ผอ.โดนติดป้ายทวงหนี้กลางถนน ออกโรงแจงไม่เคยเบี้ยวเงิน "ยายแก้ว"

ผอ.โดนติดป้ายทวงหนี้กลางถนน ออกโรงแจงไม่เคยเบี้ยวเงิน "ยายแก้ว"

ผอ.โดนติดป้ายทวงหนี้กลางถนน ออกโรงแจงไม่เคยเบี้ยวเงิน "ยายแก้ว"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อดีต ผอ.โรงเรียน เปิดใจจ้างผู้รับเหมาปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาโรงเรียน เอื้อต่อการเรียนการสอน ยันไม่เคยเบี้ยวหนี้ "ยายแก้ว" ผู้รับเหมาและจ่ายค่าจ้างตลอด ไม่เคยมีปัญหา พร้อมให้ตรวจสอบ

จากกรณี นางวิจิตรา หรือ ยายแก้ว อายุ 51 ปี ผู้รับเหมาหญิง ชาว ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์นำป้ายไวนิลขนาดใหญ่ ซึ่งมีข้อความคล้ายกับเป็นการทวงหนี้ระบุว่า “ผอ.สั่งทำงาน งานเสร็จ ไม่มีเงินจ่าย ใครจะรับผิดชอบ” และ “ผอ.เห็นพวกเราเป็นคนไหม สงสารพวกเราบ้างหรือเปล่า” มาติดไว้บนสะพานลอย ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองกาฬสินธุ์

เนื่องจากต้องการขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ 24 หลังก่อสร้างปรับปรุงโรงเรียนจนแล้วเสร็จหลายโครงการ เวลาผ่านมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ทางโรงเรียนกลับไม่ยอมจ่ายเงินจำนวน 5,200,000 บาท ทำให้ครอบครัวเป็นหนี้สินที่นาถูกยึดไม่มีเงินจ่ายค่าแรงคนงาน

ล่าสุดในวันนี้ (27 ก.พ.) นายสุรปรีชา ซึ่งเป็นอดีต ผอ.โรงเรียนกมลาไสย กล่าวว่า ตนย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผอ.โรงเรียนกมลาไสย เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งก่อนหน้าที่ตนจะย้ายมานั้น ทางโรงเรียนก็ได้มีหนี้ผูกพันบางส่วนมาก่อนแล้ว แต่ด้วยสปิริตและภาระหน้าที่ของผู้อำนวยการก็จะต้องดำเนินการบริหารงานพัฒนาโรงเรียนอย่างเต็มความสามารถ

>> เปิดใจทั้งน้ำตา "หญิงรับเหมา" เจ้าของป้ายทวงหนี้ "ผอ." อ้างถูกเบี้ยวค่าจ้าง 5 ล้าน

ทั้งนี้ระหว่างที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกมลาไสยประมาณ 2 ปีนั้น นอกจากจะมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาการเรียนการสอนทางด้านวิชาการแล้ว ยังได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ให้โรงเรียนน่าอยู่ เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ให้สถานที่ต่างๆเ ป็นห้องเรียนธรรมชาติ และเด็กนักเรียนได้จัดกิจกรรม

เนื่องจากสภาพบริเวณโดยรอบนั้นมีหญ้ารก คลองน้ำ ไม่เหมาะสมสวยงาม โดยการดำเนินงานโครงการต่างๆมีการบรรจุอยู่ในแผนงบประมาณ แต่หากโครงการใดวงเงินเกินก็จะใช้งบบริหารหรืองบเร่งด่วนที่ทางโรงเรียนจัดสรรไว้ 10 เปอร์เซ็นต์ไปช่วย และได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาทุกโครงการ

ทั้งนี้การดำเนินการในช่วงดังกล่าวได้มีการจ่ายค่าจ้างให้กับผู้รับเหมา รวมทั้งร้านค้าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆและค่าเช่าคอมพิวเตอร์มาโดยตลอด เฉลี่ยปีละ 4-6 ล้านบาท ซึ่งไม่เคยมีปัญหาการของการทวงหนี้ แต่การจ่ายเงินค่าจ้างจะเป็นการจ่ายแบบงานที่ค้างเก่า เพราะการดำเนินการของโรงเรียนส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนี้ผูกพัน

นายสุรปรีชา กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีของนางวิจิตรา บุญรัตน์ หรือยายแก้วนั้น ถือเป็นผู้รับเหมาที่เข้ามาทำงานก่อสร้างในโรงเรียนมานานหลายปี ถือได้ว่าเป็นขาประจำ ซึ่งก่อนที่ตนย้ายมาทราบว่าทางโรงเรียนเป็นหนี้ยายแก้วประมาณเกือบ 4 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ช่วงระหว่างที่ตนเป็น ผอ.โรงเรียนดังกล่าว ยอมรับว่าทางโรงเรียนได้ว่าจ้างยายแก้วจริง แต่ก็ได้มีการจ่ายเงินให้กับยายแก้วเป็นค่าก่อสร้างทุกปีเฉลี่ยประมาณ 5-7 แสนบาท รวมทั้งผู้รับเหมารายอื่นๆ เพื่อให้ทุกคนอยู่ได้ มีความสุข มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจของตนเอง และเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่เคยมีปัญหา

แต่หลังจากที่ตนย้ายมาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 ซึ่งเป็นช่วงภาคเรียนที่ 2 ก็ไม่ทราบว่าผู้บริหารชุดใหม่ดำเนินการอย่างไร เพราะตนหมดอำนาจหน้าที่ในโรงเรียนแล้ว จนกระทั่งมาทราบล่าสุดว่ามีผู้รับเหมาเข้าไปร้องที่ศูนย์ดำรงธรรมและไปติดป้ายทวงหนี้ดังกล่าว

“ผมยืนยันว่าโครงการต่างๆที่ทำลงไปนั้นต้องการพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษาให้น่าอยู่ น่าเรียน ซึ่งหลังจากย้ายมาวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างก็ไม่ได้ถือติดไม้ติดมือมาด้วย อยู่ที่โรงเรียนทั้งหมด และเงินทุกบาททุกสตางค์ก็ไม่ได้นำมาใช้สร้างบ้านส่วนตัวผม อีกทั้งทุกโครงการก็มีการนำเข้าแผนและได้รับการเห็นชอบจากหลายฝ่าย การก่อสร้างหรือจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ก็ทำตามระเบียบ ไม่มีการทุจริตสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งได้จ่ายเงินไม่เคยเบี้ยวใคร และหลวงไม่ได้เสียหายอีกด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้สังคมมองว่าตนเบี้ยวหนี้ ที่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะจ่ายตลอด ส่วนระยะหลังมา 2-3 ปีนี้ตนไม่ทราบการบริหารงาน” นายสุรปรีชา กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook