เตือนห้ามสวม Face Shield ให้ทารกแรกเกิด เสี่ยงต่อระบบประสาท-ก๊าซคั่ง

เตือนห้ามสวม Face Shield ให้ทารกแรกเกิด เสี่ยงต่อระบบประสาท-ก๊าซคั่ง

เตือนห้ามสวม Face Shield ให้ทารกแรกเกิด เสี่ยงต่อระบบประสาท-ก๊าซคั่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดฯ เตือนทุกโรงพยาบาลห้ามใส่ face shield ให้เด็กแรกเกิด เสี่ยงทำให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง และเกิดอันตรายต่อระบบประสาท

วานนี้ (9 เม.ย) ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย หน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ไทย ออกประกาศห้ามใส่ face shield ให้ทารกแรกเกิด โดยระบุเนื้อหาว่า

ตามที่สถานพยาบาลหรือหน่วยงานหลายแห่งได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า (face shield) และหรือ ประยุกต์หน้ากากอนามัย (surgical.and non surgical face mask) มาสวมใส่ให้แก่ทารถแรกเกิดทั้งขณะอยู่ในโรงพยาบาล และจำหน่ายกลับบ้าน โดยมีการกระจายไปสู่สาธารณะอย่างแพร่หลายในช่วงระยะสถานการณ์โรคโควิด-19 นั้น ทางชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทยได้มีการหารือในคณะกรรมการของชมรมฯ แล้ว มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้ ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ใหญ่สู่ทารก

อ้างอิงจากมาตรฐานสากลทั้งองค์การอนามัยโลก และ Centers for Disease Control and Prevention ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ไปสู่ทารกแรกเกิดที่สำคัญที่สุด คือการกระจายจากผู้เลี้ยงดูทารถ ซึ่งได้แก่ บิดามารดา ญาติ หรือพี่เลี้ยง ผ่านทางละอองฝอยจากการจาม หรือไอ (droplet transmission) ทางสัมผัส (contact transmission) จากมือผู้เลี้ยงดู หรืออุปกรณ์ สิ่งของที่มาสัมผัสทารก

การป้องกันที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ทารก

  1. ล้างมือให้สะอาดตามสุขอนามัยก่อนสัมผัสทารก และการใส่หน้ากากอนามัยของผู้เลี้ยงดูหากไม่แน่ใจในอาการของตัวเอง
  2. ผู้มีอาการไม่สบายโดยเฉพาะมีอาการทางระบบหายใจ งดเข้าใกล้ทารก
  3. งด การนำทารกแรกเดินออกนอกบ้าน ยกวนการพาไปฉีดวัดซีนตามกำหนด หรือไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่สบาย
  4. หากจำเป็นต้องพาทารกไปอยู่ในที่ชุมชน ควรปฏิบัติตามนโยบายของ Physical distancing อย่างเคร่งครัด โดยห่างจากผู้อื่น ประมาณ 6 ฟุต (2 เมตร)
  5. งดการเยี่ยมทารก จากบุคคลภายนอกทั้งที่โรงพยาบาล และที่บ้าน ควรใช้สื่อทางสังคม (social media) แสดงความยินดีแก่ครอบครัวแทน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับทารกในการใส่ face shield หรือ face mask

  1. เนื่องจากทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นทางหลัก (obligate nasal breather) ยังไม่มีความสามารถหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากหายใจได้ เมื่อมีการขาดอากาศ หรือ ออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่างๆ ที่นำมาผลิตเป็น surgical mask หรือ non-surgical mask หากมีคุณสมบัติ breathability (แรงต้านต่อการไหลของอากาศเข้า-ออก) สูงเกินไป อาจทำให้ทารกหายใจได้ไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารก
  2. วัสดุพลาสติกที่ใช้บังหน้าทารกอาจมีความคมบาดใบหน้า ดวงตา ทารกได้

สรุป ทางชมรมฯ จึงไม่สนับสนุนให้มีการใส่ face shield หรือ face mask แก่ทารกแรกเกิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook