ถกสนั่นโซเชียล #ไฟเซอร์นักเรียน เฟกนิวส์ทำเด็กไม่กล้าฉีด - ม.6 ต้องรอฉีดรอบหน้า

ถกสนั่นโซเชียล #ไฟเซอร์นักเรียน เฟกนิวส์ทำเด็กไม่กล้าฉีด - ม.6 ต้องรอฉีดรอบหน้า

ถกสนั่นโซเชียล #ไฟเซอร์นักเรียน เฟกนิวส์ทำเด็กไม่กล้าฉีด - ม.6 ต้องรอฉีดรอบหน้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นประเด็นร้อนที่ถูกถกเถียงกันในโลกออนไลน์ สำหรับแฮชแท็ก #ไฟเซอร์นักเรียน ภายหลังกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดฉีดไฟเซอร์ ให้กับนักเรียนทั่วประเทศ ที่มีอายุ 12-18 ปี เพื่อรองรับการเปิดเทอม โดยเริ่มฉีดวันแรกเมื่อ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้เป็นความสมัครใจของผู้ปกครอง ว่าจะอนุญาตให้บุตรหลานฉีดวัคซีนหรือไม่ 

ซึ่งในโลกออนไลน์ก็ได้มีกระแสว่า เด็กนักเรียนบางคนไม่ขอฉีดวัคซีนไฟเซอร์ หรือบางรายผู้ปกครองไม่ยินยอมให้ฉีด เนื่องจากกลัวผลข้างเคียงทีจะเกิดขึ้น หลังการเผยแพร่เฟกนิวส์โดยเฉพาะเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แม้วัคซีนไฟเซอร์นั้นจะเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก และ อย. รองรับ ว่ามีประสิทธิภาพและสามารถฉีดให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ก็ตาม 

ประเด็นดังกล่าว ทำให้ชาวโซเชียลออกมาถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ โดยระบุว่า อยากให้เด็กนักเรียนใช้สิทธิ์ที่มี เพราะยังมีคนอีกจำนวนมากที่อยากฉีดแต่ไม่มีสิทธิ์ และหลายคนยินดีที่จะให้เด็กฉีดไฟเซอร์ก่อน เพราะอยากให้ได้กลับไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งวัคซีนไฟเซอร์นับว่าเป็นวัคซีนที่ทั่วโลกต่างยอมรับ และมีเอกสารงานวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพ 

ทางด้าน ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งในขณะนี้ (วันที่ 22 กันยายน 2564) มีวัคซีนชนิดเดียวที่มีในประเทศไทย คือชนิด mRNA ของ Pfizer-BioANTech และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2554 วัคซีนชนิด mRNA ของ Moderna ได้รับการรับรองเพิ่มเติม (แต่ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนนี้ในประเทศไทย)

สําหรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ของ Soripharm และ Sinovac อยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อมูลเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในเด็ก และขณะนี้ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่น แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่ได้รับการรับรองโดย อย.2 เข็มห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ในเด็กและวัยรุ่นทุกคนที่ อายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป และเด็กและวัยรุ่นทุกคนที่อายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจําตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ซึ่งเป็นคําแนะนําที่ให้ไว้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2554

ขณะที่ ดร.สุวดี พันธุ์พานิช เลขานุการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี และ รองโฆษกพรรคไทยสร้างไทย ได้ทวีตถึงประเด็นนี้ด้วยว่า

"ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนเป็นสิทธิส่วนบุคคล วัคซีนที่ได้รับการรับรองจาก WHO ให้ฉีดได้ในกลุ่มเด็ก เป็นข้อมูลที่ช่วยยืนยันว่า มีข้อดีมากกว่าข้อเสียในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ คนต้องเลือกวัคซีน ไม่ใช่วัคซีนเลือกคน เอามาให้หลากหลายมากพอเถอะค่ะรัฐบาล #ไฟเซอร์นักเรียน"

ขณะเดียวกัน ก็มีประเด็นเรื่องการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กนักเรียนชั้น ม.6 เนื่องจากวัคซีนที่ได้รับจัดสรรมาไม่เพียงพอ บางโรงเรียนได้ตัดโควตาให้ ม.6 ฉีดในรอบต่อไป แต่เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องเดินทางไปสอบในสนามสอบต่างๆ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ทำให้เป็นอีกกลุ่มที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อและแพร่เชื้อ ซึ่งในโลกออนไลน์ได้มีการเผยแพร่เอกสารจากโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.สกลนคร ที่มีโควตาฉีดไฟเซอร์เฉพาะนักเรียนชั้น ม.1-ม.5 เท่านั้น ซึ่งในตอนนี้แฮชแท็ก #สกลนครไม่เห็นหัวเด็กม6 ก็กำลังเป็นที่ถกเถียงเช่นกัน

ในขณะเดียวกัน เด็กนักเรียน ม.6 บางรายที่อายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์ ก็ถูกตัดสิทธิ์ไม่ได้ฉีดแม้จะยังศึกษาอยู่ ทั้งที่อายุมากกว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกันไม่กี่เดือนก็ตาม ชาวโซเชียลจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นถึงปัญหานี้ และมีการอนุโลมให้เด็กๆ ได้ฉีดด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook