หมอรามาฯ ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์น้องชาย 5 ขวบติดเชื้อโควิด รักษาธาลัสซีเมียพี่สาว 7 ขวบ

หมอรามาฯ ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์น้องชาย 5 ขวบติดเชื้อโควิด รักษาธาลัสซีเมียพี่สาว 7 ขวบ

หมอรามาฯ ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์น้องชาย 5 ขวบติดเชื้อโควิด รักษาธาลัสซีเมียพี่สาว 7 ขวบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครั้งแรกของโลก! ร.พ.รามาธิบดี เผย ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากน้องชายวัย 5 ขวบ ที่ป่วยโควิด-19 เพื่อรักษาพี่สาวอายุ 7 ขวบที่ป่วยธาลัสซีเมียตั้งแต่กำเนิดได้สำเร็จ

ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง หัวหน้าโครงการโรคมะเร็งในเด็กและอาจารย์แพทย์สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา และกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ มูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์อย่างเร่งด่วน เคสแรกของโลก จาก ด.ช.ศิลา บุญกล่อมจิตร (น้องจีโอ้) ผู้บริจาคไขกระดูกวัย 5 ขวบ ขณะติดเชื้อโควิด-19 เพื่อรักษา ด.ญ.จินตนาการ บุญกล่อมจิตร (น้องจีน) พี่สาววัย 7 ขวบ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียตั้งแต่กำเนิด

ศ.นพ.สุรเดช กล่าวต่อว่า เคสนี้มีความท้าทายและซับซ้อนมาก เนื่องจากในวันที่ต้องเก็บสเต็มเซลล์น้องจีโอ้ กลับตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ทำให้น้องจีโอ้อยู่ในฐานะผู้ป่วยอีกคน จากภาวะที่ผู้ป่วยสองคนยังอายุน้อย ทุกขั้นตอนจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ การจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูกจึงมีความเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะความเสี่ยงว่า สเต็มเซลล์ที่ได้จะมีเชื้อโควิด-19 หรือไม่ รวมถึงขั้นการต้องส่งน้องจีโอ้ไปรักษายังสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ที่เป็นศูนย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19

ขณะที่น้องจีนยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับมือกับความเสี่ยงขณะปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย ถือว่าเป็นครั้งแรกในโลกสำหรับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์อย่างเร่งด่วนจากผู้ป่วยโควิด-19 นอกจากความเสี่ยงของเชื้อโควิด-19 แล้ว การทำงานของคณะแพทย์ยังต้องแข่งกับเวลา เนื่องจากน้องจีนได้เข้ากระบวนการเตรียมความพร้อมของร่างกายด้วยการรับเคมีบำบัดหรือคีโมจนครบเรียบร้อยแล้ว ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันต่ำและเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ในเวลานั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook