นักวิจัยสหรัฐฯ พบ "โปรตีน" พรางเชื้อโควิด-19 หลบภูมิคุ้มกัน ทำไวรัสเพิ่มจำนวน

นักวิจัยสหรัฐฯ พบ "โปรตีน" พรางเชื้อโควิด-19 หลบภูมิคุ้มกัน ทำไวรัสเพิ่มจำนวน

นักวิจัยสหรัฐฯ พบ "โปรตีน" พรางเชื้อโควิด-19 หลบภูมิคุ้มกัน ทำไวรัสเพิ่มจำนวน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทีมนักวิจัยวิทยาลัยแพทย์ไฟน์เบิร์ก (Feinberg School of Medicine) มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (NU) พบโปรตีนสำคัญที่ทำให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อโรคโควิด-19 ซ่อนตัวจากระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์

ทีมนักวิจัยจำลองโครงสร้างอะตอมของโปรตีนสำคัญในหมู่โปรตีนเอ็นเอสพี10/16 (nsp10/16) โปรตีนชนิดนี้จะดัดแปลงสารพันธุกรรมของไวรัสเพื่อให้ดูเหมือนเซลล์อาร์เอ็นเอ (RNA) ของโฮสต์ตัวกลาง (มนุษย์)

ด้วยเหตุนี้ ไวรัสจึงสามารถซ่อนตัวจากเซลล์ต่างๆ ได้ ทำให้มีเวลาในการเพิ่มจำนวน และหากสามารถพัฒนายายับยั้งหมู่โปรตีนเอ็นเอสพี10/16 ได้ ระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถตรวจจับไวรัสและกำจัดไวรัสได้เร็วขึ้น

“โปรตีนนี้เป็นเป้าหมายของยา (drug target) ที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะมันคือโปรตีนสำคัญที่ช่วยให้ไวรัสเพิ่มจำนวน” คาร์ลา ซัตเชลล์ (Karla Satchell) หัวหน้านักวิจัยและศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาภูมิคุ้มกัน ของมหาวิทยาลัยฯ และผู้อำนวยการศูนย์โครงสร้างพันธุกรรมของโรคติดเชื้อ (CSGID) ซึ่งเป็นสมาคมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่กำลังศึกษาโครงสร้างของไวรัสเพื่อช่วยพัฒนายา

โปรตีนเอ็นเอสพี10/16 เป็นชื่อเรียกอาร์เอ็นเอ เมทิลทรานเฟอเรส (MTase) ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน 2 ตัวที่เกี่ยวพันกันอยู่ ทำให้ยากต่อการจัดการ

นับเป็นโครงสร้างโปรตีนชุดที่ 4 ของเป้าหมายยาที่มีศักยภาพสำหรับไวรัส SARS-CoV-2 (ซึ่งก่อโรคโควิด-19) ที่ได้รับการระบุโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ฯ

“เราจำเป็นต้องมียาหลายตัวสำหรับรักษาไวรัสชนิดนี้ เพราะโรคนี้น่าจะอยู่กับเราไปอีกนาน” ซัตเชลล์กล่าว “การพัฒนายาแค่ตัวเดียวอาจไม่พอสำหรับเรา เพราะหากโควิด-19 ดื้อยาตัวหนึ่งแล้ว ก็ต้องใช้ยาตัวอื่นๆ อีก”

ทั้งนี้ โครงสร้างของโปรตีนเอ็นเอสพี10/16 ได้ถูกเผยแพร่ให้กับประชาคมวิทยาศาสตร์แล้วในวันพุธ (25 มี.ค.) ผ่านธนาคารข้อมูลโปรตีนอาร์เอสซีบี (RSCB)

ส่วนโครงสร้างโปรตีนอีก 3 โครงสร้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัส ที่ได้รับการเผยแพร่ก่อนหน้านี้ ได้แก่ เอ็นเอสพี15 เอนโดนิวคลีเอส (nsp15 endonuclease) เอ็นเอสพี3 เอดีพี ไรโบส ฟอสเฟต (nsp3 ADP ribose phosphate) และเอ็นเอสพี 9 เรพลิเคส (nsp9 replicase)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook