล่าวว่า การเดินทางมาในครั้งนี้เพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน และทำการสอบสวนตามขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษากฎหมาย และเพื่อเป็น การส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมให้ทราบว่า ต้องมีความระมัดระวังในการกระทำใด ๆ ก็ตามที่อาจทำ ให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ ถือเป็นคดีอาชญา กรรม นอกจากนี้ยังได้จัดชุดสืบสวนลงใน พื้นที่มาบตาพุด เพื่อหาต้นตอของก๊าซรั่ว และหาตัวคนผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook