รางวัลโนเบล2009

รางวัลโนเบล2009

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ย่างเข้าสู่เดือน ต.ค. ของแต่ละปี เป็นอันว่าถึงเวลาได้ลุ้น การประกาศรายชื่อผู้พิชิตรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติ ในสาขาต่าง ๆ โดยปีนี้ประเดิมสาขาแรกไปแล้วตั้งแต่วันจันทร์ คือสาขาการแพทย์ ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ชนะใจกรรมการ ได้ครองรางวัลร่วมกัน 3 คน เป็นสตรีชาวออสเตร เลีย 1 คน กับชาย-หญิงชาวอเมริกัน

จากผลงานการแก้ไขปัญหาสำคัญทางชีววิทยา นั่นคือวิธีการที่โครโมโซมทำสำเนาในระหว่างการแบ่งเซลล์ และการป้องกันการเสื่อมสภาพ

กำหนดการตามที่ประกาศ รางวัลต่อมาในวันที่ 6 เป็นสาขาฟิสิกส์ ตามด้วยสาขาเคมีในวันที่ 7 และวันนี้สาขาวรรณ กรรม ส่วนพรุ่งนี้รางวัลเอก สาขาสันติภาพ และปิดท้ายด้วยสาขาเศรษฐศาสตร์ในวันที่ 12 ต.ค.

ทุกสาขาจะประกาศผลที่กรุงสตอก โฮล์ม ประเทศสวีเดน บ้านเกิดของอัลเฟรด โนเบล มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งมูลนิธิรางวัลโนเบล ยกเว้นสาขาสันติภาพสาขาเดียว ที่แยกไปประกาศที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์

และก็เช่นเคยเหมือนทุกปีที่ผ่านมา สาขาที่ได้รับความสนใจ ติดตามลุ้นในวงกว้างมากที่สุด ต้องยกให้สาขาสันติภาพ รองลงไปเห็นจะเป็นสาขาวรรณกรรม

สาขาวรรณกรรมซึ่งตามกำหนดจะประกาศผลในวันนี้ ปีที่แล้วเกิดรายการ พลิกล็อก เมื่อเต็ง 1 อย่าง คลอดิโอ มากริส นักเขียนชาวอิตาลี ต้องชวดรางวัลอย่างน่าเสียดาย และรางวัลตกเป็นของ เลอ ซิโอ นักเขียนจากแดนน้ำหอมฝรั่งเศส

ปีนี้บริษัทรับพนันถูกต้องตามกฎ หมาย แลดโบรก ขึ้นป้ายอัตราต่อรอง ยกให้นักเขียนชาวยิว อามอส ออซ เป็นเต็ง 1 ส่วนเต็งรองลงไปยังคงมีชื่อของคลอดิโอ มากริส และนักเขียนชาวอิตาลีอีกคนคือ อันโตนิโอ ตาบูกี ส่วนนักเขียนชาว อเมริกันติดโผระดับต้น ๆ มีโอกาสได้ลุ้นสูง 3 คน ประกอบด้วย ฟิลิป ร็อธ จอยซ์ แครอล เคทส์ และโธมัส พินชอน

ที่มีชื่อเข้าชิงมาหลายปี แต่ยังไม่สมหวังคือนักเขียนชาวญี่ปุ่น ฮารุกิ มูราคามิ ซึ่งชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ในแวดวงนักอ่านบ้านเรา และอีกคน กวีชาวเกาหลีใต้ โค อัน รายนี้อัตราต่อรองอยู่อันดับท้าย ๆ

ขณะที่ม้ามืดตามสายตาของแลด โบรกในปีนี้ มี 2 ราย คือ คาร์ลอส ฟูเอสเตส นักเขียนชาวเม็กซิโก กับคอร์แม็ค แม็คคาร์ธี นักเขียนนวนิยายและบทละครชาวอเมริกัน

ปีที่แล้ว เลขาฯ คณะกรรมการตัดสินสาขาวรรณกรรม ออกปากวิจารณ์วรรณกรรมอเมริกันว่า คับแคบ ปรากฏว่าถูกกระแสตอบโต้อ่วมอรทัย ไม่แน่ปีนี้อาจมีรายการ ขออโหสิ หวยออกที่นักเขียนอเมริกันก็เป็นได้

ส่วนรางวัลเอก สาขาสันติภาพ ปีนี้มีผู้ส่งรายชื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกรวม 205 รายชื่อ ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มองค์กร ถึง 33 องค์กร มากที่สุดเท่าที่เคยส่งเข้าประกวด โดยปีที่แล้วมีส่งรายชื่อทั้งหมด 197 รายชื่อ ปรากฏว่าพิชิตรางวัล เป็นบุคคล ประธานาธิบดีมาร์ตี อาห์ติซารี ของฟินแลนด์ จากผลงานระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศหลายรายการ

เต็ง 1 ปีนี้ ประเภทบุคคล บรรดานักสังเกตการณ์ยกให้ นางอิงกริด เบตองกู วุฒิสมาชิกชาวโคลอมเบียเชื้อสายฝรั่งเศส ที่ถูกกลุ่มกบฏฟาร์ซลักพาตัว ขณะเดิน สายหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของโคลอมเบียเมื่อเดือน ก.พ. 2545 ก่อนที่ทหารกองทัพโคลอมเบียจะบุกช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ปีที่แล้ว รวมเวลาที่อยู่ในเงื้อมมือกบฏในป่าลึก 2,321 วัน

ส่วนเต็งรองลงมามีหลายรายชื่อ หนึ่งในจำนวนนี้รวมถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ และประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส

ส่วนกลุ่มองค์กร เต็ง 1 คือกลุ่ม คลัสเตอร์ มิวนิชัน โคอะลิชชัน จากผลงานเป็นตัวกลางให้ประเทศต่าง ๆ เกือบ 100 ประเทศ ร่วมลงนามในสนธิสัญญาห้ามระเบิดดาวกระจาย ที่กรุงออสโลเมื่อปีที่แล้ว.

เลนซ์ซูม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook