ภาคีเครือข่ายผู้ปกครองฯ ฟ้อง รมว.ศธ. และ ผอ. บดินทรเดชา 3 เรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาโดยมิชอบ

ภาคีเครือข่ายผู้ปกครองฯ ฟ้อง รมว.ศธ. และ ผอ. บดินทรเดชา 3 เรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาโดยมิชอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ภาคีเครือข่ายผู้ปกครองฯ ฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา เรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาโดยมิชอบ ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยด่วน นายคมเทพ ประภายนต์ ภาคีเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อความเป็นธรรมทางการศึกษา พร้อมสมาชิกภาคีเครือข่ายเกือบ 10 คน เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้สั่งห้ามโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งเรียกร้องให้สั่งโรงเรียนคืนเงินค่าบำรุงการศึกษาที่เรียกเก็บในปีการศึกษา 2551 และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ให้กับผู้ปกครอง โดยนายคมเทพ กล่าวว่า เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฏหมาย เนื่องจากประกาศดังกล่าวไม่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งตนเองได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวแล้ว ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฯ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โรงเรียนหลายแห่งกำลังมีหนังสือแจ้งผู้ปกครองให้ชำระเงินบำรุงการศึกษา โดยล่าสุดตนเองได้รับหนังสือแจ้งจากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา เชิญประชุมผู้ปกครองในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2552 และ 29 พฤศจิกายน 2552 เพื่อระดมทรัพยากร โดยเรียกเก็บเงินนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 4 จำนวน 1,700 บาท และมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 900 บาท ซึ่งขณะนี้ตนเองในฐานะผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนนวมิทราชินูทิศ บดินทรเดชา ได้ยื่นฟ้องผู้อำนวยการโรงเรียนนวมิทราชินูทิศ บดินทรเดชา และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต่อศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฏหมาย พร้อมทั้งขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอความคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ด้านนายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยืนยันว่า โรงเรียนสามารถเก็บเงินบำรุงการศึกษาเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์เงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษา ที่ สพฐ. ปรับปรุงใหม่ ส่วนข้อเรียกร้องที่ห้ามไม่ให้โรงเรียนเรียกเก็บเงิน พร้อมทั้งคืนเงินที่เรียกเก็บจากผู้ปกครองนั้น สพฐ. คงต้องรอคำสั่งศาล หากศาลมีคำสั่งเป็นอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ สพฐ. ไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว หากพบว่า มีการกระทำผิดก็จะดำเนินการลงโทษ อย่างไรก็ตาม โรงเรียนที่มีปัญหาการเรียกเก็บเงินเพิ่มส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพมหานครประมาณ 100 - 200 โรง ซึ่งเห็นว่า หากจะไม่ให้โรงเรียนเรียกระดมทรัพยากรเลยก็สามารถออกคำสั่งห้ามได้ง่ายๆ แต่จะเป็นการสกัดกั้นการพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความพร้อม จึงเปิดโอกาสให้เรียกระดมทรัพยากรได้ แต่ต้องเป็นไปโดยความสมัครใจ และไม่ลิดรอนสิทธิของเด็กที่ด้อยโอกาส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook