วิป3ฝ่ายไฟเขียวแก้ไขรธน.6ประเด็น

วิป3ฝ่ายไฟเขียวแก้ไขรธน.6ประเด็น

วิป3ฝ่ายไฟเขียวแก้ไขรธน.6ประเด็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชินวรณ์ เผย ผลหารือวิปฯ 3 ฝ่ายไฟเขียวแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ตามข้อเสนอของคณะกก.สมานฉันท์

(23ก.ย.) นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานวิปรรัฐบาล เป็นตัวแทนวิป 3 ฝ่าย แถลงข่าวว่า วิป 3 ฝ่าย มีความเห็นตรงกันที่จะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้แเสนอของคณะกรรมสมานฉันท์ทั้ง 6 ประเด็น ส่วนกระบวนการจะเป็นอย่างไรนั้น วิปทั้ง 3 ฝ่าย จะหารือกันอีกครั้งหนึ่งในวันพรุ่งนี้(24ก.ย.) เวลา 14.00 น. ที่รัฐบาล

ก่อนหน้านั้นนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐฯ) กล่าวก่อนการประชุมวิป 3 ฝ่ายคือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภาในวันนี้( 23 ก.ย.) ว่า จะเป็นเพียงการหารือนอกรอบเพื่อคุยถึงเป้าหมายให้ชัดเจนตรงกันว่า ตกลงทุกฝ่ายต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ สมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ เพราะดูเหมือนขณะนี้แต่ละฝ่ายยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่ ซึ่งตนก็เคารพสิทธิของแต่ละพรรคแต่ละบุคคล ความเห็นแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่หลักการจะต้องตรงกัน

นายชินวรณ์ กล่าวอีกว่า ถ้าทุกฝ่ายมีเป้าหมายที่ตรงกันก็จะต้องร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐ ธรรมนูญให้ได้อย่างน้อย 311 เสียง ส่วนวิธีการว่าจะทำอย่างไรต้องเป็นเรื่องของการเจรจาพูดคุยกัน จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมาร่วมกันหาทางออกให้ประเทศ เพราะนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างขึ้นมา 3 แนวทางว่าอาจเสนอแก้ไขเป็นรายมาตรา ตั้งส.ส.ร.หรือตั้งกรรมการอิสระ ซึ่งล่าสุดมีข้อเสนอจากกรรมการสมานฉันท์ว่าถ้าไม่เอาส.ส.ร.ก็สามารถโยนกลับ ไปให้คณะกรรมการสมานฉันท์เป็นผู้ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้

เมื่อถามว่ากาหารือของวิปสามฝ่ายวันนี้จะได้ข้อยุติหรือไม่ นายชินวรณ์ กล่าวว่า คงเป็นเพียงคุยกรอบเพื่อนำไปหารือนายกรัฐมนตรีหลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ เมื่อถามต่อว่าในที่สุดต้องนำกลับเข้ามาถามความเห็นของสมาชิกรัฐสภาอีกหรือ ไม่ว่าตกลงจะเอาอย่างไร นายชินวรณ์ กล่าวว่า ทุกแนวทางล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้น

ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการประชุมร่วมวิปฝ่ายค้านเพื่อหาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ยังไม่มีรายละเอียดแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของวิปสามฝ่าย จึงบอกไม่ได้ว่าเมื่อวิปสามฝ่ายหารือกันแล้วสุดท้ายจะต้องนำเรื่องเข้ามา พิจารณาในสภาอีกหรือไม่ อย่างไรก็ดีการที่นายกรัฐมนตรีได้พูดในสภาในการประชุมร่วมสองสภาเป็นการยืน ยันว่านายกรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบ เพื่อส่วนรวมโดยทุกฝ่ายได้รับทราบ ส่วนกรอบเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะใช้เวลานานเพียงใด ตนเห็นว่าจะช้าหรือเร็วที่ผ่านมาก็อยู่กันมาได้ไม่มีอะไรต้องเดือดร้อน การทำงานของสภายังคงทำงานได้ตามปกติ

นายชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ (23ก.ย.)จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชา ชมติ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยหากที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณา เชื่อว่าจะมีส่วนสำคัญในการช่วยปฏิรูปการเมือง อย่างไรก็ดีหากร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและกลับไปพิจารณา ในวุฒิสภาอีกครั้ง แต่วุฒิสภายังไม่รับอีก ร่างกฎหมายจะกลับมาให้สภาผู้แทนยืนยันอีกครั้งด้วยคะแนนเสียงที่เกินกึ่ง หนึ่งของสภา หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ได้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะได้รับประโยชน์จากการมีกฎหมายทำประชามติ ซึ่งเชื่อว่าหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญกฎหมายประชามติจะถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ในการนี้

" กฏหมายฉบับนี้จะมีบทบาทสำคัญ กกต.ใช้ รัฐบาลใช้ มีความขัดแย้งกันอย่างเสื้อเหลืองเสื้อแดงก็มาใช้ได้ " นายชัย กล่าว

 

นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวก่อนการประชุมร่วมวิปสามฝ่ายเพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นแนวทางแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ว่า แนวทางของฝ่ายค้านยังคงยึดตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป การเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นหลักส่วนรูปแบบขั้นตอนการดำเนินการจะไปฟังเสียงส่วนใหญ่ว่ามีความเห็น อย่างไร อย่างไรก็ดีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายต้องรอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากต่างประเทศก่อน

" เรามีประเด็นเดียวคือต้องปฏิบัติตามแนวทางกรรมการสมานฉันท์ฯ เมื่อเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ โดยใช้อำนาจตามมาตรา 291 จะโยนให้คนอื่นพิจารณาไม่ได้ ถึงอย่างไรก็แล้วแต่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องใช้มาตรา 291 ถ้าไม่ทำตามนี้จะไปตั้งกรรมการหรือใครขึ้นมาทำก็ไม่ได้ทั้งนั้น ต้องดูกฎหมายว่ากฎหมายให้อำนาจใครเป็นคนทำ สภาต้องทำตามอำนาจที่มีจะเป็นอื่นไม่ได้" นายวิทยา กล่าว

นายวิทยา กล่าวอีกว่า ฝ่ายค้านยังยืนยันถึงอำนาจของสภาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยการแก้ไขควรดำเนินการตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอไว้ทั้งแนวทางเร่งรัดและการปฏิรูปการเมืองระยะยาวซึ่งต้องไปพิจารณาอีก ครั้ง

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook