เปิดอีกมุมของประเทศญี่ปุ่น 5 สถานที่ ที่ไม่ได้มีดีแค่ท่องเที่ยว

เปิดอีกมุมของประเทศญี่ปุ่น 5 สถานที่ ที่ไม่ได้มีดีแค่ท่องเที่ยว

เปิดอีกมุมของประเทศญี่ปุ่น 5 สถานที่ ที่ไม่ได้มีดีแค่ท่องเที่ยว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นอีกหนึ่งปีที่ประเทศไทยเจอปัญหาทางมลพิษจากฝุ่นควันอย่างหนักหน่วง ซ้ำยังต้องประสบกับการเจอปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากความมักง่ายและไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมของใครหลายคน ที่มักจะคิดว่าเป็นปัญหาไกลตัว

แต่คงลืมไปแล้วว่าปัญหาที่เผชิญอยู่นั้นส่งผลโดยตรงกับตัวเองแทบจะทั้งสิ้น อาทิ ฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล ความร้อนที่กระจายลงมายังพื้นโลกจนทำหิมะทางขั้วโลกละลายและเพิ่มปริมาณน้ำทะเลให้สูงขึ้น หรือแม้แต่ปัญหาล่าสุดที่ไทยเพิ่งเจออย่าง ค่าละอองฝุ่น PM 2.5 ที่สูงเกินมาตรฐาน

ซึ่ง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนโรงเรียนและเทศบาลจากทั่วประเทศทำแผนงานส่งเข้าประกวดการลดภาวะโลกร้อน ภายใต้กิจกรรม โตโยต้า ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา โดยเป็นการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น เมืองสีเขียว

จากนั้นได้มีการคัดเลือกตัวแทนโรงเรียนและเทศบาลที่มีผลงานดีเด่น แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ซึ่งประเภทโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ โรงเรียนวัดตโปทาราม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี, โรงเรียนบ้านน้ำมิน อ.เชียงคำ จ.พะเยา, โรงเรียนศรีธาตุพิทยาคม อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี

ตัวแทนโรงเรียนและชุมชนที่ผ่านการคัดเลือก

และประเภทชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านสันป่าบง เทศบาลตำบลหงาว อ.เทิง จ.เชียงราย, ชุมชนบ้านรางพลับ เทศบาลตำบลกรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี, ชุมชนบ้านศรีจอมแจ้ง เทศบาลตำบลหงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา

โดยทั้งหมดได้เดินทางไปทัศนศึกษาเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ณ ประเทศญี่ปุ่น เมืองต้นแบบที่นอกจากจะกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีสถานที่สำคัญต่างๆ แล้ว ยังเป็นเมืองต้นแบบในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนโดยมีสถานที่อยู่หลายแห่งเลยทีเดียว

โดยเริ่มจากสถานที่แรกอย่าง สถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิราคาวาโก (Toyota Shirakawa-Go Eco Institute)

ตัวอย่างการสร้างบ้านของ หมู่บ้านชิราคาวา-โก ที่มีเอกลักษณ์ตรงหลังคามุงหญ้า

สถาบันแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นโรงเรียนธรรมชาติอันงดงาม ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านชิราคาวา-โก ที่งดงามที่สุดในประเทศ ทางตะวันออกเหนือสุดของเขตปกครองจังหวัดกิฟุ (Gifu) ที่เชื่อมต่อกับเขตปกครองจังหวัดโทยามะ (Toyama) หมู่บ้านแห่งนี้เล่าขานกันว่าเคยเป็นถิ่นพำนักของกลุ่มชนชาวไฮคิ (Heiki) ที่อพยพออกจากเกียวโต ซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้น หมู่บ้านแห่งนี้งดงามด้วยบ้านเรือนหลังคามุงหญ้าที่มีความลาดชันในแบบฉบับสถาปัตยกรรมกัชโช (Gassho) โบราณของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในมรดกโลก

เมื่อเดินทางมุ่งหน้าจากดินแดนที่ราบเข้าสู่ฮาคูซานซูเปอร์รินโดะ (Hakusan Super Rindo) ถนนทอดตัวผ่านแนวเทือกเขาน้อยๆ ลอดเข้าอุโมงค์ ก่อนจะพาทุกท่านเข้าสู่พื้นที่ราบเชิงเขาฮาคูซานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ราบและเทือกเขาแห่งนี้ตั้งตระหง่านเป็นสถานที่ตั้งของสถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิราคาวา-โก ที่ได้รับขนานนามจากแรงบันดาลใจที่ได้รับจากชื่อหมู่บ้าน โรงเรียนเพื่อศึกษาถึงธรรมชาติอันงดงามแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นด้วยแนวคิดที่จะดำเนินงานในวิถีทางแบบใหม่และสร้างสรรค์

ความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่มีกบมาวางไข่ไว้เป็นจำนวนมาก

ซึ่งโปรแกรมที่คณะได้เรียนรู้ คือการเรียนรู้ถึงการปลูกป่าและดูแลรักษาป่า โดยชี้ให้เห็นและเปรียบเทียบป่าแบบที่ได้รับการดูแลรักษา และป่าที่เติบโตเองโดยธรรมชาติ สังเกตถึงขนาดและระยะห่างของต้นไม้แต่ละต้น ที่สามารถให้แสงแดดผ่านเข้าถึงได้ และทดลองผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำด้วยกังหันน้ำ เพื่อเรียนรู้ในเรื่องพลังงานทดแทน และเรียนรู้ว่าพลังงานนั้นไม่ได้มาง่ายๆ

จากนั้นได้ตักน้ำจากธารน้ำมาทำการทดลองแยกน้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อให้ได้มาซึ่งไฮโดรเจนซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อให้รู้ถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นเชื้อเพลิง Fuel Cell ในอนาคต และปิดท้ายด้วยการเดินสำรวจป่าในกลางคืนที่ไม่มีแสงสว่าง ซึ่งนักเรียนอาจจะไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน เพื่อกระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสัญชาตญาณของแต่ละคนให้เพิ่มมากขึ้น

2. ชุมชนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมโตโยต้า (Toyota Ecoful Town)

บ้านต้นแบบที่ลดพลังงานการใช้ไฟฟ้า และรถไม่ใช้น้ำมัน

การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทิศทางของ ”กระแสรักษ์โลก” ประเด็นที่ผู้คนต่างให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยสิ่งที่ขาดหายและถูกทำลายไปอย่างต่อเนื่องนั่นก็คือ ”พลังงานธรรมชาติ” ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ ”พลังงานทดแทน” ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้น ควบคู่ไปกับการควบคุมและลดจำนวนการเพิ่มของ ”ก๊าซเรือนกระจก” ที่เป็นต้นตอของสาเหตุสภาวะโลกร้อน โตโยต้า จึงมีแนวคิดในการที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบยั่งยืน ทีมวิศวกรของโตโยต้าจึงได้ทำการทดลองวิจัย และจำลองเมืองต้นแบบแห่งอนาคต ที่นำเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระหว่าง คน รถยนต์ และที่อยู่อาศัย โดยประยุกต์ใช้พลังงานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน ในชื่อ Toyota  Ecoful Town ภายใต้แนวคิดสังคมคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ “Low Carbon Society Model District Toyota” ปลูกสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Ecoful Town ประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักได้แก่ พาวิลเลี่ยน, บ้านสมาร์ท, ระบบการขนส่งอัจฉริยะ,ระบบการจัดการด้านพลังงาน และ สถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้า

  • Pavillion ศูนย์นิทรรศการขนาดย่อม อธิบายถึงประวัติศาสตร์ของเมืองโตโยต้า และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงแนวทางในการพัฒนาในอนาคตเพื่อตอบโจทย์ในการเป็น SDGs Future City นอกจากนี้ยังบรรยายถึงแนวคิด การนำเทคโนโลยีและพลังงานทดแทนต่างๆ มาใช้ในเมืองรักษ์โลกแห่งนี้
  • Toyota Smart House บ้านต้นแบบที่มีคุณสมบัติเด่นเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านระบบ HEMS : Home Energy Management System ที่ใช้ควบคุมการจัดสรรพลังงาน และสภาวะแวดล้อมภายในได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยทำงานร่วมกับ EDMS หรือ Energy Data Management System ระบบจัดการข้อมูลการใช้พลังงาน ซึ่งนอกจากการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานแล้วยังทำหน้าที่คาดการณ์หรือช่วยคำนวณการบริหารจัดการที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้พลังงานอีกด้วย
  • ระบบขนส่งอัจฉริยะ ITS (Intelligent Transportation System) ระบบขนส่งอัจฉริยะแก้ไขปัญหารถติดและความปลอดภัยบนท้องถนน ด้วยการสื่อสารกับมนุษย์, ถนน และรถยนต์ โดยใน Ecoful Town นำระบบ ITS มาใช้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เสากั้นอัจฉริยะ ควบคุมรถบัส และรถที่เข้า-ออก โดยใช้เซ็นเซอร์จับสัญญาณรถยนต์ที่ได้รับอนุญาต ระบบจะสั่งการให้เสาที่กั้นอยู่ลดระดับลงให้รถเข้า-ออกได้ และถ้าถึงทางข้ามไฟเตือนจะแสดงขึ้นรถเมื่อมีผู้ใช้ถนน ส่วนผู้ใช้ถนนจะมีไฟเตือนว่ามีรถกำลังใช้งานอยู่ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ถนน รวมถึงควบคุมที่จอดรถซึ่งจะขึ้นข้อความต้อนรับเฉพาะรถที่ได้รับอนุญาตให้จอด ในกรณีที่รถไม่ได้รับอนุญาตจะเตือนด้วยไฟสีแดงและข้อความให้ย้ายรถ

จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กจากพลังงานแสงอาทิตย์

  • Smart Mobility Park จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะอธิบายหลักการวิธีนำมาประยุกต์ใช้เป็นระบบ Car Sharing อย่างจริงจังภายในเมืองโตโยต้า ภายใต้ชื่อ HA:MO ควบคู่ไปกับการใช้ระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ เพื่อเป็นการลดการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • Hydrogen Station จำลองโรงงานสาธิตการแยกก๊าซไฮโดรเจน-ออกซิเจนจากน้ำด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการจัดหาก๊าซไฮโดรเจนจากโรงงานปิโตรเคมี ก๊าซมีเทนจากโรงไฟฟ้าขยะ เพื่อนำมาแปรรูปและนำกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยมีการจัดแสดงวิธีใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่ สำหรับรถยนต์ในอนาคต ผ่านรถยนต์ Toyota รุ่น MIRAI รวมถึงเป็นสถานีบริการเชื้อเพลิงไฮโดรเจนของรถยนต์ Fuel Cell Vehicle (FCV) เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าภายนอกอีกด้วย

3. Toyota Megaweb

รถยนต์ในประวัติศาสตร์

สวนสนุกในรูปแบบใหม่ที่เน้นเรื่องของการ ดู ขับ และ สัมผัส รถยนต์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ที่ย่านโอไดบะ โตเกียว ภายในแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • Toyota City Showcase ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของ Toyota Mega Web จัดแสดงรถยนต์โตโยต้ารุ่นล่าสุดหลากหลายรุ่น รวมถึงรถยนต์ที่ไม่ได้จัดแสดงในที่ใดมาก่อน รวมถึงการจัดแสดงเทคโนโลยีต่างๆ เช่นเทคโนโลยีไฮบริด เทคโนโลยีความปลอดภัย และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนอกจากนี้ยังรวมไปถึงโซนใหม่ TOYOTA X SPORTS ZONE ภายใต้นโยบาย "START YOUR IMPOSSIBLE" ที่สนับสนุนให้ผู้คนมีอิสรภาพในการเคลื่อนที่ ผ่านการสนับสนุนนักกีฬาพาราลิมปิก โดยเปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมได้ทดลองสัมผัสประสบการณ์ในการเล่นกีฬาพาราลิมปิกต่างๆ         
  • History Garage ส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับ 'ประวัติศาสตร์รถยนต์' ซึ่งจัดแสดงรถยนต์รุ่นเก่าจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงรถยนต์โตโยต้า ทั้งนี้ยังได้มีการอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของกีฬามอเตอร์สปอร์ต และการซ่อมรถยนต์
  • Ride Studio คือ ส่วนสำหรับเด็ก ๆ ที่จะเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การขับขี่ และเรียนรู้เกี่ยวกับกฎจราจร

4. Yokohama City Wind Power Plant (Hama Wing) โรงงานผลิตพลังงานลมเมืองโยโกฮามา 

โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานลม

โรงงานผลิตพลังงานลมเมืองโยโกฮามา เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานลม ที่ก่อตั้งขึ้นใน จังหวัดคานากาว่า เมืองโยโกฮาม่า โดยมีระบบการผลิตไฮโดรเจนจากน้ำ ผ่านการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานลม, การกักเก็บ และขนส่งไฮโดรเจน, การใช้รถโฟล์คลิฟพลังงานไฮโดรเจน รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการสร้างระบบซัพพลายเชนไฮโดรเจน ซึ่งอยากให้มีการส่งเสริมการนำไฮโดรเจนมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นจุดประชาสัมพันธ์แหล่งพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

5. Saiko Nature Centre ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ไซโกะ

ถ้ำที่เกิดจากการสะสมของลาวา

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ไซโกะ ตั้งอยู่บริเวณฐานของภูเขาไฟฟูจิ เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เพื่อเรียนรู้ถึงระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย อันเป็นจุดเด่นของพื้นที่บริเวณนี้ อาทิ ถ้ำที่เกิดจากการสะสมของลาวาที่ก่อตัวขึ้นเป็นลวดลายที่สวยงามและมีความแตกต่างกับระบบนิเวศแบบเปิด และ ระบบนิเวศโดยรอบบริเวณทะเลสาบไซโกะ นอกจากนี้ ภายในศูนย์ศึกษาธรรมชาติไซโกะ ยังเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์คุนิมัตสึ” ที่มีการจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวของปลาเทราต์พันธุ์ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้สูญพันธุ์ไปจากทะเลสาบทาซาว่า จังหวัดอาคิตะ เมื่อ 70 ปีที่ผ่านมาแล้วอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมมีทั้งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น และมนุษย์สร้างต่อเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆ ให้คงอยู่กับคนเราสืบต่อไป โดยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อนที่ใกล้ตัวมากขึ้นทุกที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่ความร่วมมือของทุกๆ คน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่องค์กรใดองค์การหนึ่ง หรือบุคคลกลุ่มหนึ่งที่จะสามารถดูแลโลกใบนี้ได้ เพราะ "โลก" เป็นของเราทุกคนที่ต้องช่วยกันดูแล

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ ของ เปิดอีกมุมของประเทศญี่ปุ่น 5 สถานที่ ที่ไม่ได้มีดีแค่ท่องเที่ยว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook