นักวิทย์จีนไขปริศนา วัดความลึกทะเลสาบทิเบต ต้นน้ำสำคัญแห่งเอเชีย

นักวิทย์จีนไขปริศนา วัดความลึกทะเลสาบทิเบต ต้นน้ำสำคัญแห่งเอเชีย

นักวิทย์จีนไขปริศนา วัดความลึกทะเลสาบทิเบต ต้นน้ำสำคัญแห่งเอเชีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทย์ศาสตร์จีนลุยหน้าไขปริศนา "ทะเลสาบยัมดรก" สำรวจและวัดระดับความลึกของทะเลสาบในทิเบต แหล่งต้นน้ำแม่น้ำสำคัญของภูมิภาคเอเชีย

สำนักข่าวซินหัวของประเทศจีนรายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (23 ก.ค.) สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) รายงานว่าขณะนี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนกำลังดำเนินการสำรวจเพื่อวัดความลึกของทะเลสาบขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ทะเลสาบยัมดรก (Yamdrok Lake) มีพื้นที่ราว 590 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในอำเภอลั่งขาจื่อ เมืองซานหนาน ห่างจากเมืองลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบต ราว 70 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมที่สุดในทิเบต ทั้งยังเป็น 1 ใน 3 ทะเลสาบอันศักดิ์สิทธิ์ของทิเบต นอกจากทะเลสาบน่ามู่ชั่ว (Namtso) และทะเลสาบมานาซาโรวาร์ (Manasarovar)

โดยการสำรวจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจทางวิทยาศาสตร์รอบด้านครั้งที่ 2 บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตของจีน ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2017 และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่คณะนักวิทยาศาสตร์ดำเนินการวัดความลึกของทะเลสาบแห่งนี้โดยครอบคลุมรอบด้าน

การสำรวจซึ่งยาวนาน 5-10 ปี จะดำเนินการศึกษาโดยเน้นศึกษาธารน้ำแข็ง ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศของที่ราบสูง และจะเฝ้าติดตามสภาพอากาศในภูมิภาค

การสำรวจที่ราบสูงทางวิทยาศาสตร์รอบด้านครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 1970 และครอบคลุมการศึกษาในสาขาต่างๆ มากกว่า 50 สาขา อาทิ ธรณีวิทยาโครงสร้าง บรรพชีวินวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ภูมิอากาศวิทยา สัตววิทยา และพฤกษศาสตร์

บริเวณที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตได้รับการขนานนามว่าเป็น “หอเก็บน้ำแห่งเอเชีย” เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำแยงซี แม่น้ำเหลือง แม่น้ำโขง เป็นต้น และเนื่องจากในปัจจุบันทรัพยากรน้ำบนที่ราบสูงเสี่ยงต่ออิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหาแหล่งกักเก็บน้ำของธารน้ำแข็ง ทะเลสาบ และน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook