ก.ค.ศ.ระบุ การลดฐานะของ ก.ค.ศ.อาจทำให้การบริหารงานบุคคลมีปัญหา

ก.ค.ศ.ระบุ การลดฐานะของ ก.ค.ศ.อาจทำให้การบริหารงานบุคคลมีปัญหา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผู้อำนวยการภารกิจตรวจติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระบุ การลดฐานะของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อาจทำให้การบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษามีปัญหา นายชำเรือง เรืองขำ ผู้อำนวยการภารกิจตรวจติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า สาเหตุที่มีนี้ปีมีผู้เข้าร่วมโครงการเออรี่รีไทร์ของ ก.ค.ศ.จำนวนมาก เนื่องจากนับตั้งแต่มีการปรับโครงการสร้างกระทรวงศึกษาธิการ โดยลดฐานะสำนักงานจากกรมเป็นกองหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) พร้อมทั้งถ่ายโอนทรัพย์สินและอัตราข้าราชการไปขึ้นอยู่กับ สป. ส่งผลให้ข้าราชการใน ก.ค.ศ.ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ เพราะติดอยู่ที่ระดับ 8 (ว) ไม่สามารถเติบโตขึ้นสูงกว่านี้ได้ เนื่องจากผู้บริหารต้องผ่านการอบรม และต้องเป็นผู้อำนวยการกองมาไม่น้อยกว่า 2 ปี ในขณะที่โครงสร้างของ ก.ค.ศ.มีแค่กลุ่มงานเท่านั้น ไม่ได้มีฐานะเป็นกอง ทำให้คนเก่งหันไปทำงานที่ศาลปกครอง หรือไปเป็นนิติกร สป. ซึ่งมีความก้าวหน้ามากกว่า หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ จะทำให้การบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษามีปัญหา นายชำเรือง กล่าวอีกว่า แนวทางการแก้ปัญหานั้น ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2547 ซึ่งมีการปรับแก้มาตรา 10 , 11 , 59 และ 60 เพื่อยกฐานะสำนักงาน ก.ค.ศ.จากกองให้เป็นกรม รวมทั้งโอนทรัพย์สินและอัตรากำลังจาก สป.กลับมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการยกฐานะของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ให้เป็นกรมในคราวเดียวกันด้วย ซึ่งได้มีการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามไปก่อนการแยกการบริหารประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีความคืบหน้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook