เหี้ยมนักต้องกำจัด! ชาวเบลเยียม แห่โค่นอนุสาวรีย์ผู้นำในอดีต เอี่ยวค้าทาส-อาณานิคม

เหี้ยมนักต้องกำจัด! ชาวเบลเยียม แห่โค่นอนุสาวรีย์ผู้นำในอดีต เอี่ยวค้าทาส-อาณานิคม

เหี้ยมนักต้องกำจัด! ชาวเบลเยียม แห่โค่นอนุสาวรีย์ผู้นำในอดีต เอี่ยวค้าทาส-อาณานิคม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ราชอาณาจักรเบลเยียมเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันจากการปราบปรามโดยจูเลียส ซีซาร์เป็นเวลา 500 กว่าปี เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายก็กลายตกส่วนหนึ่งเป็นของจักรวรรดิแฟรงก์ และเบอร์กันดี โดยที่เบลเยียมนั้นแทบไม่เคยได้รับเอกราชเลย จนกระทั่งถูกรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเนเธอร์แลนด์ภายหลังสงครามนโปเลียนเมื่อปี 2358

แต่ด้วยความแตกต่างด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ นิกายศาสนา และวัฒนธรรมกับเนเธอร์แลนด์ผู้ปกครอง นำไปสู่การปฏิวัติในเบลเยียมในปี 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช ใช้ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการ ประกา

นโยบายเป็นกลางทางการเมืองโดยได้รับการรับรองอังกฤษ และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา (ราชวงศ์เดียวกันที่ปกครองอังกฤษในยุคนั้น) ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2374 โดยมีการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เป็นวันชาติของเบลเยียมนับตั้งแต่นั้น

กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2408 โดยกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ถูกจดจำกันมากที่สุดในฐานะผู้ริเริ่มการยึดครองอาณานิคมและเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว โดยใช้นายเฮนรี่ มอร์ตัน สแตนเลย์ (นักข่าวชาวเวลส์ และนักการเมืองที่มีชื่อเสียงในเรื่องการค้าทาสการสำรวจของเขาในแอฟริกากลางและการค้นหานักเผยแผ่ศาสนาและนักสำรวจเดวิดลิฟวิงสโตน) เป็นผู้ช่วยอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

แม้บรรดารัฐในยุโรปต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมที่กรุงเบอร์ลินเพื่อแบ่งเขตยึดครองกันในทวีปแอฟริกาได้ตกลงทำสัญญาผูกมัดให้รัฐที่เข้าไปยึดครองพื้นที่ในทวีปแอฟริกาต้องช่วยพัฒนาชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น แต่กษัตริย์โอโปลด์ที่ 2 ได้เพิกเฉยต่อเงื่อนไขเหล่านี้และปกครองคองโกอย่างโหดร้าย โดยใช้กำลังทหารรับจ้างทำทารุณกรรมต่อชาวพื้นเมืองคองโก เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของกษัตริย์ทั้งสิ้น

กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 เริ่มจากการใช้คนพื้นเมืองออกตามล่าช้างเพื่อตัดรวบรวมงาช้างมาขายในยุโรปและเมืองจีน ครั้นเมื่อราคายางพาราสูงขึ้นในช่วงปี 2433-2443 ก็บังคับให้ชาวพื้นเมืองคองโกกรีดและเก็บน้ำยางจากต้นยางพาราเยี่ยงทาส

การปกครองอย่างโหดร้ายของกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมส่งผลให้ชาวพื้นเมืองคองโกเสียชีวิตร่วมสิบล้านคน คองโกจึงกลายมาเป็นหนึ่งในกรณีอื้อฉาวระหว่างประเทศที่เสื่อมเสียที่สุดจนกระทั่งกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ต้องถูกบีบให้ยกเลิกการกระทำอันโหดร้ายทารุณนั้นและโอนการควบคุมรัฐคองโกให้แก่รัฐบาลเบลเยียม

ปรากฏว่าชาวเบลเยี่ยมโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการมีอยู่ของอนุสาวรีย์อดีตกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศคองโกในแอฟริกานี้มาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว กระทั่งเกิดกระแสประท้วงเหตุตำรวจอเมริกันสังหารนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสีในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

เหตุนี้ทำให้มีรายงานว่าบรรดาพระราชานุสาวรีย์และอนุสรณ์หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 ถูกกลุ่มผู้ต่อต้าน พ่นสีทำลายในหลายแห่งทั้งอนุสาวรีย์ที่ตั้งในเมืองแอนต์เวิร์ป และในกรุงบรัสเซลส์

มีกลุ่มคนงานได้ใช้เครนยกอนุสาวรีย์อดีตกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ซึ่งถูกพ่นสีแดงออกจากบริเวณที่เคยตั้งอยู่ในเมืองแอนต์เวิร์ป ขณะที่ช่วงสัปดาห์ที่แล้วอนุสาวรีย์แห่งเดียวกันนี้เคยถูกจุดไฟเผามาแล้ว เช่นเดียวกับอนุสาวรีย์ของกษัตริย์ลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในเมืองเกนต์ ก็ถูกพ่นทำลายด้วยสีแดงเช่นกัน

สิ่งนี้เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงอดีตกษัตริย์มือเปื้อนเลือดผู้เคยใช้อำนาจกดขี่ปกครองชาวคองโก ในฐานะรัฐอาณานิคมของเบลเยี่ยม จนมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าช่วงเวลาดังกล่าวมีชาวแอฟริกันผิวสีต้องเสียชีวิตภายใต้การปกครองของอดีตกษัตริย์เบลเยี่ยมผู้นี้นับล้านคน

เมื่อวันอังคารที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีชาวเบลเยี่ยมกว่า 65,000 คนร่วมกันลงชื่อเสนอเรียกร้องให้มีการรื้อถอนอนุสาวรีย์ของกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ที่ประดิษฐานอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่ช่วงระหว่างการเดิมขบวนประท้วงเหตุจอร์จ ฟลอยด์ในกรุงบรัสเซลส์ ชาวเบลเยี่ยมนับ 10,000 ได้รวมตัวรอบอนุสาวรีย์ของอดีตกษัตริย์ เลโอโปลด์ที่ 2 ขณะที่บางคนได้ปีนขึ้นไปบนรูปปั้นดังกล่าวพร้อมโบกธงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตามความเป็นจริงของคนรุ่นใหม่ทำให้เกิดการทำลายอนุสาวรีย์ของทรราชย์ไปทั่วโลกเลยทีเดียวในขณะนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook