นักศึกษาพยาบาล ม.ธรรมศาสตร์ ฉีดวัคซีนโควิด "ซิโนแวค" พบผลข้างเคียงรุนแรง 7 ราย

นักศึกษาพยาบาล ม.ธรรมศาสตร์ ฉีดวัคซีนโควิด "ซิโนแวค" พบผลข้างเคียงรุนแรง 7 ราย

นักศึกษาพยาบาล ม.ธรรมศาสตร์ ฉีดวัคซีนโควิด "ซิโนแวค" พบผลข้างเคียงรุนแรง 7 ราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจเฟซบุ๊ก “องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เผยแพร่แถลงการณ์จาก คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง อาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน COVID-19 SINOVAC โดยระบุ

จากการที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้รับวัคซีน COVID-19 SINOVAC จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 23 เม.ย.2564 และ 5 พ.ค.2564 รวม 88 คน แล้วก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ แบ่งเป็น มีอาการรุนแรง 7 คน

- อาการรุนแรงรายที่ 1 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เม.ย. หลังฉีด 14 ชั่วโมง มีอาการหายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย ใช้หมอนนอนหนุน 2 ใบ อาการจึงดีขึ้น มีอาการอ่อนเพลีย ซึมร่วมด้วย (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

- อาการรุนแรงรายที่ 2 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เม.ย. หลังฉีด 30 นาที มีอาการหายใจหอบเหนื่อย วันต่อมาเริ่มมีอาการชาตามร่างกาย (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

- อาการรุนแรงรายที่ 3 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เม.ย. หลังฉีดวันแรกมีอาการบริเวณแขนข้างที่ฉีด วันที่ 2-10 วันต่อมา มีอาการชาปลายมือและเท้าข้างซ้าย (ไปพบแพทย์เรื่องอาการชาในวันที่ 5 หลังได้รับวัคซีน แพทย์แจ้งว่าอาการปกติ ได้รับวิตามินบีรวมและ Amitriptyline

- อาการรุนแรงรายที่ 4 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เม.ย. หลังฉีด 1 วัน มีอาการง่วงซึมหนักศีรษะ ปวดตามลำตัว (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

- อาการรุนแรงรายที่ 5 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เม.ย. หลังฉีด 1 วัน มีอาการใจหอบเหนื่อย มีอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจ มีอาการติดต่อกัน 3 วัน (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

- อาการรุนแรงรายที่ 6 นักศึกษาเพศชาย รับวัคซีนวันที่ 23 เม.ย. หลังฉีด 1 วัน มีอาการหายใจลำบาก ง่วงซึม มีอาการติดต่อกัน 3 วัน (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

- อาการรุนแรงรายที่ 7 นักศึกษาเพศหญิง โรคประจำตัวภูมิแพ้ รับวัคซีนวันที่ 5 พ.ค. หลังฉีดทันทีมีอาการหนังตาตก อ่อนแรง พักสังเกตอาการบริเวณจุดปฐมพยาบาลกว่า 1 ชั่วโมง อาการดีขึ้นและเดินทางกลับ หลังฉีด 2 วันต่อมา ช่วงเช้ามีอาการชาบริเวณมือและเท้าเล็กน้อย ระหว่างวันอาการดีขึ้น และช่วงเย็นมีอาการง่วงซีม อ่อนเพลียมากขึ้น ตากระตุก มุมปากกระตุก แขนอ่อนแรงและชาบริเวณขา จึงไปพบแพทย์ แพทย์ให้ความเห็นว่า เป็นอาการข้างเคียง ได้รับวิตามินบีรวมและยานอนหลับ

หลังฉีด 3 วันต่อมา ช่วงเข้ามีอาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้า ระหว่างวันอาการดีขึ้น ช่วงเย็นมีอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาทั้งสองข้างลืมตาไม่ขึ้น จึงไปพบแพทย์ ระหว่างการเดินทาง มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น ปากกระตุก เวียนศีรษะ เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์ส่ง MR แจ้งว่าไม่พบความผิดปกติและวินิจฉัยเป็น MG และแจ้งว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับวัคซีน แพทย์นัดตรวจเลือดวันที่ 13 พ.ค. เคยได้รับยา Clonazepam และวิตามินบีรวมเมื่อพบแพทย์ครั้งแรก หลังจากนั้นแพทย์สั่งหยุดยา Clonazepam และ จ่าย Pyridostigmine

อีก 2 คน อาการไม่พึงประสงค์เล็กน้อย

- รายที่ 1 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรกจนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดแขนซ้ายเล็กน้อย เป็น ๆ หาย ๆ นอนตะแคงทับแขนซ้ายไม่ได้ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

- รายที่ 2 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรกจนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย เป็น ๆหาย ๆ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )

คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใคร่ขอให้คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิจารณาเรื่องของความปลอดภัยต่อการได้รับวัคซีนของนักศึกษาและขอความกรุณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยจัดสรรวัคซีนชนิดที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการแจกจ่ายให้กับประชาชนและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook