Probiotic ตัวซ่อมสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่

Probiotic ตัวซ่อมสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่

Probiotic ตัวซ่อมสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำงานหนัก เที่ยวแน่น กินนัว ลืมนอน ดื่มแอลไม่น้อย ดูจะเป็นไลฟ์สไตล์ของรุ่นใหม่จำนวนมาก ซึ่งการใช้ร่างกายอย่างสมบุกสมบันจัดเต็มนี้ หากไม่ได้ดูแลสุขภาพควบคู่ไปด้วย จะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ โดยเฉพาะส่วนหนึ่งของร่างกายที่เรามองไม่เห็นและหลายคนอาจไม่เคยรู้จักเลย ว่ามีความสำคัญแค่ไหน นั่นคือสมดุลประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพเปรียบดั่งอวัยวะที่ถูกลืม

ประชากรจุลินทรีย์ในร่างกายเรา มีจำนวนเซลล์มากกว่าเซลล์มนุษย์ถึง 10 เท่า เฉพาะแค่ในลำไส้ใหญ่ พวกเราแต่ละคนก็มีเพื่อนตัวน้อยเหล่านี้อาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 1014 ตัว!  จุลินทรีย์เหล่านี้อาศัยอยู่ในร่างกายเราแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน มีประโยชน์ต่อกัน อาหารที่เรากินเข้าไปช่วยเลี้ยงดูให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ แล้วเจ้าจุลินทรีย์ก็ตอบแทนโดยทำงานให้เรา งานหลักๆที่จุลินทรีย์ในลำไส้ช่วยเราคือ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้แข็งแรง ไม่เครื่องรวนทำงานมากไปหรือน้อยเกิน มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหาร ดูดซึมอาหารและขับถ่าย รวมไปถึงการสร้างของสารสื่อประสาทต่างๆที่มีผลต่อการทำงานของสมอง

นอกจากในลำไส้จะมีประชากรจุลินทรีย์มหาศาลแล้ว ยังมีกองทัพเม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่า Gut-associated lymphoid tissue (GALT) ซึ่งถือเป็น 70% ของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย สุขภาพที่แข็งแรงจึงเริ่มต้นขึ้นในลำไส้ โดยมีปฏิกิริยาระหว่างประชากรจุลินทรีย์และกองทัพเม็ดเลือดขาวเป็นพื้นฐานสำคัญ

แต่ไลฟ์สไตล์บางอย่าง ส่งผลให้ประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่มีความหลากหลายลดลง อ่อนแอลง เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด นอนไม่พอ กินอาหารที่มีกากใยน้อย(ไม่กินผักผลไม้) กินอาหารแปรรูปเป็นประจำ รวมไปถึงการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เพราะยาปฏิชีวนะเปรียบเสมือนระเบิดน้อยหน่าที่ลงไปคร่าชีวิตประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นจำนวนมาก ทั้งประชากรก่อโรคและประชากรดีที่เป็นผู้บริสุทธิ์

ทางเลือกหนึ่งในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้น้องๆจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ คือการรับประทานโพรไบโอติก โพรไบโอติกคือจุลินทรีย์ดีที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จะเข้าไปเสริมทัพจุลินทรีย์ดีในลำไส้ใหญ่ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีงานวิจัยที่ใช้โพรไบโอติกในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมในการรักษาโรค เช่น อาหารเป็นพิษ ท้องเสียจากไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม ท้องเสียจากการกินยาปฏิชีวนะ ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก ภูมิแพ้ เป็นต้น

โพรไบโอติกมีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง ปลาร้า นมเปรี้ยว ข้าวเม่า นัตโตะ มิโสะ แต่หากอยากจะทานเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อซ่อมสุขภาพ ควรเลือกแบบที่การันตีได้ว่าโพรไบโอติกยังมีชีวิตอยู่ และอึดทนต่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร (Arrive alive) มีอินูลินซึ่งเป็นอาหารโพรไบโอติกร่วมด้วย (Synbiotics) เพื่อเลี้ยงให้จุลินทรีย์มีชีวิต มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้โพรไบโอติกไปยึดเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่ได้ ไม่หลุดและถูกขับถ่ายออกไปซะก่อน (Stick to the gut) มีจุลินทรีย์ไม่ต่ำกว่า 5 สายพันธุ์ที่ระบุสายพันธ์ได้เพื่อผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง และมีปริมาณไม่น้อยกว่า 6.3 billion CFU

สำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์ทำงานหนัก เที่ยวแน่น กินนัว ลืมนอน ดื่มแอลไม่น้อย มีโอกาสที่ประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้จะเสียสมดุลได้ การรับประทานอาหารโพรไบโอติกเสริมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการซ่อมแซมสุขภาพ แต่การซ่อมร่างจะเห็นผลดีและยั่งยืนสุด หากแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ ปรับสมดุลการใช้ชีวิต ไม่ทำงานมากเกินจนเครียด ดื่มสุราแค่พอประมาณ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารทอด และหาเวลาให้ร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนซ่อมแซมสุขภาพด้วยกลไกทางธรรมชาติอย่างแท้จริง

ข้อมูลโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง)

สนับสนุนข้อมูลโดย สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์

#คิดถึงโพรไบโอติกคิดถึงนิวทริไลท์

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่  : https://bit.ly/38DRW1a

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์ : https://bit.ly/34IkwgF

Reference:

  1. Shreiner, Andrew B., John Y. Kao, and Vincent B. Young. "The gut microbiome in health and in disease." Current opinion in gastroenterology 31.1 (2015): 69.
  2. Valdes, Ana M., et al. "Role of the gut microbiota in nutrition and health." Bmj 361 (2018).
  3. Krishna Rao, Radha, and Geetha Samak. "Protection and restitution of gut barrier by probiotics: nutritional and clinical implications." Current Nutrition & Food Science 9.2 (2013): 99-107.

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook