ยกย่อง หมอยาไร้พรมแดน บุคคลต้นแบบ

ยกย่อง หมอยาไร้พรมแดน บุคคลต้นแบบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อุทิศตัวทุ่มเทชีวิตโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ออกเดินทางเพื่อนำความ รู้ด้านเภสัชกรรมไปใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์และโรคมาลาเรีย รวมทั้งคิดค้นผลิตยาชื่อสามัญรักษาโรคในราคาย่อมเยา ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งในประเทศไทยและประเทศ ยากจน กระทั่งคณะกรรมการของมูลนิธิแม็กไซไซมอบรางวัลยกย่องให้ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ที่ปรึกษางานด้านสาธารณสุขในประเทศแอฟริกา ได้รับ รางวัลรามอน แม็กไซไซ ประจำปี 2552 สาขาบริการสาธารณะ

ด้วยความดีที่สั่งสมมานาน สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคไทยและสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กรุงเทพ) ร่วมกันจัดงานเชิดชูเกียรติ และมอบโล่ยกย่องให้เป็น บุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตและการทำงาน และเสวนาเกียรติยศในหัวข้อ ชีวิตและงาน ดร.กฤษณา หมอยาไร้พรมแดน ณ สโมสรทหารบก เมื่อค่ำวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา โดย ดร.กฤษณา กล่าวว่า ชื่อยาทุกตัวที่ทำมีชื่อ ไทย นำหน้าในทุกประเทศที่เดินทางไป ก่อนหน้านี้ คนแอฟริกาไม่รู้จักประเทศไทยเลย แต่ขณะนี้รู้จักในทางที่ดีว่า เราไปช่วยเหลือในทางมนุษยธรรม มีความสุขที่ทำให้คนแอฟริกันทำยาได้ มีความสุขที่ได้สอนคน เป็นความสุขที่ยั่งยืน เพราะเป็นความสุขจากการให้ เป็นการเสียสห้ ผู้อื่น แม้จะมีอุปสรรคในการทำงาน แต่ไม่คิดว่าเป็นอุปสรรค เพราะมีอุดมการณ์ที่มั่นคง

ขณะนี้ทำงานสำเร็จในประเทศด้อยพัฒนาไปแล้ว 15 ประเทศ ยังเหลืออีก 11 ประเทศ จะทำไปเรื่อย ๆ หากยังไม่สิ้นลมเสียก่อน ปีนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 8 ที่ทำงานตรงนี้มา แม้ยังหาผู้มาสานต่อไม่ได้ แต่ไม่ได้หวังอะไรมาก ทำในสภาวะเท่าที่ทำได้ สอนคนให้เก่งไม่ยากเท่าไหร่ แต่สอนคนให้ดีนั้นยาก จึงอยากให้ชีวิตของตัวเองเป็นบทเรียนให้คนอื่นได้ ปัจจุบันอายุ 57 ปี จะทำงานต่อไปไม่มีการเกษียณ เพราะปัจจุบันเหมือนไม่ได้ทำงาน ทำงานไปเรื่อย ๆ เหนื่อยก็กลับบ้าน และบริโภคให้มีชีวิตอยู่เพื่อได้ทำงานต่อไป จึงอยู่ที่แอฟริกาได้ ในขณะที่เราสอนเขา เขาก็สอนเราให้มีความอดทน ประเทศไหนตั้งโรงงานและทำยาเองได้ เราก็มีความสุข ไม่มีอะไรที่จะมีความสุขไปกว่าการเสียสละ

ดร.กฤษณา กล่าวถึงรางวัลรามอน แม็กไซไซที่ได้รับ สำนักข่าวรอยเตอร์และมูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ ร่วมกันเสนอชื่อ ปีนี้ได้รับรางวัลมาแล้ว 9 รางวัล เป็นรางวัลที่ได้รับที่ในต่างประเทศทั้งหมด แต่ชีวิตของตนไม่ได้เปลี่ยน ชีวิตยังเหมือนเดิมเพราะมองว่า ช่องว่างในการเข้าถึงยาของคนรวยกับคนจนถือเป็นอาชากรรมของมนุษยชาติ จึงตั้งความปรารถนา อยากให้ทุกคนบนโลกนี้ เข้าถึงยาได้ทุกคน.

ดร.กฤษณาต่อสู้ร่วมกับองค์กรอิสระเรียกร้องให้มีการลดราคายา จนถูกฟ้องร้องทางกฎหมายจากบริษัทยา เพื่อผลิตยาชื่อสามัญต้านเอดส์ ดีดีไอ (ดีดาโนซีน) และคิดค้นสูตรยาค็อกเทลที่ราคาถูกลง 18 เท่าและรวมจำนวนยาหลายเม็ดเข้าด้วยกัน ขณะนี้ องค์การเภสัชกรรมผลิตยาต้านโรคเอดส์จำนวน 7 ชนิดและมีกำลังผลิตเพียงพอที่จะรักษาผู้ป่วยจำนวน 150,000 คนต่อปีในประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม

นอกจากนี้ยังมีผลงานโดดเด่นในการก่อสร้างโรงงานผลิตยา ต้านโรคเอดส์และยารักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในทวีปแอฟริกา รวมทั้งถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนบุคลากรของโรงงานผลิตยา โรงพยาบาล ตลอดจนสถาบันวิจัยและควบคุมคุณภาพยาแห่งชาติในทวีปแอฟริกา 15 ประเทศ ให้สามารถผลิตยาต้านเอดส์และยารักษาโรคมาลาเรียได้เองในราคาถูก กระทั่งช่วยชีวิตผู้ป่วยได้หลายล้านคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook