ราชทัณฑ์แจงนักโทษดับ 4 ราย เพราะไทรอยด์เป็นพิษระบาด

ราชทัณฑ์แจงนักโทษดับ 4 ราย เพราะไทรอยด์เป็นพิษระบาด

ราชทัณฑ์แจงนักโทษดับ 4 ราย เพราะไทรอยด์เป็นพิษระบาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ราชทัณฑ์ เร่งแก้โรคไทรอยด์เป็นพิษระบาดในเรือนจำ จ.หวัดพิษณุโลก

พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีมีผู้ต้องขังป่วยเสียชีวิตในห้วงปีใหม่ไล่เลี่ยกันถึง 4 รายที่เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก ว่ากรมราชทัณฑ์ได้ส่งผู้อำนวยการกองบริการทางการแพทย์ลงพื้นที่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เข้าตรวจสอบสาเหตุที่โรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

จากการตรวจสอบคาดว่าเกิดจากการกระบาดของโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยอาการและผลการตรวจพบบางรายมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำร่วมด้วย สำหรับสาเหตุของการระบาด สันนิษฐานว่ามาจากแหล่งโรคร่วมที่อาจเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ซึ่งอยู่ระหว่างการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังอาการของผู้ต้องขัง วินิจฉัยโดยการเจาะระดับฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ และตรวจสอบการปนเปื้อนไทรอยด์ของเนื้อหมู และเนื้อไก่ให้เข้มข้น

>> เร่งหาสาเหตุ ผู้ต้องขังเสียชีวิตต่อเนื่อง 4 คน อาจเกิดจากคุณภาพอาหาร

จากข้อมูลผู้ต้องขังที่เสียชีวิตทั้ง 4 ราย เป็นผู้ต้องขังชาย 2 ราย สันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ส่วนอีก 2 รายอยู่ระหว่างรอผลการชันสูตร โดยมีผู้ต้องขังเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และโรงพยาบาลวังทอง เป็นผู้ต้องขังชาย 25 ราย พบว่า 5 ราย มีอาการแขนหรือขาอ่อนแรง ร่วมกับมีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อและเหนื่อยง่าย จากผลการตรวจพบว่าผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ต่ำกว่าปกติ และระดับฮอร์โมนไทรอยด์อิสระสูงกว่าปกติ ส่วนผู้ต้องขังป่วยอีก 20 ราย มีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงและชีพจรเต้นเร็ว อยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ทั้งนี้ เรือนจำยังได้มีการร่วมวางมาตรการควบคุมป้องกันโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพิษณุโลก จัดหน่วยแพทย์เข้าคัดกรอง เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการสงสัยไทรอยด์เป็นพิษอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวางมาตรการป้องกันด้วยการจัดการปัจจัยเสี่ยงในเบื้องต้น โดยให้ทางเรือนจำ ประสานผู้ประกอบการในการจัดหาวัตถุดิบที่มั่นใจได้ว่าไม่มีการปนเปื้อนต่อมไทรอยด์ และเป็นก้อนเนื้อที่ระบุชิ้นส่วนได้ และให้มีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook