รายงานพิเศษ : กระทรวงวิทย์ฯ เร่งยกระดับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและพลังงานทดแทน

รายงานพิเศษ : กระทรวงวิทย์ฯ เร่งยกระดับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและพลังงานทดแทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้ความสำคัญการใช้พลังงานทดแทนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านไบโอเมททีเรียลหรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และด้านการใช้พลังงานทดแทน ที่นำไปใช้ในวงการแพทย์และอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย จึงได้จัดศึกษาดูงาน ณ สหราชอาณาจักรและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นติดตามได้จากรายงาน จากการศึกษาดูงานและเยี่ยมชมหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ ด้านไบโอเมททีเรียลหรือวัสดุทางชีวภาพและด้านพลังงานทดแทน ณ อิมพีเรียลคอลเลจ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ของคุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาด้านพลังงานทดแทนจากนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในหลายเรื่อง โดยคุณหญิงกัลยา โสภณพณิช บอกว่า เรื่องที่น่าสนใจและมองว่าประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง คือ การใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ ที่มีการคิดค้นแผงรับพลังงานแบบใหม่ ในลักษณะครึ่งวงกลมคล้ายจานดาวเทียม ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการรับและกักเก็บพลังงานได้มากขึ้น คาดว่าจะสามารถนำมาพัฒนาและผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ใช้ได้ในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนและมีแดดตลอดทั้งปี ส่วนการศึกษาดูงานด้านไบโอเมททีเรียล หรือวัสดุชีวภาพ ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้เยี่ยมชมและดูความก้าวหน้าการนำวัสดุชีวภาพมาใช้งานในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ณ สถาบันเมคแพรนส์อินติจูด ที่มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียง ด้านการผลิตวัสดุไบโอชีวภาพใช้ทางการแพทย์และอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ อาทิ การสร้างผิวหนังเทียมจากวัสดุชีวภาพที่ได้จากพืชและสัตว์ และการสร้างกระดูกเทียมที่นำมารักษานักกีฬา ผู้สูงอายุและผู้ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งการเข้าดูงาน ณ สถาบันแห่งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า นอกจากได้เข้าเยี่ยมชมและดูงานการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของประเทศเยอรมันแล้ว ฃทางสถาบันดังกล่าว สนใจที่จะร่วมทำการศึกษาวิจัยด้านไบโอชีวภาพกับประเทศไทย ตลอดจนจะร่วมกันผลิตและพัฒนาต่อยอดวัสดุชีวภาพในเชิงพาณิชย์อีกด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพด้านไบโอชีวภาพอย่างครบครัน คือทั้งนักวิจัยและทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ ผลผลิตทางการเกษตร เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง พืชและสัตว์ใต้ทะเลจำพวกสาหร่ายและปลาน้ำลึก ซึ่งทรัพยากรชีวภาพดังกล่าว สามารถนำมาทดแทนการผลิตวัสดุชีวภาพแบบเดิมที่มาจากแก๊ส น้ำมันหรือเหล็ก ที่สามารถหมดไปจากโลกได้ภายใน 20-30 ปี ขณะเดียวกัน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับสถาบันเมคแพรนส์อินติจูด ประมาณเดือนตุลาคมนี้ เพื่อร่วมศึกษาวิจัยด้านไบโอชีวภาพที่มาจากพืช สิ่งมีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ คาดว่าการลงนามดังกล่าว จะส่งผลให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพเท่าเทียมนานาประเทศ อีกทั้งจะสร้างได้จากธุรกิจวัสดุไบโอชีวภาพอีกด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook