จ้องรีดภาษีธุรกิจค้าเสื้อผ้าย่านประตูน้ำ-โบ๊เบ๊-จตุจักร

จ้องรีดภาษีธุรกิจค้าเสื้อผ้าย่านประตูน้ำ-โบ๊เบ๊-จตุจักร

จ้องรีดภาษีธุรกิจค้าเสื้อผ้าย่านประตูน้ำ-โบ๊เบ๊-จตุจักร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรรพากรโชว์ผลเข้มงวดตรวจภาษีคณะบุคคล ดันรายได้เพิ่มขึ้นพันล้านบาท ยกเลิกคณะบุคคลเกือบหมื่นคณะ พร้อมเร่งสำรวจฐานภาษีใหม่จ้องธุรกิจค้าขายซื้อผ้าแหล่งใหญ่ย่านจตุจักร โบ๊เบ๊ ประตูน้ำหวังดึงเข้าระบบภาษีให้ถูกต้อง

นายประสงค์ พูนธเนศ รองอธิบดีและโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า จากการเร่งรัดดำเนินการสร้างความชอบธรรมด้านการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะจากการจัดตั้งคณะบุคคลที่เดิมเคยมีถึง 3 หมื่นคณะ ขณะนี้เหลือ 2 หมื่นคณะ โดยเป็นการแจ้งยกเลิกเองทั้งจากกลุ่มแพทย์ ดารานักแสดงและกลุ่มผู้มีบัญชีเงินฝาก ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะบุคคลมากขึ้น จากที่ผ่านมาเข้าใจผิดเพราะมีรุ่นพี่ในวงการหรือที่ปรึกษาภาษีแนะนำให้จัดตั้งคณะบุคคลเพื่อลดรายจ่ายภาษี แต่ปัจจุบันเมื่อกรมสรรพากรเอาจริงทั้งให้ความรู้ต่อบุคคลกลุ่มนี้โดยตรงและการยกเลิกการแจ้งจดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแต่ให้มาแจ้งจดในสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรเขตแทน โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยซักถามความจำเป็นและเจตนาที่จะจัดตั้งอย่างละเอียดชัดเจน

"ขณะนี้รายชื่อคณะบุคคลลดจำนวนลงเรื่อยๆ จาก 3 หมื่นเหลือ 2 หมื่น และจะทยอยปรับลดลงเรื่อยๆ ทั้งที่มายกเลิกด้วยตัวเองและหายไปไม่ติดต่อกลับ ซึ่งจากการสำรวจพบกลุ่ม 8 คนจดจัดตั้งคณะบุคคลไขว้ไปมาถึง 444 รายก็ยกเลิกไปในคราวเดียวกันนี้ ขณะที่ดารา-นักแสดงก็เข้าใจและจดแจ้งเสียภาษีเป็นบุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากสรรพากรไม่เข้มงวดกับเรื่องนี้คาดไม่นานจะมีคณะบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสนรายได้" นายประสงค์กล่าวและว่า จากการลดจำนวนของคณะบุคคลลงมีผลให้กรมสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันล้านบาท

นายประสงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับการปิดรูรั่วของเม็ดเงินภาษีอื่นๆ กรมสรรพากรได้เร่งติดตามรายได้จากธุรกิจใต้ดินและธุรกิจค้าเงินสดมากขึ้น ซึ่งธุรกิจค้าเงินสดดังกล่าวนี้ส่วนมากคือการค้าขายเสื้อผ้าในแหล่งจตุจักร ประตูน้ำ โบ๊เบ๊ พาหุรัด โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจ ติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อดึงคนกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบการชำระภาษีอย่างเป็นทางการ

นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.อยู่ระหว่างการศึกษาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับบริษัทที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเห็นว่าควรเป็นภาษีทีเกี่ยวข้องกับสรรพากรเพื่อให้ประโยชน์กับบริษัททั่วไปแทนที่จะให้เฉพาะบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอ แต่อาจจะให้เป็นมาตรการชั่วคราว เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนกับสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยจะเสนอเป็นแนวทางให้รมว.คลังพิจารณาทั้งการยกเว้นเงินได้จากการขายคาร์บอน หรือให้หักรายจ่ายได้ 2 เท่า หรือนำมาหักภาษีได้บางส่วน เพื่อไม่ให้สิทธิประโยชน์กับเอกชนมากเกินไป โดยน่าจะนำข้อสรุปหารือในที่ประชุมบอร์ดบีโอไอวันที่ 16 พฤศิกายนนี้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook