วันหยุดนี้มาอีก 2 ดวง นาซาเตือน "ดาวเคราะห์น้อย" พุ่งเฉียดโลกต่อเนื่อง

วันหยุดนี้มาอีก 2 ดวง นาซาเตือน "ดาวเคราะห์น้อย" พุ่งเฉียดโลกต่อเนื่อง

วันหยุดนี้มาอีก 2 ดวง นาซาเตือน "ดาวเคราะห์น้อย" พุ่งเฉียดโลกต่อเนื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ถึงคราวของดาวเคราะห์น้อย 2 ดวง "2010 CO1" และ "2000 QW7" ที่เคลื่อนตัวเฉียดโลกไปในเวลาที่ไล่ตามกัน นาซายืนยันว่าไม่ส่งผลกระทบใดๆ กับโลก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ช่วงสุดสัปดาห์นี้จะเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่นอกชั้นบรรยากาศโลก ดาวเคราะห์น้อย 2 ดวง จะเคลื่อนตัวผ่านและเฉียดโลกไป แต่ทางองค์การนาซายืนยันว่าดาวเคราะห์น้อยทั้งคู่นั้นจะไม่ส่งผลกระทบหรือเป็นอันตรายใดๆ กับโลก

องค์การนาซาเปิดเผยว่า สัปดาห์นี้ถึงเวลาของดาวเคราะห์น้อย 2010 CO1 มีขนาดความยาวประมาณ 260 เมตร จะเคลื่อนตัวผ่านโลกด้วยระยะห่างประมาณ 5.3 ล้านกิโลเมตร โดยดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะเข้าใกล้ในช่วงกลางดึกของวันที่ 13 กันยายน ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา หรือช่วงสายของวันที่ 14 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย

โดยหลังจากนั้นอีกไม่กี่ชั่วโมง ดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 วัตถุอวกาศที่มีขนาดความยาวประมาณ 650 เมตร และจัดเป็นวัตถุนอกโลกขนาดใหญ่ที่จะเฉียดเข้าใกล้โลกที่สุดของเดือนนี้ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะเคลื่อนเข้าในโลกในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 14 กันยายน ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา หรือช่วงค่ำในวันเดียวกันนั้น ตามเวลาในประเทศไทย

>> "ดาวเคราะห์น้อย" เท่าหอไอเฟลพุ่งผ่านโลก นาซาชี้เดือนนี้ยังมีอีก 4 ดวง

สำหรับดาวเคราะห์น้อยทั้ง 2 ดวงนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบและเฝ้าสังเกตการณ์ดูเส้นทางของพวกมันมานานเป็นทศวรรษ โดยในครั้งนี้วัตถุอวกาศจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อโลก เพียงแค่จะเคลื่อนตัวผ่านโลกในระยะใกล้กว่าปกติเท่านั้น

ตามรายงานระบุว่า ดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 ถูกค้นพบเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะมันมีปฏิกิริยาที่เคลื่อนตัวแบบสุกสกาวผิดปกติ และหลังจากมันเคลื่อนตัวผ่านโลกไปแล้วในครั้งนี้ ก็จะมีเส้นทางโคจรย้อนกลับมาเฉียดโลกอีกครั้งในอีก 19 ปีข้างหน้า หรือในปี 2038

อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายนนี้ยังคงเหลือ ดาวเคราะห์น้อย 2019 RC ที่จะเคลื่อนตัวผ่านโลกในวันที่ 16 กันยายน และดาวเคราะห์น้อย 1998 FF14 วัตถุอวกาศที่ค้นพบและเฝ้าจับตามากว่า 20 ปี โดยจะเคลื่อนตัวผ่านโลกในวันที่ 24 กันยายนนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ต่างสนใจที่จะศึกษาและเก็บข้อมูลในยามที่มันเคลื่อนตัวเข้าใกล้โลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook