มศว แจงช่วงรอยต่อหลักสูตร ครู 5 ปีเกิดปัญหา ปรึกษาคุรุสภาและหาทางแก้

มศว แจงช่วงรอยต่อหลักสูตร ครู 5 ปีเกิดปัญหา ปรึกษาคุรุสภาและหาทางแก้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มศว แจงช่วงรอยต่อหลักสูตร ครู 5 ปีเกิดปัญหา ไม่ได้นิ่งนอนใจ ปรึกษาคุรุสภาและหาทางแก้ตลอด เสนอสายสนับสนุนผู้สอนเรียน 4 ปีพอแล้ว ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่นิสิตคณะศึกษาศาสตร์บางวิชาเอกอาทิ จิตวิทยาแนะแนวทางการศึกษา วัดผลและประเมินผลทางการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งเข้ามาเรียนในปีการศึกษา 47 48 ขณะนั้นหลักสูตรครู 5 ปียังเป็นช่วงรอยต่อระหว่างหลักสูตรเก่าศึกษาศาสตร์ 4 ปี และหลักสูตรใหม่ 5 ปี การอยู่ในช่วงรอยต่อนั้นย่อมเกิดอุปสรรปัญหา ซึ่งขณะนี้ทางคณะศึกษาศาสตร์กำลังหาทางแก้ปัญหาให้กับนิสิตในกลุ่มนี้อยู่ โดยเฉพาะดูแลการแก้ปัญหาและช่วยให้นิสิตได้รับใบประกอบวิชาชีพครู โดยได้ให้ทางคณะดูแลนิสิตกลุ่มนี้ให้ดีที่สุด ก่อนที่นิสิตจะออกไปร้องเรียนสื่อมวลชนตนคิดว่านิสิตต้องหันมาพูดคุยและแก้ไขปัญหาร่วมกับทางคณะก่อน รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่าแต่เดิมนั้นหลักสูตรศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ไม่ว่าสถาบันไหนที่เปิดสอนมีระยะเวลาเรียนแค่ 4 ปี แต่เมื่อปรับหลักสูตรใหม่มีการเพิ่มระยะเวลาเรียนขึ้นอีก 1 ปี ซึ่งหมายถึงการฝึกสอนเพิ่มขึ้นเป็น 1 เพื่อให้หลักสูตรวิชาศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งโดยปกติการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มี 2 ลักษณะนั่นก็คือ ครูสายการสอนในวิชาหลักแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา มศวได้ปรับสายการสอนวิชาหลักเป็น 5 ปีทั้งหมดแล้ว แต่ที่มีปัญหาอยู่ก็คือรูสายสนับสนุนการสอน นั่นก็คือกลุ่มคนที่เรียนในสาขาวิชาจิตวิทยาแนะแนวทางกาึกษา วัดผลและประเมินผลทางการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษาซึ่งผู้เรียนที่เข้ามาในปี 47-48 ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวนั้น จะมีจะยังเป็นปัญหาอยู่เพราะอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเป็นหลักสูตร 5 ปี "ในเรื่องนี้ทางคณะไม่ได้นิ่งนอนใจเลย เราได้ปรึกษากับทางคุรุสภามาตลอด เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่ต้องออกไปเป็นครูที่สนับสนุนการสอนได้มีใบประกอบวิชาชีพครู เนื่องจากกลุ่มนี้เขายังเรียนด้วยหลักสูตรเก่าอยู่ ทางคุรุสภาได้เข้ามาเพื่อเทียบโอนให้ แต่การเทียบโอนนั้นก็ต้องมาดูนายวิชาต่างๆ ว่าหลักสูตรเก่านั้นผู้เรียนได้เรียนในสาขาวิจัยทางการศึกษาและเรียนทางด้านหลักสูตรหรือไม่ ใครที่ได้เรียนใน 2 รายวิชานี้ทางคุรุสภาจะทำการเทียบโอนเพื่อให้เทียบผลักสูตร 5 ปี และเพื่อจะเป็นหนทางที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพครูด้วย แต่กลุ่มผู้เรียนที่ได้เกรดเฉลี่ยใน 2 วิชาวิจัยทางการศึกษาและหลักสูตรต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคือต่ำว่า C ทางคุรุสภาไม่อนุญาตให้เทียบโอน แต่มีแนวทางให้คนกลุ่มนี้ไปอานหนังสือเตรียมตัวเพื่อไปสอบวัดความรู้กับทา หรือให้ไปอบรมเพิ่มเติมกับทางคุรุสภา ซึ่งได้เปิดให้การอบรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นทางออกที่มศวและคุรุสภาได้หาทางออกให้นิสิตกลุ่มที่เรียนสายสนับสนุนการสอน ซึ่งบางคนก็ได้ทำตาม นอกากนี้ทางมศว ยังเปิดสอนใน 2 รายวิชาดังกล่าวเพิ่มให้กับกลุ่มที่ยังมีปัญหาอยู่ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ด้วย เราช่วยทุกวิถีทางเพื่อให้เขาได้รับการเทียบโอน แต่บางคนก็ไม่สนใจไม่ติดตาม และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็ออปเรียกร้องกับทางสื่อมวลชน รศ.องอาจกล่าวอีกว่า ผมอยากให้ความกระจ่างแจ้งกับทางสื่อมวลชนว่าตลอดเวลาเราหาทางช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้มาโดยตลอด แต่บางคนขาดความสนใจเมื่อคณะนัดมาก็ไม่มาตามนัด ส่วนคนใดที่เขาสนใจ ติดตามข่าวสารของคณะและมาตามนัด เข้ามาพูดคุยกับทางคณะและทางตัวแทนคุรุสภาเขาก็มีทางเลือกและมีทางออก อีกทั้งอยากจะบอกว่าไม่ใช่แค่เพียงมศว เท่านั้นที่ประสบปัญหาในเรื่องรอยต่อของหลักสูตรเก่า หลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ แบบ 4 ปี หรือ 5 ปี มหาวิทยาลัยอื่นก็ยังมีปัญหาอยู่เช่นกัน เขาพยายามแก้ปัญหาอยู่บางมหาวิทยาลัยนัดนิสิต นักศึกษามาเรียนเพิ่มเติมวันเสาร์ - วันอาทิตย์ แล้วนับวันเหล่านั้นให้ครบเป็น 1 ปีเพื่อให้ครบ 5 ปี หรือบางมหาวิทยาลัยใช้วิธีบอกให้นิสิต นักศึกษาไปเรียนเพิ่มหลักจากทีจบ 4 ปี ไปเรียนเพิ่มเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพครู แต่สำหรับผมแล้วผมอยากเปิดประเด็นใหม่ว่าจำเป็นหรือไม่ที่กลุ่มคนที่เรียนในสายสนับสนุนผู้สอนต้องเรียนถึง 5 ปี สำหรับผมแล้วคิดว่าเรียนเพียงแค่ 4 ปีก็น่าจะเพียงพอ ซึ่งทางคุรุสภาเองก็ควรจะให้ความสำคัญและพิจารณาในส่วนนี้ด้วย อาจจะต้องหันกลับมาดูในรายละเอียดเหล่านี้ใหม่ว่าจำเป็นหรือไม่ ส่วนคนที่จะเข้าสู่การสอนในวิชาหลักทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาก็ให้เรียน 5 ปี ตรงนี้ผมเห็นด้วย ส่วนกลุ่มคนที่เป็นผู้สนับสนุนไม่จำเป็นต้องเรียนถึง 5 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook