หมอชี้สมุนไพรตำรับ หลวงปู่ทวด ต้านหวัด2009ไม่ได้

หมอชี้สมุนไพรตำรับ หลวงปู่ทวด ต้านหวัด2009ไม่ได้

หมอชี้สมุนไพรตำรับ หลวงปู่ทวด ต้านหวัด2009ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้เชี่ยวชาญยันแม้ปลอดภัย แต่ไม่รู้ต้องกินเท่าไหร่

อธิบดีกรมแพทย์แผนไทยฯ แจง สมุนไพร หลวงปู่ทวด รักษาหวัด09 แทนโอเซลทามิเวียร์-ซานามิเวียร์ไม่ได้ ฟ้าทะลายโจรก็เช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญยันไม่เป็นอันตราย แต่ไม่รู้ว่ากินเท่าไหร่ถึงป้องกันได้

 นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกรณียาสมุนไพรตำรับหลวงปู่ทวดที่มีส่วนผสมสมุนไพรไทย 9 ชนิด ว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มียาตำรับแพทย์แผนไทยชนิดใดที่สามารถรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แทนยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ หรือยาซานามิเวียร์ได้

"แม้แต่ฟ้าทะลายโจร ก็มีสรรพคุณป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกันว่า สูตรยาสมุนไพรไทยดังกล่าวมีความปลอดภัย แต่ยังไม่มีรายงานผลการวิจัยทางการแพทย์รองรับอย่างเป็นทางการว่าจะต้องกินในปริมาณเท่าใดจึงจะป้องกันไข้หวัดได้" นพ.นรา กล่าว

วันเดียวกัน นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ว่า เป็นห่วงเรือนจำที่มีผู้ต้องขังอยู่กันอย่างแออัด และนอนรวมกัน หากจัดการด้านสุขาภิบาลและสุขอนามัยไม่ดีพอ จะทำให้มีภาวะเสี่ยงที่จะรับเชื้อโรคได้ง่าย และแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องตรวจสุขภาพผู้ต้องขังใหม่ทันทีก่อนส่งไปอยู่รวมกัน

นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยกรณีผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานใหญ่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประชุมทางไกลกับผู้เชี่ยวชาญไทย เพื่อหารือแนวทางแก้ปัญหาการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเชื้อเป็น ของ อภ.ว่า เบื้องต้นทีมนักวิชาการ อภ.ได้เสนอ 2 แนวทางแก้ไขปัญหา คือ

1.เดินหน้าโครงการผลิตวัคซีนต่อไป โดยจะใช้วัคซีนที่มีอยู่ทดลองกับอาสาสมัครในวันที่ 4-7กันยายนนี้ ซึ่งอาจต้องมีการปรับลดปริมาณวัคซีน

2.รอดูผลการเพาะเชื้อไวรัสจากไข่ปลอดเชื้อของประเทศเยอรมนี ที่มีการเพาะเชื้อคู่ขนานกับไข่ไก่ปลอดเชื้อรุ่นแรก แต่เปลี่ยนเทคนิกการเพาะเชื้อใหม่ ซึ่งจะทราบผลว่าจะมีปริมาณเชื้อไวรัสมากหรือน้อยประมาณวันที่ 28 สิงหาคมนี้ ซึ่งจะทำให้การทดลองในอาสาสมัครล่าช้าออกไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook