ผู้เลี้ยงหมูตัดพ้อ ต้องยอมขายขาดทุน ขอผู้บริโภคเห็นใจ

ผู้เลี้ยงหมูตัดพ้อ ต้องยอมขายขาดทุน ขอผู้บริโภคเห็นใจ

ผู้เลี้ยงหมูตัดพ้อ ต้องยอมขายขาดทุน ขอผู้บริโภคเห็นใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เกษตรกรของผู้บริโภคเห็นใจ ราคาแพง พ้อขายหมูขาดทุน เพื่อคงอาชีพเดียวไว้ ฮึดสู้ต่อแม้ต้นทุนเพิ่ม-หมูเสียหายพุ่ง

นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์สุกรในขณะนี้ว่า แม้ราคาแนะนำการขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ล่าสุดจะอยู่ที่ 82-84 บาทต่อกิโลกรัม ก็ตาม แต่ราคานี้เป็นเพียงการประกาศ เพื่อสะท้อนต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่แท้จริงของเกษตรกร โดยราคาขายจริงที่เกษตรกรได้รับแค่เพียง 75-80 บาทแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แปรผันตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดในแต่ละพื้นที่ สวนทางกับต้นทุนการเลี้ยงสุกรขุนเฉลี่ยไตรมาส 3/2564 ที่สูงถึงกิโลกรัมละ 80.03 บาท ตามการประเมินของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เท่ากับเกษตรกรยังคงขายสุกรขาดทุน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังคงมีปัญหาเรื่องโรค PRRS ที่ระบาดในสุกร ทำให้อัตราเสียหายสูง ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มและส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะลดความเสี่ยงด้วยการตัดใจขายสุกรก่อนกำหนด ส่งผลให้ประสบภาวะขาดทุนมากยิ่งขึ้น

ที่สำคัญปัจจุบันเกษตรกรมีต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้งจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ราคาสูงขึ้นแทบทุกชนิด การเสริมมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวด ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากขึ้นถึง 300-500 บาทต่อตัวตอนนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่อยากเสี่ยงต่อภาวะโรคสุกร ภาวะต้นทุนสูง การขาดทุนสะสมตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และภาวะกำลังซื้อหดตัวจากปัญหาโควิด เกษตรกรหลายคนจำต้องเลิกอาชีพบางคนตัดสินใจเข้าเลี้ยงน้อยลง ปริมาณสุกรในอุตสาหกรรมจึงลดลงมากกว่า 30%

“ขณะนี้ความต้องการบริโภคเนื้อหมูสูงขึ้นจากปัจจัยบวก ทั้งการเปิดประเทศและการเปิดภาคเรียนของสถาบันการศึกษา แต่ผลผลิตหมูกลับเสียหายจากภาวะโรคและการลดปริมาณการเลี้ยงหมูเพื่อป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรทั่วประเทศ ทำให้กลไกตลาดที่แท้จริงเริ่มทำงาน แต่ราคาหมูตอนนี้ยังไม่คุ้มทุนการเลี้ยงด้วยซ้ำ ซึ่งเกษตรกรยังคงประคับประคองอาชีพดี๋ยวนี้เอาไว้เพราะทุกคนไม่อยากให้ผู้บริโภคต้องเดือดร้อนเหมือนอย่างที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ จากปัญหาปริมาณหมูไม่พอกับการบริโภคอย่างหนัก เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ราคาสูงถึง 130 บาท/กิโลกรัมจีนราคา 94 บาท/กิโลกรัม ส่วนกัมพูชาราคาอยู่ที่ 85 บาท/กิโลกรัม การปล่อยกลไกตลาดได้ทำงานอย่างเสรี เป็นทางออกให้ราคาหมูกลับสู่สมดุลได้เอง ที่สำคัญผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในการบริโภคแต่คนเลี้ยงหมูไม่ได้มีทางเลือกอาชีพมากมายเช่นนั้น” นายปรีชา กล่าว

นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงต่างเห็นความสำเร็จของฟาร์มขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค ทำให้อัตราเสียหายจากโรคระบาดน้อยเพราะมีระบบจัดการที่ดี ส่วนเกษตรกรรายย่อยจะต้องปรับตัวสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ปรับปรุงระบบการจัดการฟาร์มให้ดี หากจะลงเลี้ยงแม่พันธุ์หรือลูกสุกร ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาและต้องปลอดโรคซึ่งจะช่วยให้สามารถกลับมาเลี้ยงสุกรได้มากขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะโรคได้อย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook