สป.ชง ครม.ปกป้องลูกหนี้

สป.ชง ครม.ปกป้องลูกหนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ออก ก.ม.ทวงหนี้อย่างเป็นธรรมรายได้ไม่เกินหมื่นห้ามอายัดเงิน

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. รับทราบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) เรื่องการสร้างความยุติธรรมให้กับเจ้าหนี้และลูกหนี้กรณีสินเชื่อส่วนบุคคลและหนี้บัตรเครดิต ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประเด็นโดย เฉพาะประเด็นด้านกฎหมายที่เห็นว่าสำคัญและเร่งด่วน ที่ต้องแก้ไขกฎหมายประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 โดยกำหนดให้ลูกหนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อมูลประวัติการเงินของตนเอง และเวลาเก็บข้อมูลเครดิตของลูกหนี้หลังชำระหนี้เสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำรายงานข้อมูลเชิงสถิติจากข้อมูลของลูกหนี้เพื่อประกอบการพิจารณาความสามารถการชำระหนี้และแจ้งให้ผู้ขอสินเชื่อทราบ

ขณะเดียวกันต้องแก้ไขกฎหมายแพ่ง เพื่อให้ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องถูกอายัดเงินเดือน และควร ปรับจำนวนเงินเพิ่มขึ้นโดยคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและภาวะค่าคพ ลดอัตราค่าธรรมเนียมการบังคับคดีจากการยึดและอายัดเงินหรือทรัพย์สินของลูกหนี้ และที่สำคัญต้องกำหนดให้มีกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างครบถ้วนโดยศึกษาตัวอย่างจากกฎหมายจากต่างประเทศและเร่งผลักดันให้กฎหมายติดตามทวงหนี้ที่เป็นธรรม มีผลบังคับใช้โดยเร็ว

นอกจากนี้ต้องเร่งปรับปรุงกระบวนวิธีคิดและรูปแบบการทำงานของหน่วยงานรัฐและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพราะหน่วยงานที่กำหนดนโยบายและผู้ประกอบธุรกิจไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานและการรวมกลุ่มของภาคประชาชนในการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค โดยการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ภาครัฐและเอกชนต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจผลดีและผลเสียของการใช้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันการใช้จ่ายเกินกำลังและเกิดเป็นหนี้เสีย

สำหรเด็นสุดท้ายคือเร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เน้นเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน โดยเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนและหนี้สินครัวเรือน เร่งสร้างวินัยการใช้จ่ายเงินและออมเงิน และ เร่งให้สถาบันการเงินของรัฐเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อการลงทุนให้กับประชาชนระดับฐานราก

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวง การคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับ ทราบข้อเสนอของ สป. และนำมาพิจารณา และดำเนินการไปแล้วโดยเฉพาะการเร่งออกกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างครบถ้วน ขณะที่การแก้ไขกฎหมายบางฉบับนั้นเห็นว่าไม่จำเป็นเพราะกฎหมายที่มีอยู่เหมาะสมแล้วโดยเฉพาะระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลที่กำหนดไว้ 3 ปี ขณะที่การแก้ไขกฎหมายแพ่งยังไม่จำเป็นเพราะก่อนหน้านี้ ได้แก้ไขกฎหมายไปแล้วเพื่อไม่ให้มีการก่อ หนี้เพิ่ม เป็นต้น.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook