สมชาย ยันครม.ไม่เคยมีมติสั่งสลายม็อบ

สมชาย ยันครม.ไม่เคยมีมติสั่งสลายม็อบ

สมชาย ยันครม.ไม่เคยมีมติสั่งสลายม็อบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมชาย ยัน ครม.ไม่เคยมีมติสั่งสลายพธม.ชุมนุมหน้าสภา 7 ตค. ชี้ พัชรวาทโดนปปช.ชี้มูลรัฐบาลโหวตตั้งผบ.ตร.ราบรื่นขึ้น ชมเป็นตำรวจกล้าหาญแต่กลับโดนตั้งข้อหา

(8ก.ย.) เวลา 10.30 น. ที่พรรคเพื่อไทย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงกรณีที่ปปช.ชี้มูลความผิดการสั่งสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ว่า เหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมาหลายฝ่ายโจมตีว่ามีการใช้ความรุนแรงทั้ง ๆ ที่เมื่อตนเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็แสดงถึงความมุ่งมั่นว่าจะยึดแนวทางสมานฉันท์โดยการประกาศเลิกใช้พรก.ฉุก เฉินทันที ตนไม่เลือกที่จะดำเนินการกับคนที่อยู่ภายในทำเนียบรัฐบาล แต่ยอมย้ายไปทำงานที่สนามบินดอนเมือง

สำหรับเหตุการณ์ในวันดัง กล่าวซึ่งเป็นวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภานั้น มีคนกลุ่มหนึ่งไปขัดขวางการทำงานของสภาโดยนำอาวุธ ปืน มีด และระเบิดไปด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยอยู่แล้ว ส่วนตัวก็เห็นใจตำรวจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว พฤติการณ์ของผู้ชุมนุมในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 นั้นทุกคนก็เห็นกันอยู่ ดังนั้นต้องให้กำลังใจและขอบคุณตำรวจ เพราะหากวันนั้นไม่มีตำรวจแล้วจะทำอย่างไร ความจริงเจ้าหน้าที่ตำรวจควรที่จะได้รับบำเหน็จไม่ใช่ได้รับข้อหาอย่างนี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วต่อไปหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตำรวจก็จะใส่แต่เกียร์ว่าง

นายสมชาย กล่าวอีกว่า มติครม.นัดพิเศษ/ 2551 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่า ครม.มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี(พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) ในขณะนั้น ติดตามตรวจสอบสถานการณ์และกำกับดูแลการรักษาความสงบเรียบ้อยในวันประชุมร่วม กันของรัฐสภา โดยให้ประสานสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการนี้ได้ รวมทั้งให้ตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานต่าง ๆ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าครม.ไม่ได้มีมติให้สลายการชุมนุมในวันดังกล่าว ทั้งนี้ตนไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ เพียงแต่ต้องการเล่าความจริงที่เกิดขึ้นมาเป็นอย่างไร ซึ่งจากนี้ตนจะตั้งทีมทนายเพื่อต่อสู้คดีต่อไป

"อยากฝากเป็นข้อ คิดว่า นำเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เมษายน 2552 ดูว่าเป็นอย่างไร สำหรับผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้มีการพิสูจน์ หรือยังว่าบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร อยากชี้แจงว่าตอนที่ผมเป็นนายกฯก็ต้องกำกับสตช.โดยตำแหน่ง มีหน้าที่กำหนดบทบาทและให้นโยบายสตช. ส่วนการไปจับกุมใครหรือตั้งเวรยามในจุดไหนเป็นหน้าที่ของตำรวจที่ทำกันเป็น ปกติอยู่แล้ว และวันนั้นเหตุการณ์ก็เกิดก่อนที่ผมจะได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานต่างๆ ผมพยายามแก้ข้อกล่าวหาของปปช. พยายามขอตรวจเอกสารตามกฎมหายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิ์กับผู้ถูกกล่าวหา ผมไปร้องคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ ไปร้องศาลปกครอง แต่ปรากฎว่าปปช.ท่านไม่รอ ตัดสินเลย อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณประชาชน ตำรวจ และปปช. 1 เสียงที่โหวตให้ผม " อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า การตัดสินของปปช.จะเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งผบ.ตร.คนใหม่ด้วยหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่เข้าใจว่าหากพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางวินัยก็จะไม่ได้เข้าร่วมประชุมกตช.ด้วย ซึ่งอาจทำให้การโหวตเลือกผบ.ตร.คนใหม่ ราบรื่นขึ้น ส่วนตัวเห็นใจพล.ต.อ.พัชรวาทที่ทำงานด้วยความองอาจ กล้าหาญ แต่กลับโดนตั้งข้อหา

ส่วน ได้มีการหารือกับบุคลอื่นที่ถูกปปช.ชี้มูลต่อกรณีดังกล่าวด้วยหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ยังไม่ได้หารือกับใครทั้งสิ้น แต่ก่อนหน้านี้เคยได้พูดคุยกับพล.อ.ชวลิตซึ่งท่านก็ยืนยันว่าทำทุกอย่างถูก ต้อง ไม่มีอะไรที่บกพร่องหรือผิดพลาด ส่วนหากพิสูจน์แล้วว่าไม่มีความผิดจะฟ้องกลับปช.หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่คิดอะไรทั้งสิ้น เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เพราะตนมั่นใจว่าตนบริสุทธิ์

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook