ชง ป.ป.ช.เชือด สมัคร-27รมต. คดีเขาพระวิหาร20ส.ค.

ชง ป.ป.ช.เชือด สมัคร-27รมต. คดีเขาพระวิหาร20ส.ค.

ชง ป.ป.ช.เชือด สมัคร-27รมต. คดีเขาพระวิหาร20ส.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรุปสำนวนคดีเขาพระวิหารแล้ว สอบปากคำเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นพยานปากสุดท้าย ยืนยัน ครม.ไม่เคยหารือว่า เข้าข่ายต้องนำเข้ารัฐสภาตามมาตรา 190 หรือไม่ ชง ป.ป.ช.ชุดใหญ่เชือด สมัคร พร้อม 27 รมต.-5บิ๊ก ขรก. วันที่ 20 หรือ 25 สิงหาคมนี้

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เปิดเผย มติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้เร่งให้เจ้าหน้าที่สรุปสำนวนการไต่สวนคดีที่มีการกล่าวหาว่า คณะรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551ให้ออกแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ถ้าเสร็จทันอาจสามารถเข้าเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคมนี้ แต่ถ้าไม่ทันคาดว่า จะสามารถนำเข้าที่ประชุมได้ในวันอังคารที่ 25 สิงหาคม

แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้สอบปากคำคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นปากสุดท้ายเนื่องจากมีรัฐมนตรีบางคนอ้างว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ได้มีการสอบปากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า การออกแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเข้าเงื่อนไขหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญที่ต้องเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาก่อนหรือไม่ ซึ่งเลขาธิการกฤษฎีกาตอบว่า ไม่เข้าเงื่อนไขซึ่งการอ้างเช่นนั้น เพราะรัฐมนตรีคนดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่า การลงมติในคณะรัฐมนตรีทำด้วยความรอบคอบ มีการสอบถามที่ปรึกษากฎหมายของฝ่ายบริหารแล้ว

แหล่งข่าวกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม คุณพรทิพย์ให้ปากคำต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า ไม่เคยมีการหารือเรื่องนี้กับตนในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แม้ในความเห็นส่วนตัว การออกแถลงการณ์ร่วมฯไม่เข้าเงื่อนไขหนังสือสัญญาที่ต้องนำเสนอต่อรัฐสภาตามมาตรา 190 ก็ตาม

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะพิจารณาพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาแต่ละคนรวม 33 คนว่า จงใจฝ่าฝืนกฎหมายและรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การออกแถลงการณ์ร่วมฯเข้าเงื่อนไขหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ที่ต้องนำเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งการพิสูจน์ว่า จงใจหรือไม่ จะต้องมีพฤติการณ์อย่างชัดเจนที่จะฝ่าฝืนกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2551 ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่รัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายสมัคร จำนวน 28 คน และข้าราชการระดับสูงในกระทรวงต่างประเทศ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ 4-5 คน จากนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดชี้แจงข้อกล่าวหาและพยานหลักฐาน

สำหรับรายชื่อรัฐมนตรี 28 คนในสมัยรัฐบาลนายสมัคร ที่ถูกป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาประกอบด้วย นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯและรมว.กลาโหม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีตรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อดีตรองนายกฯ นายชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ

นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง, ร.ต.(หญิง)ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ

นายธีระชัย แสนแก้ว อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ นายสันติ พร้อมพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอนุรักษ์ จุรีมาศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายทรงศักดิ์ ทองศรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุพล ฟองงาม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายบุญลือ ประเสริฐโสภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายพงศกร อรรณนพพร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายมั่น พัธโนทัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางอุไรวรรณ เทียนทอง อดีตรมว.แรงงาน

ส่วนรัฐมนตรี 6 คน คนที่ไม่ถูกป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาเนื่องจากไม่ได้เข้าประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 คือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง นายสหัส บัณฑิตกุล อดีตรองนายกฯ พล.ท.(หญิง)พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

สำหรับข้าราชการประจำที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา ได้ แก่ 1.นายกฤช ไกรกิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 2.นายเชิดชู รักตบุตร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส 3.นายพิษณุ สุวรรณรชฎ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก 4.นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 5 .พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า บรรดารัฐมนตรีที่ถุกแจ้งข้อกล่าวหามีอยู่ 3 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แก่ พล.ต..สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกฯ ,นายประดิษฐ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook